- 08 ส.ค. 2560
กลิ่นชักไม่ดี!! จับตาดู วงการผ้าเหลืองสะเทือน!?!? เมื่อ "โยม" ขอเข้าตรวจสอบ"พระ"
มีเรื่องให้ได้ติดตามกันอยู่เรื่อยๆสำหรับเรื่องคาวๆฉาวๆ ของวงการผ้าเหลืองที่ถูกซุกเอาไว้อยู่นาน จนพักหลังๆนี้ ชักจะส่งกลิ่นตุๆ ที่จะว่าไปเล้วก็ไม่ได้อีรุงตุงนังไปหมดทั้ง เงินทอง ลาภยศ ชื่อเสียง ตำแหน่งและอำนาจไม่ได้แตกต่างจากฆราวาสสักเท่าไร อันจะเห็นได้จากก่อนหน้านี้ได้มีประเด็นที่ถกเถียงกันแบบไม่จบสิ้น จากมติที่ประชุมของมหาเถรสมาคมครั้งที่17/2560 เมื่อ 20 กรกฎาคม 2560
เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(สนิท ชวนปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรรมการมหาเถราสมาคม ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เสนอขอแต่งตั้ง พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสันโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม เจ้าคณะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา
ในวันที่สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศน์วิหารเป็นประธานในการประชุม แทนสมเด็จพระอริยวงสาคตญาณ สมเด็จพระ สังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เนื่องจากทรงพระประชวร
และถูกเรียกร้องทักท้วง จาก “กลุ่มรักษ์ธรรมเมืองแปดริ้ว” กลุ่มคนซึ่งไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้ง ให้ พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสันโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม เจ้าคณะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราจากการที่เจ้าคณะปกครองผู้มีอำนาจในพื้นที่ได้ทำหนังสือลงวันที่ 28 มิถุนายน 2560
แต่เมื่อทางมหาเถรสมาคมกลับเพิกเฉย "กลุ่มรักษ์ธรรมเมืองแปดริ้ว"จึงได้ออกแถลงการณ์ขอให้ทบทวนมติดังกล่าว ภายหลังเพียงแค่ 3วัน ในวันที่23.ก.ค.60
ก่อนที่หลวงปู่พุทธอิสระจะออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยได้ออกมาเปิดเผยถึงการแต่งตั้ง “เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา”โดยมิชอบ เหตุประพฤติผิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง ถึงขนาดที่ประชุม มส. ครั้งที่ 8/2553 วันที่ 9 เมษายน 2553 เลขาธิการมหาเถรสมาคมได้แจ้งให้ที่ประชุม ได้รับทราบแล้วว่า พระปริยัติกิจวิธาน (อมรภิรักษ์) ยศในขณะนั้นและพวกเป็น ผู้ละเมิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง จนถึงขนาดต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่ก็มาได้รับการฟอกตัวในยุคสมเด็จพระพุฒาจารย์แห่งวัดไตรมิตร ก่อนจะระบุเพิ่มเติม ว่า ได้ยินข่าวมาอีกเหมือนกันว่า งานนี้เขาจ่ายกันไม่ต่ำกว่าสิบล้าน แถมรถเบนซ์
อีก 1คัน… พอได้เงินได้รถเข้าไปหูตาเลยลาย ที่เลวกลายเป็นดี ที่เป็นผีก็กลายเป็นคน
กระทั่งวานนี้ (7 ส.ค. 2560 ) หลวงปู่ หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้โพสต์ข้อความอีกครั้ง ถึงกรณีข่าวที่ตัวแทนกลุ่มรักษ์ธรรมแปดริ้ว ยื่นหนังสือเลขาธิการมหาเถรสมาคม ตรวจสอบและพิจารณาทบทวนการแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราอีกครั้งหนึ่ง ในหัวข้อ “ในที่สุดก็เกิดกบฏต่อมหาเถรจนได้” โดยบางช่วงได้ระบุว่า..
