"หมอบรัดเลย์" มิชชันนารีชื่อดัง "ผู้ตัดแขนพระ" !!! และเป็นผู้ให้กำเนิด การแพทย์ และ การพิมพ์ ครั้งแรกในสยามประเทศ !!! 18 ก.ค. #วันนี้ในอดีต

ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th/

เอาเป็นว่า ทุกคนที่เรียนวิชาสังคมมา ไม่มีใครไม่รู้จัก "หมอบรัดเลย์" แต่เชื่อว่า จะมีใครสักกี่คนที่รู้จักความเป็นมาก่อนที่ท่านหมอมิชชันนารีท่านนี้ และ ท่านหมอท่านนี้สร้างคุณูปการอะไรบ้างให้กับแผ่นดินสยาม วันนี้ได้รวบรวมมาได้ส่วนหนึ่่ง ซึ่งความจริงแล้วข้อมูลของ หมอบรัดเลย์นั้นมีเยอะแยะมากมาย ที่ได้สร้างไว้ให้กับสยาม

หมอบรัดเลย์ หรือ แดเนียล บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

แดเนียล บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ แบลคลี บรัดเลย์

\"หมอบรัดเลย์\" มิชชันนารีชื่อดัง \"ผู้ตัดแขนพระ\" !!! และเป็นผู้ให้กำเนิด การแพทย์ และ การพิมพ์ ครั้งแรกในสยามประเทศ !!! 18 ก.ค. #วันนี้ในอดีต

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2377 หมอบรัดเลย์ออกเดินทางจากบอสตันมุ่งหน้าสู่สยาม โดยเรือ "แคชเมียร์" ใช้เวลารอนแรมในทะเลเป็นเวลา 6 เดือน หมอบรัดเลย์ก็มาถึงสิงคโปร์ในวันที่ 12 มกราคม 2378 และแวะพักอยู่ที่สิงค์โปร์อีก 6 เดือน ก่อนจะเดินทางเข้าสู่สยามในวันที่ 18 กรกฎาคม 2378 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 31 ปีพอดี โดยมาถึงพร้อมภรรยา เอมิลี เข้ามาทำงานในคณะกรรมธิการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2379 ในสมัยรัชกาลที่ 3 พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง หรือ วัดสัมพันธวงศ์ ในสมัยนี้ โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป 

ต่อมาจึงย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ที่เป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านที่ปลูกให้ฝรั่งเช่าของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาส โดยหมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการเมื่อ 30 ตุลาคม 2378

ที่บ้านพักแห่งใหม่นี้ หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่พระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2380 พระภิกษุรูปนั้นประสบอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตก ในงานฉลองที่วัดประยุรวงศ์ ซึ่งประสบความสำเร็จดีจนเป็นที่เลื่องลือ เพราะแต่ก่อนคนไทยยังไม่รู้วิธีผ่าตัดร่างกายมนุษย์แล้วยังมีชีวิตอยู่ดี

\"หมอบรัดเลย์\" มิชชันนารีชื่อดัง \"ผู้ตัดแขนพระ\" !!! และเป็นผู้ให้กำเนิด การแพทย์ และ การพิมพ์ ครั้งแรกในสยามประเทศ !!! 18 ก.ค. #วันนี้ในอดีต

ผลงานชิ้นสำคัญทางการแพทย์อีกเรื่องหนึ่งคือ การริเริ่มปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นผลสำเร็จครั้งแรกในเมืองไทยทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือในการหาซื้อเชื้อหนองฝีโค ซึ่งต้องสั่งนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามาใช้เพื่อปลูกฝีให้ชาวสยาม และยังทรงให้แพทย์หลวงมาศึกษาวิธีการปลูกฝีจากหมอบรัดเลย์เพื่อขยายการปลูกฝีให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย

หลังจากที่หมอบรัดเลย์ประสบความสำเร็จอย่างมากในทางการแพทย์ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบางกอก แต่นั่นกลับไม่ช่วยให้กิจกรรมทางด้านศาสนาประสบความสำเร็จไปด้วย ตลอดชีวิตของหมอบรัดเลย์ในสยามซึ่งกินเวลาเกือบ 40 ปีนั้น ทำให้กลับใจเปลี่ยนศาสนาได้ไม่กี่คน หรือเรียกว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทุกสิ่งที่หมอบรัดเลย์ทำนั้นล้วนแต่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางศ่าสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์หรือการพิมพ์ก็ตาม

ส่วนงานที่หมอบรัดเลย์ทำและพัฒนาขึ้นตลอดเวลาคือ การพิมพ์ สิ่งที่น่าสนใจในงานพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา เป็นสิ่งสนับสนุนทางการแพทย์ และยังเป็นรายได้เพื่อจุนเจือครอบครัวอีกด้วย

การพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ในสยามเริ่มต้นขึ้นเมื่อหมอบรัดเลย์เดินทางจากสิงคโปร์มาสยามและได้ซื้อตัวพิมพ์อักษรไทยและแท่นพิมพ์ไม้ติดตัวมาด้วยตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ไม้ชุดแรกที่เข้าสู่สยามพร้อมกับหมอบรัดเลย์ถูกนำมาตั้งเป็นโรงพิมพ์ขึ้นที่ตรอกกัปตันบุช อันเป็นที่ตั้งของคณะ เอ บี ซี เอฟ เอ็ม และได้ดำเนินการพิมพ์ใบปลิว หนังสือต่างๆในระยะแรก ตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ไม้นี้หมอบรัดเลย์กล่าวถึงไว้ว่า เป็นสิ่งที่อัปลักษณ์มาก

จนกระทั่งในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2379 โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์จึงได้รับแท่นพิมพ์ใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น ยี่ห้อโอติส และสแตนดิ้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์การพิมพ์สยาม เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการพิมพ์สูงขึ้น และสวยงามขึ้นอย่างมาก

\"หมอบรัดเลย์\" มิชชันนารีชื่อดัง \"ผู้ตัดแขนพระ\" !!! และเป็นผู้ให้กำเนิด การแพทย์ และ การพิมพ์ ครั้งแรกในสยามประเทศ !!! 18 ก.ค. #วันนี้ในอดีต

หมอบรัดเลย์ได้ให้กำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในประเทศคือ หนังสือบัญญัติสิบประการ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2379 หลังจากนั้นกิจการโรงพิมพ์ภายใต้การดูแลของหมอบรัดเลย์ก็เริ่มต้นพิมพ์เกี่ยวกับศาสนาออกมาอีกมากมาย

ต่อมาในปี 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นจำนวน 9,000 ฉบับ นับเป็นสิ่งตีพิมพ์เอกสารทางราชการฉบับแรกในประวัติศาสตร์สยาม และถือเป็นหมายสำคัญว่ายุคแห่งการคัดด้วยลายมือกำลังจะหมดไป เป็นการเริ่มต้นยุคสมัยแห่งการพิมพ์สยาม

ในที่สุดพัฒนาการของการพิมพ์ในสยามก็มาถึงจุดสำคัญที่สุดคือ หมอบรัดเลย์และคณะสามารถหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 2384 ตัวพิมพ์ชุดนี้หมอบรัดเลย์ยังได้ทำขึ้นอีกเพื่อทูลเกล้าฯถวายเจ้าฟ้ามงกุฎ สำหรับใช้ที่โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหาร

\"หมอบรัดเลย์\" มิชชันนารีชื่อดัง \"ผู้ตัดแขนพระ\" !!! และเป็นผู้ให้กำเนิด การแพทย์ และ การพิมพ์ ครั้งแรกในสยามประเทศ !!! 18 ก.ค. #วันนี้ในอดีต

ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2387 หมอบรัดเลย์ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยามขึ้นในชื่อว่า หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ กิจการโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะในระยะหลังเมื่อหมอบรัดเลย์ได้รับพระราชทานที่ดินให้เช่าบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ งานพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่จำกัดวงเฉพาะงานทางด้านศาสนาอีกต่อไปแต่ได้พิมพ์หนังสือหลากหลายประเภท ทั้งนิยาย ประวัติศาสตร์ กฎหมาย วรรณคดี เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลที่สนใจทั่วไป

เกือบ 40 ปีที่อยู่ในสยาม หมอบรัดเลย์ได้ทุ่มเททำงานอย่างหนักตลอดเวลา มีโอกาสเดินทางกลับบ้านเกิดเพียงครั้งเดียว เป็นช่วงเวลาที่ เอมิลี บรัดเลย์ เสียชีวิตลงในสยาม การเดินทางกลับบ้านครั้งนี้กินเวลา 3 ปี คือระหว่างปี 2390-2393 เมื่อกลับมาสยามอีกครั้ง หมอบรัดเลย์ก็มาพร้อมกับภรรยาคนใหม่ คือซาราห์ แบลชลี หลังจากนั้นก็ลงหลักปักฐานอยู่ในสยามจนเสียชีวิตที่นี่ทั้งสองคน หมอบรัดเลย์มีบุตรกับเอมิลี 5 คน และกับซาราห์ 5 คนหมอบรัดเลย์มีชีวิตอยู่ในสยามผ่านเวลามาถึง 3 แผ่นดิน คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 รัชการลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 โดยที่ไม่มีโอกาสร่ำรวยและสุขสบายเลย หมอบรัดเลย์เสียชีวิตลงในปี 2416 ขณะมีอายุได้ 69 ปี อนุสรณ์สถานของครอบครัวบรัดเลย์อยู่ที่สุสานโปรเตสแตนท์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง

แต่สิ่งที่เป็นอนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของหมอบรัดเลย์ต่อชาวไทยก็คือการพิมพ์และการแพทย์ แม้ว่าหมอบรัดเลย์จะไม่ได้รับการยกย่องให้เป็น"บิดา"ทั้งทางด้านการพิมพ์และการแพทย์แผนใหม่ของไทย แต่สิ่งที่หมอบรัดเลย์ได้ริเริ่มบุกเบิกไว้เป็นคนแรกนั้นก็ไม่อาจลบเลือน

\"หมอบรัดเลย์\" มิชชันนารีชื่อดัง \"ผู้ตัดแขนพระ\" !!! และเป็นผู้ให้กำเนิด การแพทย์ และ การพิมพ์ ครั้งแรกในสยามประเทศ !!! 18 ก.ค. #วันนี้ในอดีต

อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org , www.dekd.com