ฤกษ์ดีเสาร์นี้ สำนักศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ชวนเป่ายันต์เกราะเพชรตำรับหลวงพ่อปาน เผยข้อห้าม2ข้อที่ต้องทำให้ได้ #วัดใจก่อนไปลงยันต์

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th

ยันต์เกราะเพชร

 

ตามที่ได้ประกาศเรื่องพิธีไหว้ครูของสำนักศิษย์อาจารย์เทพย์ ณ จ.นครปฐม ในวันเสาร์ห้า ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐

ในพิธีจะมีการเป่ายันต์เกราะเพชร ตามตำรับหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค โดยท่าน อ.มนัส สิวาภิรมย์รัตน์ ดังนั้นจึงขอนำบทความเรื่องยันต์สำคัญนี้ และพิธีการเป่ายันต์เกราะเพชรมาให้ท่านทั้งหลายได้ทัศนากันอีกครั้ง

ปล. รูปผ้ายันต์เกราะเพชร เป็นลายมือของท่าน อ.มนัส มีขนาดประมาณ ๔๐ ซม ท่าน อ.มนัส จะออกให้ท่านที่สนใจบูชาหลังจากพิธีเป่ายันต์เสร็จแล้ว โดยท่านลงไว้ประมาณ ๔๐ ผืน

ฤกษ์ดีเสาร์นี้ สำนักศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ชวนเป่ายันต์เกราะเพชรตำรับหลวงพ่อปาน เผยข้อห้าม2ข้อที่ต้องทำให้ได้ #วัดใจก่อนไปลงยันต์

 

ยันต์เกราะเพชรเป็นยันต์สำคัญมากยันต์หนึ่งในตำหรับยันต์ทั้งหลายในบ้านเรา ครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่นำยันต์นี้มาใช้สงเคราะห์ผู้คนและทำให้ยันต์นี้เป็นที่รู้จักกันก็คือ "หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค" จ. พระนครศรีอยุธยา

โดยบุคคลทั่วไปหรือแม้กระทั่งผู้ที่สนใจศึกษาพระเวทย์วิทยาคมก็ยังไม่ทราบเลยว่ายันต์สำคัญนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร บางท่านบางสายก็กล่าวกันไปเลยว่ายันต์เกราะเพชรนี้ เป็นยันต์ที่เทวดามาบอกให้กับหลวงปู่ปาน บางท่านบางสายก็กล่าวกันไปกระทั่งว่าเมื่อครั้งที่หลวงปู่ปานทำพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรจะมีเทวดามาเป่าให้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสุดวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราท่านจะทราบได้ ดังนั้นขอละที่กล่าวถึง

ยันต์เกราะเพชรนี้ ท่านอ.เทพย์ สาริกบุตรก็ใช้ แต่ว่าไม่ได้ลงไว้ในตำราพระเวทย์ของท่านในสายบรมครูหลวงปู่ศุข ก็มียันต์คล้ายๆ กัน ท่านเรียกว่ายันต์ "ตารางเพชร"

โดยไม่ว่าจะเป็นยันต์เกราะเพชรหรือตารางเพชร ก็ใช้พระคาถาบทสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

ฤกษ์ดีเสาร์นี้ สำนักศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ชวนเป่ายันต์เกราะเพชรตำรับหลวงพ่อปาน เผยข้อห้าม2ข้อที่ต้องทำให้ได้ #วัดใจก่อนไปลงยันต์

(อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร)

โดยยันต์เกราะเพชรจะใช้บทสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าที่แปลงเป็นยันต์อิติปิโส ๘ ทิศ ส่วนยันต์ตารางเพชรจะลงพระคาถาอิติปิโสฯ ตรงๆ เลย แต่จะมีเคล็ดเกร็ดย่อยในการลง เช่นใช้ทางคงกะพัน ใช้ทางแก้คุณไสย์ ซึ่งจะลงไม่เหมือนกัน

 

ย้อนกลับมาที่ยันต์เกราะเพชร ท่านอ.มนัส สิวาภิรมย์รัตน์ได้ค้นคว้าและไปร่ำเรียน รวมทั้งทวนสอบมาจากหลายอาจารย์ในอยุธยา กรุงเก่าฯ ซึ่งท่านก็เมตตาถ่ายทอดให้ admin ด้วย ซึ่งท่านได้เรียนยันต์เกราะเพชร
(ตำหรับหลวงปู่ปาน) มาจากสายหลวงพ่อหวล วัดพิกุล และท่านยังได้ทวนสอบจากสายหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง ผ่านท่านหลวงพ่อชาลี วัดวังยาว จ.ประจวบฯ โดยโยมพ่อหลวงพ่อชาลี ท่านได้รับการครอบยันต์เกราะเพชรจากหลวงพ่อแฉ่ง ในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม

อันที่จริงยันต์เกราะเพชรนี้ ทางครูบาอาจารย์สายจ.สุพรรณบุรี ก็มีใช้ โดยท่าน อ.มนัส สิวาภิรมย์รัตน์ได้ไปเรียนมาจากหลวงพ่อพล วัดวังยายหุ่น ซึ่งครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อพล ก็สืบได้ว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อยพระอาจารย์ของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ปานด้วยเช่นกัน

 

โดยหลักฐานเมื่อครั้งที่มีการเปิดกรุวัดมหาธาตุ (กรุที่บรรจุพระผงสุพรรณ) ก็มีจารึกบนแผ่นทองคำที่มียันต์เกราะเพชรนี้ ซึ่งถ้าสันนิษฐานได้ว่าผู้ที่รจนายันต์นี้ก็เป็นผู้ที่สร้างพระผงสุพรรณเช่นกัน

