- 16 ต.ค. 2559
ประวัติช้างเผือกคู่พระบารมี
ตำราพระคชศาสตร์กำหนดลักษณะสำคัญ ๗ ประการของช้างมงคลไว้ว่า จะต้องประกอบด้วย
๑. | ตาขาว |
๒. | เพดานปากขาว |
๓. | เล็บขาว |
๔. | ขนขาว |
๕. | พื้นหนังขาวหรือสีอ่อนๆ ออกแดงคล้ายหม้อใหม่ |
๖. | ขนหางขาว |
๗. | อัณฑโกสขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ |
ช้างที่มีลักษณะทั้ง ๗ ประการครบถ้วน เราเรียกว่า “ช้างสำคัญ” ส่วนช้างที่มีลักษณะมงคลไม่ครบ จะเรียกว่า “ช้าง
ประหลาด” หรือช้าง “สีประหลาด” และหากช้างมีหนังดำ มีงาลักษณะเหมือนปลีกล้วย และมีเล็บดำ จะเรียกว่า “ช้างเนียม” ซึ่งช้างทั้งสามประเภทนี้ ถือเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ผู้ที่ครอบครองช้างประเภทใด จะต้องนำช้างนั้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นช้างทรงตามราชประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน โดยเรามักจะเรียกช้างทั้งหมดรวมๆ กันว่าเป็น “ช้างเผือก”
ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่า ช้างเผือกถือว่ามีศักดิ์สูงเทียบชั้นเจ้าฟ้า และสัตว์ที่นิยมนำมาเลี้ยงคู่กับช้างเผือก มี ๒ ชนิด คือลิงเผือกและกาเผือก ถือกันว่าเป็นสัตว์คู่บุญของช้างเผือก จะช่วยป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้ และหากมีเหตุใดๆ เกิดขึ้นกับช้างเผือก จะเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย
ช้างเผือกที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ จะเรียกกันว่า “ช้างต้น” ซึ่งสมัยก่อน ช้างต้นมี ๓ ประเภทคือ
๑. ช้างศึกที่ใช้ออกรบ
๒. ช้างสำคัญที่มีลักษณะเป็นมงคลตามตำราคชลักษณ์แต่ไม่สมบูรณ์ทุกส่วน
๓. ช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทุกประการ
และจากที่ปัจจุบัน ไม่มีศึกสงคราม ทำให้ความต้องการใช้ช้างศึกเพื่อการสงครามไม่มี ช้างต้นในยุคปัจจุบัน จึงหมายถึงช้างเผือกที่มีลักษณะอันเป็นมงคลนั่นเอง
กำเนิดของช้าง ก็สามารถบ่งบอกถึงความเชื่อว่า หากครอบครองช้างตระกูลใด จะส่งผลในทางใดให้กับผู้ครอบครองอีกด้วย ซึ่งกำเนิดของช้างนี้ มีตำนานกล่าวขานกันว่า เมื่อพระนารายณ์เสด็จลงมายังพิภพแล้วได้เนรมิตดอกบัวให้เป็นโลก และได้แบ่งกลีบดอกบัวเป็น ๔ ส่วน นำไปถวายพระพรหม พระอิศวร พระวิษณุ และพระอัคนี และมหาเทพทั้ง ๔ ได้เนรมิตกลีบบัวทั้ง ๔ ให้เป็นช้าง ๔ ตระกูล ได้แก่
ช้างเผือกคู่บารมีในรัชกาลที่ ๙
ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น" และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก สำหรับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ นี้ จวบจนถึงปัจจุบัน มีการพบช้างเผือก ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๑ ช้าง ดังนี้
พระเศวตภาสุรคเชนทร์ |
เดิมชื่อภาศรี เป็นช้างพลายเผือก ลูกเถื่อน ของราษฎรในเขตอำเภอท่ายาง เพชรบุรี เมื่อมีการตรวจสอบพบว่ามีคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" จึงได้ขึ้นระวางสมโภชเป็นช้างสำคัญพร้อมกันทีเดียวถึง ๓ เชือก คือพร้อมกับพระบรมนขทัศ และพระเทพวัชรกิริณี ปัจจุบันอายุ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง |
พระเศวตสุทธวิลาส |
ช้างพลายเผือกลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดกาญจนบุรี เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันอายุเกือบ ๓๐ ปี อยู่ในความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง |
พระเทพวัชรกิริณี |
เดิมชื่อพังขวัญตา เป็นลูกช้างหลงโขลง ชาวบ้านที่ไปตัดไม้ในเขตหัวหินไปพบเข้า จึงจับมาส่งให้กำนันตำบลเขาย้อย ก่อนจะนำไปถวายวัดและเลี้ยงมาคู่กันกับพลายดาวรุ่ง ต่อมาเมื่อมีการตรวจสอบพบว่า พังขวัญตาเป็นช้างสำคัญมีมงคลคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ซึ่งตำราระบุว่าสมควรขึ้นระวางสมโภชเป็นพระราชพาหนะ เพื่อความเป็นสิริมงคลของประเทศชาติ |
พระวิมลรัตนกิริณี |
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อกมุท อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร |
พระศรีนรารัฐราชกิริณี |
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องได้จากจังหวัดนราธิวาส พลัดกับแม่บนเทือกเขากือชา เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ พวกอัฏฐทิศ ชื่ออัญชัน อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบันอยู่ที่โรงช้างต้น พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร |
พระบรมนขทัศ |
พระเศวตวรรัตนกรี |
ลูกช้างบ้านของราษฎรอำเภอสันกำแพง จงหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาตรวจคชลักษณ์จากผู้ชำนาญของสำนักพระราชวังแล้ว พบว่า สมบูรณ์ด้วยศุภมงคลต้องตามตำราพระคชลักษณ์ โดยอยู่ในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฎฐคช ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" สมควรขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้นตามราชประเพณี โดยช้างสำคัญนี้เกิดที่นครเชียงใหม่ ซึ่งได้ทรงสร้างพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ไว้เป็นที่ประทับ เสมอด้วยมีพระราชฐานประจำในนครนี้ ปัจจุบัน ล้มแล้ว |
พระเศวตสุรคชาธาร |
ลูกช้างพลายพลัดแม่ที่ราษฎรอำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ได้นำมาเลี้ยงไว้ ก่อนจะพบว่ามีลักษณะมงคล ซึ่งเมื่อทางสำนักพระราชวังได้ตรวจสอบ พบว่าลูกช้างนั้นมีมงคลลักษณะถูกต้องตามคชลักษณศาสตร์ อยู่ในพรหมพงศ์ ตระกูลช้าง ๑๐ หมู่ ชื่อ “ดามพหัตถี” พระเศวตสุรคชาธารนับเป็นช้างต้นช้างที่สามในรัชกาลนี้ และยังเคยเป็นพระสหายของสมเด็จพระเทพฯ สมัยยังทรงพระเยาว์ เคยมีกล่าวถึงในบทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ว่า เมื่อมีการเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล หัวหิน คุณพระเศวตสุรคชาธารก็ได้โดยเสด็จฯ ด้วย ปัจจุบัน ล้มลงแล้ว |
พระศรีเศวตศุภลักษณ์ |
ช้างพังเผือก ลูกเถื่อน คล้องมาได้จากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นช้างตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันกรมป่าไม้เป็นผู้ดูแล |
พระเศวตอดุลยเดชพาหน |
ชื่อเต็มคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า เป็น ช้างพลายเผือกโท ลูกเถื่อนตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวกอัฏทิศ ชื่อว่า กมุท คล้องได้เมื่อปี ๒๔๙๙ ที่เมือง "กระบี่"โดยมีพล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย มีการสมโภชช้างนี้เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ และน้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๐๒ เริ่มยืนโรง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา ในปี ๒๕๑๙ ปัจจุบันอายุกว่า ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระเศวต อดุลยเดชพาหนฯ จากโรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต มายืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ |