ย้อนรอย ! คดี "บ.ไร่ส้ม" ก่อนศาลชั้นต้นสั่งจำคุก "สรยุทธ" ไม่รอลงอาญา !!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.Tnews.co.th

ย้อนรอยคดี บ.ไร่ส้ม ก่อนศาลชั้นต้น พิพากษาจำคุก"สรยุทธ"พร้อมพวก 2 คน โดยไม่รอลงอาญา

 

หากพูดถึงผู้ประกาศข่าวผู้ชายที่มีชื่อเสืยงที่สุดในตอนนี้ หลายคนจะต้องนึกถึงชายที่มีชื่อว่า สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเด่นเย็นนี้ และ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นรายการชื่อดังทางช่อง 3 แต่ทว่ากลับมาต้องคดีจนทำให้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในในการทำหน้าหน้าที่สื่อมวลชน หลังจากตนเองไปมีส่วนพัวพันเกี่ยวกับการเบี้ยวค่าโฆษณาเกินเวลา จำนวนเงิน 138 ล้านบาทระหว่าง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อสมท.กับ บริษัทไร่ส้ม จำกัด ซึ่งมีตำแหน่งเป็นกรรมการ  จนถูกศาลชั้นต้นพิพากษาตัดสินจำคุกเป็นเวลา 13 ปี 4 เดือน โดยรอลงอาญา


 
ซึ่งในวันนี้เราขออนุญาติทำการย้อนรอยในคดีดังกล่าว เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ว่าจุดเริ่มต้นและประวัติความเป็นมากันอย่างไร

 

จุดเริ่มต้นในคดีกล่าว  บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ด้ทำสัญญาว่าจ้างนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ให้เป็นพิธีกรแบบรายวัน ดำเนินรายการ"ถึงลูกถึงคน"ในอัตราค่าจ้าง 5,000 บาทต่อตอน เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2546 

 

ต่อมา ปรากฎว่ารายการดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ชมรายการ หลังจากนั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 นายสรยุทธ ได้ตั้ง บริษัทจำกัด โดยมี ตนเอง เป็นกรรมการผู้จัดการ และมี น.ส.อังคณา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ้ม เป็นกรรมการบริษัทหลังจากนั้น เข้าทำสัญญาร่วมผลิตรายการกับ อสมท โดยระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้เข้าทำสัญญากับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ออกอากาศทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลาประมาณ 12.00-13.00 น. ครั้งละ 60 นาที (รวมเวลาโฆษณา) โดย  บมจ.อสมท ตกลงแบ่งเวลาโฆษณาให้ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ครั้งละ 5 นาที ถ้ามีโฆษณาเกินกว่ากำหนด บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ต้องชำระค่าโฆษณาเกินเวลาให้ บมจ.อสมท ในอัตรานาทีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท ส่วนรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ที่ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 21.30-22.00 น. โฆษณาได้ไม่เกิน 2.30 นาที หากเกินต้องจ่ายเงินให้ อสมท นาทีละ 2.4 แสนบาท


      
เรื่องมาแดงขึ้น เมื่อช่วงปี 2549 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ทำการตรวจสอบพบว่า บริษัทไรส้ม จำกัด ค้างรายได้จากการ
โฆษณาเป็นเงินเกือบ 100 ล้านบาท แม้สุดท้ายจะได้ทำการชำระเงินค่าโฆษาส่วนเกินให้ อสมท. เป็นเงินจำนวนกว่า 138 ล้านบาท เมื่อรวมดอกเบี้ยเป็นเงินกว่า 152 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าเสียหายคืนให้แล้ว  แต่ทาง อสมท. ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาถึงสองชุด และทำการตรวจสอบซึ่งพบว่า บริษัทไร่ส้ม จำกัด กระทำผิดจริง

 

ต่อมา ป.ป.ช.ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง  พบว่า นางพิชชาภา เอี่ยมสอาด เจ้าหน้าที่ธุรการระดับ 5 สำนักกลยุทธ์การตลาด บมจ.อสมท.เป็นผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียวในการจัดทำคิวโฆษณารวมและเป็นผู้รายงานโฆษณาเกินเวลาเพื่อเรียกเก็บเงินจาก บริษัทไร่ส้ม จำกัด แต่กลับไม่มีรายงานการโฆษณาเกินเวลาของ บริษัทไร่ส้ม จำกัด เพื่อเรียกเก็บเงิน ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ.2548 ถึง วันที่ 30 มิ.ย.2549

 

ขณะที่  นายสรยุทธ ได้ทำการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคารธนชาติ สาขาพระราม 4 จ่ายเงินให้นางพิชชาภา โดยมีการทำเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้รวม 6 ครั้งเป็นเงิน 739,770.50 บาท เพื่อนางพิชชาภา มิได้ทำรายงานการโฆษณาเกินเวลา บริษัท ไร่ส้ม จำกัด

 

และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 นางบุณฑณิก บูลย์สิน รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด 1 สังเกตพบว่ารายการข่าวเที่ยงคืน มีการออกอากาศล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดจึงทำการตรวจสอบและเรียกนางพิชชาภา มาสอบถาม ซึ่งนางพิชชาภา ยอมรับสารภาพว่า บริษัทไร่ส้ม จำกัด มีการโฆษณาเกินเวลา และไม่มีการรายงานเพื่อเก็บเงินจริง โดยที่ตนได้ใช้น้ำยาลบเฉพาะคิวโฆษณาเกินเวลา บริษัทไร่ส้ม จำกัด ในใบคิวโฆษณารวมของ บมจ. อสมท. เพื่อปกปิดความผิดที่ได้กำรทำขึ้นตามคำแนะนำของ นายสรยุทธ และนางสาวมณฆา ธีระเดช  พนังงานของบริษัทไร่ส้ม จำกัด

หลังจากนั้น บริษัทไร่ส้ม จำกัด ได้มีการชำระเงินค่าโฆษณาส่วนเกินให้ ห้ บมจ. อสมท ในวันที่ 31 สิงหาคม 2549 และวันที่ 15 กันยายน2549 เป็นเงินจำนวน 103,953,710 บาท โดยบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ขอหักส่วนลด 30% จากยอดทั้งหมดจำนวน138,790,000 บาท แต่บมจ. อสมท ไม่ยินยอมให้หักส่วนลด 30%  แต่เนื่องด้วย บริษัทไร่ส้ม จำกัด มิได้ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำกันไว้และไม่ได้ชำระเงินให้ถูกต้องตามสัญญา บมจ. อสมท จึงคิดดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 138,790,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 เมษายน 2548 คิดถึงวันที่20 ตุลาคม 2549 เป็นเงินจำนวน 4,464,197.67 บาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 9,715,300 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 152,969,497.67 บาท ซึ่งบริษัท ไร่ส้มจำกัด ก็ยินยอมชำระเงินดังกล่าวให้ บมจ. อสมท. ในวันที่ 20 ตุลาคม 2549

 

ซึ่งทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นางพิชชาภา หรือ นางชนาภา บุญโต กระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา ตามมาตรา 6, มาตรา 8 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 และ นางสาวอัญญา อู่ไทย ซึ่งเป็นหัวหน้างานและเป็นผู้บังคับบัญชาในฝ่ายสนับสนุนและบริการลูกค้า สำนักกลยุทธ์การตลาด บมจ.อสมท.มีมูลความผิดทางวินัย ขณะที่ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการบริษัท ไร่ส้ม จำกัด, บริษัทไร่ส้ม จำกัด และ น.ส.มณฑา ธีระเดชเจ้าหน้าที่ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ผู้ถูกกล่าวหา ตามความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6, 8, 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และ 91  ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 97 แล้วแต่กรณี ก่อนทำการส่งรายงาน เอกสารและความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยและให้ส่งรายงาน เอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาในความผิดข้างต้น

 

ต่อมา เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2558 อัยการยื่นฟ้อง นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พร้อมลูกน้อง คดีดังกล่าว ส่วนทางทนายความส่วนตัว ได้ทำการยื่นหลักทรัพย์ 1 ล้านบาทขอประกันชั่วคราว ซึ่งศาลอนุญาตตีราคาประกันคนละ 2 แสนบาท ขณะที่ ป.ป.ช.ยังไม่ส่งตัว นางพิชชาภา มาให้ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดจะได้ประสานงานเพื่อนำตัวมาฟ้องศาล

 

โดยคดีนี้  นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ยังคงเดินทางร่วมนัดสืบพยานโจทก์เป็น ในคดีดังกล่าว ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก จำนวนทั้งสิ้น 4 ครั้งประกอบด้วย นวันที่ 17-18 และ 29-30 ก.ย. 2558 และนัดสืบพยานฝ่ายจำเลย 5 ครั้ง ในวันที่ 2, 8 ต.ค. 2558 และ 28-30 ต.ค. 2558

 

ล่าสุด ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำคุก นางพิชชาภา 30 ปี ลดโทษ เหลือ 20 ปี นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กับพนักงานบ.ไร่ส้ม จำคุก 20 ปี ลดเหลือ 13 ปี 4 เดือน ปรับบ.ไร่ส้ม จาก 120,000 เหลือ 80,000 โดยทั้งหมดไม่รอลงอาญา