- 06 พ.ค. 2560
รู้หรือไม่!!??สุดยอดฝีมือคนไทย...ผลิตและส่งออก "ยุทโธปกรณ์สายเลือดไทย" ไปไกลกว่า37ชาติทั่วโลกและแข็งแกร่งยังติดอันดับ 1ใน 3 ของโลก!!
ชัยเสรีคือธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังความมั่นคงทางทหารของหลายประเทศ ไม่ได้ทำ หน้า ที่แค่พียงเป็นผู้ผลิตเท่านั้น แต่ยังออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ คิดค้นระบบ ทั้งภายนอกและภายใน สำหรับหน่วยงานทางทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงของชาติ ด้วยวัตถุประสงค์ในการรักษาความมั่นคง ผลิตภัณฑ์จาก ชัยเสรีนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตีนตะขาบรถถัง ล้อรถถัง ชิ้นส่วนยางติดเหล็ก ข้อต่อสายพาน ล้อกดสายพาน รวมถึงให้บริการซ่อมรถทหาร ชุดเกราะให้รถ ทหาร และผลิตรถเกราะฝีมือคนไทย จนเป็นธุรกิจที่ได้รับความไว้วางใจจาก กระทรวงกลาโหม รัฐบาล ทั้งนี้ความแข็งแกร่งยังติดอันดับ 1ใน 3 ของโลก ซึ่งส่วนประกอบของรถถังที่ไทยผลิตนั้น ส่งออกไปถึง 37 ประเทศทั่วโลก
จากธุรกิจครอบครัวที่มีพื้นที่ปลูกยางพารา ดำเนินธุรกิจการผลิต สินค้าที่จากยางและยางกับโลหะที่เป็นส่วนประกอบในรถบรรทุก เช่น ยางกันกระแทก (rubber bumpers) แกนรับแรงบิดที่เพลา ท้าย (torque rods) ด้วยประสิทธิภาพในการใช้งานอันยอดเยี่ยม ทำให้ชื่อของชัยเสรีนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจอย่าง ต่อเนื่อง ก่อนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาและต่อยอดขยาย การผลิตมาสู่อุปกรณ์ในรถถัง โดยยังคงรักษาจุดเด่นด้านวัสดุคือ การใช้ยางพาราไทย คิดค้นสูตรยางด้วยตัวเอง ปรับสูตรยางให้ เหมาะสมกับปัจจัยหรือข้อจำกัดที่แตกต่างตามการใช้งาน
เมื่อพ.ศ. 2511 ที่ชัยเสรีมีโอกาสได้ซ่อมรถถังนำเข้าให้ กับกองทัพไทย ที่เมื่อถึงจุดหนึ่งสามารถมองเห็นจุดอ่อนของรถถัง แต่ละรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศ ว่าประสิทธิภาพนั้นไม่ถึงกับ มาตรฐานที่กำหนดไว้ อาทิ ป้องกันระเบิดแต่เฉพาะประตูรถ แต่ไม่ป้องกันแรงระเบิดจากใต้ท้องรถ แรงสั่นสะเทือนจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นขณะรถถังวิ่ง รูปแบบล้อที่ทำให้ถนนเสียสภาพ เครื่องยนตร์เสียงดัง ทำให้แกะรอยได้ง่าย เป็นต้น ชัยเสรี จึงได้เริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ด้วยวัสดุจากประเทศไทย เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ชัยเสรีไม่หยุดพัฒนายุทโปกรณ์เหล่านี้ให้ได้มาตรฐานสูง ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในปัจจุบัน ชัยเสรีพัฒนาและผลิตรถถังที่ก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ เพิ่มศักยภาพด้านอื่นๆ อาทิ ความสามารถ ในการขับบนถนนได้ด้วยความเร็ว หลบหนีจากการปะทะด้วยศัตรูได้ ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลี้ยวได้ไม่ต่างจากรถยนตร์ รถถังสองคันสามารถขับสวนกันในเลนแคบได้ ทำการเปลี่ยนเครื่องยนตร์จาก 170 แรงม้าสู่ 300 แรงม้า อะไหล่ภายในสามารถเปลี่ยนสลับกับยานพนะอื่นๆ อย่างเรือได้ ชัยเสรีพัฒนารถถัง MIII3 APC จำนวน 2 แสนคัน โดยออกแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาการเกิดรอยล้อบนผผิวถนน รถถังรุ่นนี้จึงเคลื่อนไหวโดยที่ไม่ทิ้งหลักฐานบอกทิศทาง สร้างความเหนือกว่าด้วยการหาตำแหน่งได้ยากขึ้น
ทั้งนี้รถขนย้ายนักโทษ คดีพิเศษ ของกรมราชทัณฑ์ไทยรถที่ว่านี้ก็คือ เจ้า First Win ของ ชัยเสรี ที่ผลิตและออกแบบโดยคนไทย นั้นเองโดยก่อนหน้านี้ทั้ง DSI และ กองทัพได้ จัดซื้อและนำเข้าประจำการไปบางส่วนแล้ว โดยของ DSI ถูกใช้ในส่วนของคดีพิเศษ และ กองทัพ กำลังทยอยใช้ในการลาดตระเวน 3 จังหวัดชายแดนใต้