- 28 เม.ย. 2560
สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน - สระบุรี – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร จะแบ่งการดำเนินโครงการออกเป็น 40 ช่วง วงเงินรวม 76,600 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 6 สายบางปะอิน - สระบุรี – นครราชสีมา
สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน - สระบุรี – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร จะแบ่งการดำเนินโครงการออกเป็น 40 ช่วง วงเงินรวม 76,600 ล้านบาท ซึ่งสามารถประกวดราคาและลงนามในสัญญาได้ภายในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 25 ช่วง และภายในปีงบประมาณ 2560-2561 จำนวน 15 ช่วง ในเบื้องต้นจะก่อสร้างช่วงที่ 7 ซึ่งเป็นสะพานอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีก่อน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จปี 2562 และเปิดให้บริการในปี 2563
มอเตอร์เวย์สายดังกล่าว จะมีทางวิ่งฝั่งละ 4-6 ช่องทาง โดยมีจุดเริ่มต้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณทางแยกต่างระดับที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนวงแหวนตะวันตก มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตัดกับทางหลวงหมายเลข 1 ที่บริเวณแนวทางเลี่ยงเมืองสระบุรี ด้านตะวันออกขนานไปทางด้านใต้ของทางหลวง หมายเลข 2 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 2 ที่บริเวณอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แล้ววางตัวทางด้านเหนือของทาง หลวงหมายเลข 2 จนบรรจบกับแนวถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาไปทับกับแนวถนนวงแหวนดังกล่าว เลี้ยวเข้าตัวเมืองนครราชสีมาที่จุดตัดทางหลวงสายบ้านกุดม่วง-นครราชสีมา แล้วทับซ้อนไปกับแนวทางหลวงสายดังกล่าว สิ้นสุดที่จุดบรรจบทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา (By Pass)
โครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน - สระบุรี – นครราชสีมา ของกรมทางหลวง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2563
สำหรับมอเตอร์เวย์สายนี้ จะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ภาคกลางกับศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ด้วยระยะทาง 196 กม. ใช้เวลาเพียง 127 นาที อีกทั้งยังเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น “ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา-จีนตอนใต้”
แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกตะวันออก กับ ถ.พหลโยธินที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นแนวใหม่ขนานไปกับ ถ.พหลโยธินและ ถ.มิตรภาพ และบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา บริเวณหลัก กม.ที่ 2
เส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่
1.จ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.วังน้อย อ.อุทัย
2.จ.สระบุรี อ.หนองแค อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก
3.จ.นครราชสีมา อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา
การก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ช่วง ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
ช่วงที่ 1
• ทางพิเศษ 6 ช่องจราจร
• จากบางปะอิน-อ.ปากช่อง
• ระยะทาง 103 กม.
ช่วงที่ 2
• ทางพิเศษ 4 ช่องจราจร
• จากอ.ปากช่อง-นครราชสีมา
• ระยะทาง 93 กม.
โดยมีรูปแบบการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นทางระดับพื้น แต่จะมีทางยกระดับ 4 ช่วง ระยะทางรวม 32.1 กม. ได้แก่
1. ช่วงทางเลี่ยงเมืองสระบุรี
• ระยะทาง 7 กม.
2. ช่วงพื้นที่สัมปทาน TPI
• ระยะทาง 5.5 กม.
3. ช่วงเขาตาแป้น
• ระยะทาง 2.3 กม.
4. ช่วงอ่างเก็บน้ำลำตะคอง
• ระยะทาง 17.3 กม.
มีการควบคุมการเข้า-ออกแบบสมบูรณ์ (รั้วกั้น) ตลอดทาง
โดยใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางระบบปิด ซึ่งมีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด จำนวน 9 ด่าน ได้แก่
1. ด่านบางปะอิน
2. ด่านวังน้อย
3. ด่านหินกอง
4. ด่านสระบุรี
5. ด่านแก่งคอย
6. ด่านมวกเหล็ก
7. ด่านปากช่อง
8. ด่านสี่คิ้ว
9. ด่านนครราชสีมา
มีจุดทางแยกต่างระดับที่เชื่อมต่อกับทางหลวง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่
1. ทางต่างระดับบางปะอิน 1
2. ทางต่างระดับบางปะอิน 2
3. ทางต่างระดับวังน้อย
4. ทางต่างระดับหินกอง
5. ทางต่างระดับสระบุรี
6. ทางต่างระดับแก่งคอย
7. ทางต่างระดับมวกเหล็ก
8. ทางต่างระดับปากช่อง
9. ทางต่างระดับสีคิ้ว
10. ทางต่างระดับนครราชสีมา
พื้นที่บริการทางหลวง จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย
1. ที่พักริมทางหลวง (Rest Area) 15 ไร่ จำนวน 5 แห่ง
2. สถานีบริการทางหลวง (Service Area) 20 ไร่ จำนวน 2 แห่ง
3. ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 50 ไร่ จำนวน 1 แห่ง
กรมทางหลวงยังมีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหารจัดการและงานบำรุงรักษาตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล
กรมทางหลวงยังมีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหารจัดการและงานบำรุงรักษาตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล