เปิดประวัติ  "เรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน" ผู้นำตุรกี...เติบโตจากครอบครัวยากจน วิสัยทัศน์ไม่ธรรมดาจนนำพาความรุ่งเรืองสู่ตุรกี

เปิดประวัติ "เรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน" ผู้นำตุรกี...เติบโตจากครอบครัวยากจน วิสัยทัศน์ไม่ธรรมดาจนนำพาความรุ่งเรืองสู่ตุรกี

จากกรณีที่ นายพีรพล เอื้ออารียกูล หรือ แชมป์ พิธีกร สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ได้ทำการนำเสนอข่าวกรณี “เรเซป เทยิป เออร์โดกาน ประธานาธิบดีของตุรกี ขณะเดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมต่อมาการนำเสนอได้วิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีฯ ในเชิงลบ  และหลังจากนำเสนอนั้นทำให้สร้างความไม่พอใจกับสถานทูตตุรกีประจำประเทศไทยเป็นอย่างมาก ถึงขนาดทำหนังสือส่งมาที่ช่อง 3 เพื่อให้ กล่าวขอโทษ เพราะเข้าข่ายการเหยียดเชื้อชาติ  หลังจากนั้นทางช่องสั่งปลดแชมป์ออกจากรายการ ช็อตเด็ด กีฬาแชมป์

ขณะเดียวกันในเวลาต่อมาผู้บริหารของช่อง 3 ได้พา “แชมป์ พีรพล เอื้ออารียกูล”เข้าไปขอพบ นางเอฟเรน ดาเดเลน อักกุน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกี ประจำประเทศไทย พร้อมกับหนังสือลงโทษ เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอีก  

เปิดประวัติ  \"เรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน\" ผู้นำตุรกี...เติบโตจากครอบครัวยากจน วิสัยทัศน์ไม่ธรรมดาจนนำพาความรุ่งเรืองสู่ตุรกี

 

หากใครก็ตามได้ติดตามชื่อของ “เรเซป เทยิป เออร์โดกาน” ประธานาธิบดีของตุรกี ผู้นำของตุรกีคนนี้เรียกได้ว่าตั้งแต่เขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองของอิสลามอีกครั้ง 
หากได้ไล่เรียงเขาพัฒนาเศรษฐกิจ สวัสดิการ สาธารณูปโภคแก่ประเทศ

-มีการขยายสาขาของธนาคารอิสลาม (ธนาคารชารีอะฮ์) ธนาคารอิสลามมีความเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธนาคาร Ziraat Islamic เป็นธนาคารชารีอะฮ์ที่รัฐเป็นเจ้าของ ซึ่งทางรัฐบาลตุรกีมีแผนที่จะขยายทั้งหมด 170 สาขา จนถึงปี 2018

-ข้อจำกัดอายุในการเรียนรู้คัมภีร์กุรอานถูกยกเลิก รัฐบาลตุรกีได้ยกเลิกกฎหมายที่ว่าเด็กจะต้องมีอายุอย่างน้อย 12 ปีขึ้นไป ถึงจะสามารถเรียนรู้อัลกุรอานได้ และในปี 2013 ตุรกีได้เปิดตัวโครงการแนะนำอัลกุรอานให้กับโรงเรียนในช่วงอนุบาลและสอนอัลกุรอาน

-แนะนำการศึกษาศาสนาภาคบังคับ  ทางรัฐบาลตุรกีได้สั่งการให้โรงเรียนต่างๆ ได้แนะนำการศึกษาศาสนาอิสลามภาคบังคับ เกี่ยวกับการศึกษาวิชาศาสนา

-นักศึกษาหนึ่งล้านคนสมัครเข้าโรงเรียนอิหม่ามฮาติบเป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้การศึกษาและการอบรมทางด้านศาสนาและเป็นการฝึกทดสอบให้กับผู้ที่สมัครเป็นอิหม่ามในประเทศตุรกี ซึ่งโรงเรียนอิหม่ามฮาติบแห่งนี้จัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่โรงเรียนศาสนาถูกสั่งห้ามภายใต้การนำของช่วงสมัยการปฏิรูปของรัฐบาลอตาเติร์ก

-ตุรกีในยุคเสรีนิยมได้อนุญาตให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในปี 2013 ทางพรรคยุติธรรมและการพัฒนามีคำสั่งห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการจำหน่ายในรัศมี 100 เมตรห่างจากมัสยิดและโรงเรียน

-ได้ยกเลิกการห้ามใส่ผ้าคลุมฮิญาบในโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2015 ผู้พิพากษาผู้หญิงได้ใช้ผ้าคลุมฮิญาบเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์

 

เปิดประวัติ  \"เรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน\" ผู้นำตุรกี...เติบโตจากครอบครัวยากจน วิสัยทัศน์ไม่ธรรมดาจนนำพาความรุ่งเรืองสู่ตุรกี

และถ้าหากดู ประวัติของเรเซป เทยิป เออร์โดกาน  ประธานาธิบดีของตุรกี  ประวัติเขาไม่ธรรมดา  จากเด็กชนบทธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่เห็นความเป็นไปอันพิกลพิการของศาสนาและความเป็นตัวตนของประเทศตนเอง ยอมที่จะละทิ้งความสะดวกสบายในโรงเรียนรัฐซึ่งถูกหยาบโลนไปด้วยระบอบของ อตาเติร์ก อันเป็นระบอบที่ทำลายอาณาจักรอิสลามแห่งสุดท้ายลงเมื่อ 70 กว่าปีก่อนนั้น (อาณาจักร อุษมานียะฮฺหรือออตโตมันมีอำนาจปกครองอยู่ในช่วง ค.ศ.1299-1923) ทำให้เด็กชายตัวเล็กๆคนหนึ่งขอผู้เป็นบิดาให้ส่งตัวเองไปเรียนในโรงเรียนศาสนาอันไม่มีเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลให้ได้หยิบจับกัน ซ้ำยังโดนจับตาจากอำนาจฝ่ายรัฐที่จ้องจะเล่นงาน จนต้องยกเลิกการเรียนการสอนอีกนั้น เด็กชายผู้นี้เลือกที่จะมาเรียนที่นี่ เพียงเพื่อหวังที่จะหลีกหนีความพิกลพิการทางศาสนาของประเทศและจิตวิญญาณคนตุรกีสมัยนั้น เพื่อที่ว่าตนเองจะได้สัมผัสอิสลามแม้เสี้ยวเดียวในโรงเรียนซอมซ่อแห่งนั้นและในประเทศตนเองที่ไม่มีกลิ่นอายแห่งอิสลามให้ได้เชยชมแล้วก็ตาม


เรเซป เทยิป เออร์โดกาน  ไปสมัครเข้าโรงเรียนชั้นซานาวีย์แห่งหนึ่ง(ระดับมัธยม) ในวันหนึ่งคุณครูได้ถามนักเรียนว่า ใครละหมาดเป็นบ้าง ช่วยออกมาแสดงให้เพื่อนๆดูหน้าห้องหน่อยสิ… เด็กชายอัรดูฆอน ยกมือและได้ออกมาหน้าห้อง คุณครูจึงเตรียมหนังสือพิมพ์เพื่อปูชั่วคราวให้เขาได้ละหมาด แต่อัรดูฆอนได้ปฏิเสธที่จะใช้มัน

 

เปิดประวัติ  \"เรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน\" ผู้นำตุรกี...เติบโตจากครอบครัวยากจน วิสัยทัศน์ไม่ธรรมดาจนนำพาความรุ่งเรืองสู่ตุรกี

 

เรเซป เทยิป เออร์โดกาน  ก้าวเข้ามาในแวดวงการเมือง เมื่อครั้งที่เขายังเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคเรฟะฮฺ พรรคการเมืองแนวคิดอิสลามพรรคแรกๆ หลังอาณาจักรอุษมานียะฮฺล่มสลายไป นั้นคือการไปอยู่กับ ศาสตราจารย์ ดร.นัจมุดดีน อัรบาฆาหัวหน้าพรรคผู้เป็นวิศวกรจบจากประเทศเยอรมันแต่มีอุดมการณ์แห่งอิสลามอยู่เต็มอก ท่านได้สั่งสอนเรื่องราวความยิ่งใหญ่แห่งอิสลาม อดีตอันรุ่งโรจน์ พร้อมกับประวัติการต่อสู้ของบรรพชนแห่งอิสลาม  อัรดูฆอนปลื้มครูคนนี้ของเขามาก แต่นั่นก็เป็นแสงดาวแห่งความหวังเพียงชั่ววาบเท่านั้น เมื่อพลพรรคครูของเขาต้องถูกลบออกไปจากแวดวงการเมือง ด้วยน้ำมือของพวกเซคคิวลาห์ที่ยังเป็นเสียงส่วนมากในตุรกีในวันนั้น  อัรดูฆอนไม่เคยลืมเรื่องราวเหล่านี้ เขาเพียรพยายามไต่เต้าวงจรสกปรกนี้ และอาสาค่อยๆเช็ดถูขจัดคราบเหล่านั้นออกจากระบบ ท่านได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีแห่งเมืองอิสตันบูล เมืองการค้าแห่งตุรกี ประชาชนเลือกท่าน ด้วยเหตุผลหนึ่งก็คือ อัรดูฆอน ไม่เคยมีเรื่องทุจริตปรากฏให้เห็นเลยในชีวิต


ทั้งนี้ทั้งนั้นในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองอิสตันบูลนั้น ในการปราศรัยครั้งหนึ่งท่านได้พูดขึ้นว่า “คนเรา จะผสมผสานกันระหว่างมุสลิมกับเซคคิวลาห์นั้นไม่ได้ ท่านจะต้องเลือกการเป็นผู้ศรัทธาเท่านั้น และทิ้งการเป็นเซคคิวลาห์ซะ” และเขาก็ได้ยกกลอนชิ้นหนึ่งของนักสู้มุสลิมคนหนึ่งของตุรกีว่า “มัสยิดนั่นคือค่ายทหารของเรา  โดมของมันคือหลุมหลบภัยของเรา ส่วนหอคอยนั้นเล่า คือดาบปลายปืนของเรา และผู้ศรัทธาในที่นั้น คือทหารหาญของเรา…”

ขณะเดียวกันการก้าวเข้าสู่ ตำแหน่งประธานาธิบดี เรเซป เทยิป เออร์โดกาน ช่วงเดือนสิงหาคม 2557  ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรกของประเทศ  โดยหลังจากนับคะแนนเกือบทั้งหมด นายแอร์โดอันได้คะแนนโหวตถึง 52% ขณะที่คู่แข่งอย่างนาย เอ็กเมเลดดิน อีห์ซาโนลู ได้คะแนนโหวต 38%