วันที่ 4 ส.ค. 60 ที่ผ่านมา นายฉลอง หอมหวล ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์ธรรม เมือง แปดริ้ว ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเพื่อขอให้ ผอ.สำนักพุทธ ในตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมตรวจสอบ และทบทวน พิจารณาการแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราเสียใหม่ และพิจารณาความผิด ทางการปกครองสงฆ์ของเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และเจ้าคณะภาค ๑๒ แห่งวัดสระเกศ ที่มีการเสนอชื่อโดยมิชอบด้วย กฎมหาเถรสมาคม
และระบุว่าต่อว่า.. มาวันนี้จึงมีกลุ่มรักษ์ธรรมแปดริ้วได้หยิบยกเอาประเด็นนี้มาคัดค้าน ซึ่งอาจจะเป็นผู้ทนเห็นการทำหน้าที่อย่างอยุติธรรมของกรรมการมหาเถรสมาคมบางคนและเจ้าคณะภาค ๑๒ ไม่ได้ จึงออกมาโวยวายคัดค้าน
และในวันเดียวกันนั้นเอง นายฉลอง หอมหวล ได้เข้ายื่นหนังสือถวายฎีกา ของกลุ่มรักษ์ธรรมเมืองแปดริ้ว ต่อเจ้าหน้าที่สำนักราชเลขาธิการ ณ ศาลาลูกขุน ในพระบรมมหาราชวัง โดยนายฉลองกล่าวว่า ตามที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) ได้กราบทูลต่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานในที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า การเสนอให้พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสนฺโน) เจ้าคณะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ฉะเชิงเทราต่อที่ประชุมมส.ครั้งที่ผ่านมานั้นได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนในการแต่งตั้งพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าคณะจังหวัด ทุกประการแล้วนั้น
ทางกลุ่มรักษ์ธรรมฯยังคงยืนยันเช่นเดิมว่า เป็นการพิจารณาแต่งตั้งโดยมิชอบด้วยกฎมส. ฉบับที่ 24 ในหมวด 2 ข้อ 6 (3) หรือในหมวด 2 ข้อ 6 (6) ที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าการพิจารณาคุณสมบัติ ต้องไม่เคย ต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อนซึ่งพระราช ปริยัติสุนทรเป็นผู้เคยต้องคำวินิจฉัยในข้อนี้พระสังฆาธิการผู้ที่นำความอันเป็นเท็จไปกราบทูลหรือกล่าวคำยืนยันต่อที่ประชุมมส.จนมีผลให้มีการรับรองมติแต่งตั้งฯ จึงเป็นการกระทำที่มิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ ผิดจริยาพระสังฆาธิการ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่การคณะสงฆ์ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ข้อ 55 (4)
ทางกลุ่มรักษ์ธรรมฯยังคงยืนยันเช่นเดิมว่า เป็นการพิจารณาแต่งตั้งโดยมิชอบด้วยกฎมส. ฉบับที่ 24 ในหมวด 2 ข้อ 6 (3) หรือในหมวด 2 ข้อ 6 (6) ที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าการพิจารณาคุณสมบัติ ต้องไม่เคย ต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อนซึ่งพระราช ปริยัติสุนทรเป็นผู้เคยต้องคำวินิจฉัยในข้อนี้พระสังฆาธิการผู้ที่นำความอันเป็นเท็จไปกราบทูลหรือกล่าวคำยืนยันต่อที่ประชุมมส.จนมีผลให้มีการรับรองมติแต่งตั้งฯ จึงเป็นการกระทำที่มิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ ผิดจริยาพระสังฆาธิการ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่การคณะสงฆ์ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ข้อ 55 (4)
ทั้งยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่ากล่าวต่อว่า กลุ่มรักษ์ธรรมฯ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน เป็นพุทธบริษัทสี่ เป็นผู้ส่งเสริม ทำนุบำรุง รักษาพระพุทธศาสนา หากจะนิ่งเฉย เสียก็จะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อการคณะสงฆ์ กฎเกณฑ์แบบแผนที่มหาเถรกำหนด ให้ปฏิบัติไว้ดีแล้วก็จะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป และเมื่อหมดหวังในที่พึ่งอื่นใด ทางกลุ่มฯจึงจำเป็นต้องเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร องค์อัครศาสนูปถัมภก ด้วย มุ่งหวังให้เกิดความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เกิดความสมานฉันท์ในสังคม ทั้งนี้สุดแต่ จะทรงมีพระราชวินิจฉัย
อย่างไรก็ตามหากลองพิจารณาดูแล้ว ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น เรื่องการซื้อขายตำแหน่ง จนนำไปสู่ปัญหาทุจริตเงินทอนวัด และอีกหลายๆ เรื่องก็ตามเกิดจากการปกครองแบบพระรูปเดียวจากอำนาจพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ดังนั้นจะกล่าวได้หรือไม่ว่าวันนี้ก็ควรที่จะต้องทบทวนเรื่องของการปฏิรูปวงการสงฆ์แล้วหรือไม่ เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งเนื้อแท้แก่นแท้ของสาสนนาเอาไว้ให้คงอยู่ เฉกเช่นเเต่การก่อน