- 10 ก.ย. 2560
เตรียมรับมือภาษีใหม่! ภาษี 4 ประเภท ที่ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กเดือดร้อน แม้แต่คนเลี้ยงไก่ชนก็ไม่รอด เช็คด่วน!
ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับล่าสุดไปเมื่อไม่นานมานี้ ล่าสุดทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบจาก พ.ร.บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2560 ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา วาระ 2 และ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยได้มีการปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยเก็บไม่เกิน 2% และขยับเพิ่ม 0.5% ทุกๆ 3 ปี จนถึงอัตราสูงสุด 5% อาจจะส่งผลกระทบกับประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินในวงกว้างโดยการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในครั้งล่าสุดของปี 2562 จะมี 4 ประเภทหลัก ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญดังนี้
1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการประกอบเกษตรกรรม กำหนดอัตราภาษีไม่เกิน 0.2% ของฐานภาษี
2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบ้านที่พักอาศัย กำหนดอัตราภาษีไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี
3. ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ กำหนดอัตราภาษีไม่เกิน 2% ของฐานภาษี
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า กำหนดฐานภาษีที่ 2% และจะเพิ่ม 0.5% ทุกปี ไม่พัฒนา 3 ปีติดต่อกันเสีย 2.5% โดยมีเพดานภาษีสำหรับพื้นที่รกร้างว่างเปล่าสูงสุด 5%
หากพิจารณาเนื้อหา กม.โดยผิวเผิน ภาษีที่ดินใหม่คงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยทั่วไป เพราะส่วนใหญ่ 90% ถือครองที่ดินที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 20-50 ล้านที่ได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว มีเพียงส่วนน้อยราว 10% เท่านั้นที่อาจได้รับผลกระทบ แต่ในข้อเท็จจริง หากเป็นที่ดินสิ่งปลูกสร้างใจกลางเมืองในย่านธุรกิจ อย่าง สีลม สุรวงศ์ เจริญกรุง เยาวราช หรือสุขุมวิท หรือตามหัวเมืองใหญ่ ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยานั้น พื้นที่ดินแค่ 100-200 ตร.วา ในย่านใจกลางเมืองเหล่านี้ก็มีมูลค่าเป็น 50-100 ล้านไปแล้ว มีสิทธิ์โดนภาษีเต็มๆ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใจกลางเมืองใหญ่ ซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างสูงมากเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง ทั้งที่เจ้าของที่ดินบางรายอาจไม่ใช่เศรษฐี หรืออาจปล่อยให้เช้าที่ดินบางส่วนเพื่อขายของ หากถูกประเมินว่าเพื่อการพาณิชย์ จะต้องเสียภาษี 0.3-2% ของราคาประเมิน ซึ่งรายได้จากการปล่อยให้เช่าพื้นที่อาจไม่คุ้มกับภาษีที่จะต้องจ่ายส่วนธุรกิจขนาดเล็กที่ใช้ที่ดินไม่มาก ผลตอบแทนที่ไม่สูง เช่นสถานีบริการน้ำมัน ปั้มแก๊ส ธุรกิจล้างรถ ตลาดสด หอพัก สถานที่จอดรถ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มไก่ไข่ ฟาร์มไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ชนฯลฯ เดิมไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือเสียแต่น้อย แต่หากต้องเสียภาษีตามกฏหมายที่ดินใหม่ อาจจะต้องจ่ายมากขึ้นซึ่งอาจจะกระทบกับธุรกิจเหล่านี้ได้ และอาจจะต้องปิดกิจการในที่สุด พร้อมกับบทลงโทษที่ทางอาญาที่อาจส่งผลกระทบ หากเจ้าของที่ดินเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยไม่แจ้ง จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, หากโอนย้ายที่ดินที่ถูกสั่งอายัดไว้แล้ว จำคุกไม่เกิน 2ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จหรือเพื่อเลี่ยงภาษี จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เลี่ยงภาษีมีโทษทางอาญาอีกสิ่งที่น่ากังวลคือ กฏหมายให้อำนาจองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้บังคับใช้กฏหมาย ทั้งการประเมินและการจัดเก็บรวมทั้งยึดและอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด จึงเกรงว่าอาจเป็นช่องทางเอื้อให้เกิดการทุจริต
เพราะกฏหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้เอง ซึ่งเจ้าของที่ดินอาจได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีไม่เป็นธรรม หรืออาจถูกส่งดำเนินคดีอาญาได้ ดังนั้นต้องการให้มีคณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใสของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นด้วย สำหรับ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คาดจะบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.62 โดยกำหนดจัดเก็บภาษีที่ดิน 4 ประเภทคือ ที่ดินเกษตรกรรมไม่เกิน 0.2% ที่ดินที่พักอาศัยไม่เกิน 0.5% ที่ดินพาณิชยกรรมไม่เกิน 2% และที่ดินรกร้างว่างเปล่า 2% และจะเพิ่ม 0.5% ทุกๆ 3 ปี โดยมีเพดานภาษีสูงสุด 5%
ขอบคุณที่มาอ้างอิง: Kaichononline, Logisticstime, Plus