แต่ต้นตำหรับยันต์เกราะเพชรดั่งเดิมที่ทางสายจ.สุพรรณบุรีใช้ จะเป็นรูปตารางดังรูปที่นำมาให้เราท่านได้ทัศนากัน ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ยันต์เกราะเพชรนี้น่าจะมีแหล่งที่มาจากเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุจ.สุพรรณบุรี ส่วนที่ทางหลวงปู่ปานท่านใช้โดยไม่มีตารางยันต์ แต่คงไว้แต่รูปการชักยันต์นั้น ถือเป็นคติที่ท่านพิจารณาขึ้นมา โดยเราท่านที่ศึกษาเรื่องยันต์คงจะพอสันนิษฐานในเหตุและผลกันเองได้

ยันต์เกราะเพชรเป็นยันต์ที่คุ้มครองป้องกันภัยโดยอ้างอำนาจแห่งพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่งที่ระลึก โดยเราท่านที่หมั่นภาวนาเจริญเมตตาสมาธิอยู่เป็นนิตย์นั้น ก็เปรียบเสมือนคุณของพระพุทธเจ้ามาเป็นเกราะคุ้มครองป้องกันให้อยู่แล้ว

พิธีเป่ายันต์เกราะเพชร

จากตำรับยันต์เกราะเพชรที่พอจะสรุปได้ว่ามาจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี แต่มาโด่งดังที่อยุธยาจากการที่หลวงปู่ปาน วัดบางนมโคนำมาสงเคราะห์ผู้คน แต่สำหรับพิธีการเป่ายันต์เกราะเพชรนั้น ทางสายสุพรรณบุรีไม่ได้มีกล่าวถึง คงจะมีแต่ทางสายหลวงปู่ปาน วัดบางนมโคเท่านั้น

ท่านอ.มนัส สิสาภิรมย์รัตน์ ได้ไปศึกษามาจาก ๒ สาย คือสายหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรีและหลวงพ่อหวล วัดพิกุล กรุงเทพฯ โดยมีความใกล้เคียงกัน โดยจะมีพิธีการดังนี้

๑. ให้เขียนยันต์เกราะเพชรขนาดใหญ่ตั่งไว้ด้านหน้าเพื่อให้ผู้ที่มารับการเป่ายันต์ได้เห็น

๒. ผู้รับการเป่ายันต์ต้องเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อมาสักการะ โดยผู้ที่ตั่งครรภ์จะต้องเตรียมเพิ่มอีก ๑ ชุด ไว้สำหรับทารกที่อยู่ในท้อง ท่านว่าอานุภาพของยันต์จะติดไปถึงทารก โดยจะมีลักษณะคล้ายอุณาโลมติดที่หน้าผากเวลาคลอด

๓. ผู้รับการเป่ายันต์หลังจากสักการะครูบาอาจารย์แล้ว ให้สมาทานศีลและไตรสรณคมน์

๔. ผู้รับการเป่ายันต์ให้เพ่งไปที่รูปยันต์ขนาดใหญ่ที่เตรียมไว้ โดยให้เพ่งเล็งไปที่ตัว "โล-อุณาโลม" ที่อยู่กลางยันต์จากนั้นน้อมอาราธนาให้ยันต์เข้ามาอยู่ในตัว เข้ามาที่หน้าผากของเรา โดยให้ภาวนาพุทโธมิให้ขาดปาก

๕.อาจารย์ผู้จะทำพิธีเป่ายันต์นั้น จะต้องมีฌาณสมาธิที่แก่กล้ามากจึงจะทำการเป่ายันต์ให้เข้าไปอยู่ในร่างกายของศิษย์ได้ โดยจะมีพระคาถากำกับในขณะที่เป่ายันต์ที่เป็นพระคาถาเฉพาะมิสามารถเปิดเผยได้

 

อานุภาพของยันต์ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยม คุ้มครองป้องกันอุปัทอันตรายได้ทั้งปวงแต่มีข้อห้ามอยู่ ๒ ประการคือ

๑.ห้ามผิดศีลข้อ ๓ ข้อกาเมฯ
๒.ห้ามดื่มสุราเครื่องดองของมึนเมาเป็นอาจิณ

ฤกษ์ดีเสาร์นี้ สำนักศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ชวนเป่ายันต์เกราะเพชรตำรับหลวงพ่อปาน เผยข้อห้าม2ข้อที่ต้องทำให้ได้ #วัดใจก่อนไปลงยันต์

 

ตำหรับการเป่ายันต์ดกราะเพชรนี้ มีเกจิคณาจารย์หลายท่านนำไปประยุกต์ใช้โดยใช้ยันต์อื่นๆ แทนเช่นยันต์มงกุฏพระพุทธเจ้า ยันต์พรหมสี่หน้าและยันต์อื่นๆ อีก

จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรกแล้วว่า ยันต์เกราะเพชรเป็นยันต์ที่อ้างอำนาจของพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่งที่ระลึก โดยเราท่านที่เจริญภาวนาระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิตย์นั้น ก็เปรียบเสมือนคุณของพระพุทธเจ้ามาเป็นเกราะ
เพชรคุ้มครองป้องกันอุปทวันตรายให้อยู่แล้ว

ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัย อานุภาพแห่งยันต์เกราะเพชรและครูบาอาจารย์ผู้รจนายันต์นี้ขึ้นมา จงได้อำนวยอวยชัย คุ้มครองป้องกันภัยให้กับเราท่านด้วยเทอญฯ

บทความจาก -ดิลก แสงอุทัย

จากเพจ : ศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร 

(สอบถามรายละเอียดของงานเพิ่มเติมได้ที่เพจ "ศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร)