Exclusive : เปิดใจ "ผอ.รพ.พระจอมเกล้า เพชรบุรี" จริงหรือไม่ปล่อยให้คนป่วยวิกฤต "รอ" จนเสียชีวิต?? (คลิปเสียง)

ติดตามรายละเอียด : http://www.tnews.co.th

คลิกเพื่อฟังคลิปสัมภาษณ์...

สืบเนื่องจากกรณี ที่โลกโซเชียลได้มีการแชร์เรื่องราวสะเทือนใจเมื่อสมาชิกเฟซบุ๊กใช้ชื่อ "Nu-sajee Kornrawee" ได้เผยแพร่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เมื่อมีผู้ป่วยเป็นเด็กชายเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนถึงขั้นช็อคและเสียชีวิตในที่สุด โดยระบุว่าน้องเกิดเสียชวิตเพราะเส้นเลือดในกระเพาะแตก เนื่องจากรอการรักษาจากทางโรงพยาบาล ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปก่อนหน้านั้น  คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ช็อกทุกความรู้สึก!!สาวโพสต์อุทาหรณ์สธ.ไทย น้องชายปวดท้องหนักถูกส่งตัวไปรพ.ใหญ่เคสฉุกเฉิน แต่ถูกให้นั่งรอๆๆจนอาการวิกฤตสิ้นใจสลด?? (คลิป)

 

Exclusive : เปิดใจ \"ผอ.รพ.พระจอมเกล้า เพชรบุรี\" จริงหรือไม่ปล่อยให้คนป่วยวิกฤต \"รอ\" จนเสียชีวิต?? (คลิปเสียง)

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด ทางทีมข่าว DEEPS News (สำนักข่าวทีนิวส์) ได้ติดต่อสอบถามไปยัง นายแพทย์สาธิต  รัตนศรีทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชบุรี กล่าวว่า สำหรับกรณีน้องที่เขารักษากับทางโรงพยาบาลเนื่องจากปวดท้องและเสียชีวิต ในส่วนที่ระบุว่าทางโรงพยาบาลให้รอนั้น ทางโรงพยาบาลขอยืนยันว่าทีมแพทย์ได้ทำการรักษาและทำตามขั้นตอนทุกประการ โดยในขณะที่น้องรักษาอาการในห้องฉุกเฉินมีทีมแพทย์และพยาบาลให้การดูแลตลอดเวลา

 

Exclusive : เปิดใจ \"ผอ.รพ.พระจอมเกล้า เพชรบุรี\" จริงหรือไม่ปล่อยให้คนป่วยวิกฤต \"รอ\" จนเสียชีวิต?? (คลิปเสียง)

 

Exclusive : เปิดใจ \"ผอ.รพ.พระจอมเกล้า เพชรบุรี\" จริงหรือไม่ปล่อยให้คนป่วยวิกฤต \"รอ\" จนเสียชีวิต?? (คลิปเสียง)

สำหรับในกรณีที่มีผู้โพสต์เข้าใจและเขียนถึงสาเหตุการเสียชีวิตว่าเป็นเพราะ "เส้นเลือดใหญ่ในกระเพาะแตก" โดยข้อเท็จจริงต้องอธิบายว่า กรณีนี้ทางทีมแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย พบว่าแท้จริงแล้วสาเหตุที่น้องเสียชีวิตเป็นเพราะ "เส้นเลือดใหญ่ในทรวงอกแตก" โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าเมื่อน้องมาถึงโรงพยาบาล  ทางทีมแพทย์รพ.พระจอมเกล้าได้ส่งผู้ป่วยเข้าห้องตรวจและทำการเอ็กซเรย์ช่วงท้องทันที  และมีการส่งผลตรวจไปให้ทางทีมแพทย์เพื่อทำการรักษา แต่ในระหว่างนั้นน้องเกิดอาการแทรกซ้อนเป็นลม ทางคณะแพทย์พยาบาลจึงได้นำตัวส่งเข้าแผนกฉุกเฉิน พร้อมให้การรักษาและสอบอาการทันทีทำให้รู้ว่า  เป็นผลจาก "เส้นเลือดใหญ่ในหน้าอกแตก" ซึ่งเป็นอาการที่มีความจำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทาง และมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความพร้อมมากกว่า ทางคณะแพทย์ของโรงพยาบาลจึงตัดสินใจเตรียมทำเรื่องส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นเพื่อทำรักษาอาการต่อ  แต่ปรากฏว่าเพียง 3 นาทีต่อมาระหว่างนั้นน้องได้เสียชีวิตอย่างกะทันหันภายในห้องฉุกเฉิน รวมระยะเวลาการรักษาทั้งหมดที่รพ.พระจอมเกล้าเพียงประมาณ 3 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลได้ทำการพูดคุยกับทางญาติของน้องที่พาน้องเข้ารักษาแล้ว ญาติไม่ได้ติดใจสาเหตุของการเสียชีวิต และไม่ได้ให้ทางโรงพยาบาลผ่าพิสูจน์ศพแต่อย่างใด ทั้งนี้ในส่วนของรายละเอียดการรักษาทั้งหมด โรงพยาบาลได้แจ้งแก่ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและสาธารณะชนต่อไป


ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)  ระบุว่า หลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกมีความสำคัญมาก เพราะมีแขนงไปเลี้ยงทุกอวัยวะในร่างกาย ถ้าเกิดความผิดปกติก็จะมีผลกระทบทั้งร่างกาย และถ้าเกิดการปริแตกออกเลือดจะออกมาอย่างรวดเร็วจนทำให้เสียชีวิตในเวลาไม่กี่นาที ส่วนผลที่เกี่ยวเนื่องหลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอก โดยทั่วไปจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีผลเฉียบพลันมากที่สุด และมักเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนภัย จากอาการแรกตอนที่เกิดโรค ดังนั้นถ้าการวินิจฉัยช้าเกินไป หรือการรักษาไม่ทันคนไข้มักเสียชีวิต

 

Exclusive : เปิดใจ \"ผอ.รพ.พระจอมเกล้า เพชรบุรี\" จริงหรือไม่ปล่อยให้คนป่วยวิกฤต \"รอ\" จนเสียชีวิต?? (คลิปเสียง)

 

ขณะที่ นพ.วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล  รอง ผอ.ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ  ให้ช้อมูลว่า   โรคเส้นเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะ เป็นโรคที่เกิด จากผนังของเส้นเลือดบางส่วนแตกภายใน จึงไม่มีอาการแสดงแต่แรกเริ่ม  จนเมื่อมีอาการหมายถึงว่าเลือดได้แตกทะลุแล้ว และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก  ส่วนอาการของโรคนี้ จะมีลักษณะการเจ็บหน้าอกร้าวไปถึงด้านหลัง  และบางคนอาจเจ็บร้าวลงไปถึงช่องท้อง  โดยการรักษาดีที่สุดต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการผ่าตัดอย่างทันท่วงทีภายใน 48 ชั่วโมง 

 

ส่วนภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพองแตกเซาะมักจะพบได้กับกลุ่มคนอายุ 40 ขึ้นไปจนถึง 60-70  ปี  แต่ปัจจุบันเริ่มพบว่ากลุ่มผู้ป่วยมีอายุน้อยลง  โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะความดันโลหิตสูง  ไขมันเลือดสูง  เบาหวาน  สูบบุหรี่   น้ำหนักเกิน  เครียด   ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้   ยกเว้นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรมบางโรคที่มีผลทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ  เปราะบาง   และโรคนี้จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง