อวยกันสุดๆ # ทุนสามานย์ !!!  ผู้บริหารซีพีฯโดดเป็นพยานป้องยิ่งลักษณ์  ชม"จำนำข้าว"ทำชีวิตชาวนาดีขึ้น-ข้าวไทยราคาสูง #งานนี้ไม่จบง่ายๆ??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

     ยังคงเป็นกระบวนการต่อเนื่องกับขั้นตอนวิธีพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง    โดยทางด้านสำนักข่าวอิศรา     www.isranews.org    ได้รายงานว่า   ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดไต่สวนพยานฝ่ายจำเลยครั้งล่าสุด     นายสุเมธ   เหล่าโมราพร   ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ   เครือเจริญโภคภัณฑ์   และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด  ในฐานะพยานฝ่ายจำเลยได้เข้าให้การต่อศาลฎีกาฯ  โดยอ้างว่าโครงการรับจำนำข้าวได้ประโยชน์กับชาวนาและยังไม่มีผลต่อการส่งออกข้าวไทย    สวนทางกับข้อเท็จจริงก่อนหน้าจากสมาคมส่งออกข้าวไทย ที่ยืนยันผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าวในหลายระดับ

 

     โดยเริ่มต้นคำให้การนายสุเมธ    ในฐานะผู้บริหารในเครือซีพีได้ปฏิเสธถึงความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับอดีตรัฐมนตรีและแกนนำในพรรคเพื่อไทย  ( วัฒนา  เมืองสุข  )   โดยอ้างว่าทราบเพียงแค่มีอดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งแต่งงานกับบุตรของผู้บริหารระดับสูงในเครือซีพี และมีบุตรของผู้บริหารระดับสูงในเครือซีพีบางรายเข้ามาทำงานให้กับรัฐมนตรีในสมัยพรรคไทยรักไทย

 

     นอกจากนี้นายสุเมธยังยืนยันว่าเครือซีพีไมได้ประโยชน์จากโครงการนี้    ทั้งการสร้างรายได้จากงบอุดหนุนซื้อผลิตภัณฑ์ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ  ในเครือซีพี รวมทั้งยังปฏิเสธว่า เครือซีพีไม่ได้มีการกักตุนสต็อกข้าวไว้ในช่วงที่พรรคเพื่อไทยหาเสียง   ก่อนนำมาขายในราคาแพง  แต่การซื้อข้าวของเครือซีพีเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์   เพื่อให้บริษัทมีสต็อกประมาณ 2-3 แสนตัน  เพื่อรองรับการคงปริมาณข้าวในสต็อกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการส่งออกข้าวปีละประมาณ 1 ล้านตันเศษ

 

     ส่วนนโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดอของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์   ส่วนตัวเมองเป็นเรื่องปกติ   เพราะนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองหลายพรรคขณะนั้น ต่างก็เน้นถึงนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้นอยู่แล้ว ไม่ใช่มีแต่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียวจึงไม่เกี่ยวกัน ส่วนประเด็นที่บริษัทในเครือซีพีที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้รับประโยชน์หรือไม่ คงตอบแบบนั้นไม่ได้ แต่ว่าสินค้าขายได้มากขึ้น แต่ไม่ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ อย่างไร

 

    นอกจากนี้  นายสุเมธ  ผู้บริหารเครือซีพี และอีกสถานะหนึ่งคือ  ผู้ผลิตและจำหน่าย   “ข้าวตราฉัตร”    ยังให้ข้อมูลว่า   โครงการรับจำนำข้าวเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวนา  ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ดังนั้นการจำนำข้าวจึงต้องมีราคาแพงกว่าตลาด และไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้อันดับการส่งออกข้าวไทยลดลง แต่กลับทำให้การขายข้าวในตลาดโลกของไทยได้ราคาสูงขึ้นด้วย ซึ่งหากคิดตามต้นทุนการผลิต ทำให้ชาวนาไม่เป็นหนี้สินล้นพ้นจนหมดตัว

 

      แน่นอนว่าการให้ข้อมูลลักษณะนี้ของผู้บริหารซีพีย่อมเป็นคุณต่อรูปคดีสำหรับน.ส.ยิ่งลักษณ์    แต่ต้องไม่ลืมว่ายังมีข้อเท็จจริงอีกหลายด้านซึ่งมีรายละเอียดตรงข้ามจากสิ่งที่ผู้บริหารซีพีนำเสนอ   อาทิเช่น   คำให้สัมภาษณ์ของ   นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์   นายกกิตติมศักดิ์  สมาคมผู้ส่งออกข้าว   ซึ่งเคยให้ข้อมูลว่า   การเข้ามาบิดเบือนกลไกราคาของตลาดข้าว  ด้วยการจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าตลาดมากถึงประมาณ 40-50%    ทำให้การส่งออกข้าวไทยมีปัญหาและไม่สามารถทวงคืนส่วนแบ่งทางการตลาดกลับคืนมาได้และยังง่ายต่อการทุจริต ดังนั้นหากต้องการช่วยเหลือเกษตรกรควรใช้วิธีอื่นมากกว่า มิฉะนั้นการส่งออกข้าวไทยจะถึงกาลอวสาน

 

อวยกันสุดๆ # ทุนสามานย์ !!!  ผู้บริหารซีพีฯโดดเป็นพยานป้องยิ่งลักษณ์  ชม"จำนำข้าว"ทำชีวิตชาวนาดีขึ้น-ข้าวไทยราคาสูง #งานนี้ไม่จบง่ายๆ??

       

 นายชูเกียติระบุด้วยว่า    ระบบการจำนำข้าวส่งผลให้คุณภาพข้าวของไทยนับวันจะลดต่ำลง เนื่องจากชาวนาต้องการเพิ่มผลผลิต แต่ไม่เน้นด้านคุณภาพ เนื่องจากรัฐบาลรับซื้อหมด ไม่ว่าจะคุณภาพแบบไหน อย่างข้าวหอมมะลิก็หันมาใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ความหอมอโรมาหายไป หรือหอมไม่นาน และมีบางส่วนหันมาปลูกข้าวที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเวลาเพียง 75-80 วัน จากปกติที่ต้องปลูก 120 วัน ซึ่งเป็นข้าวที่ไว้ปลูกหนีน้ำ และมีคุณภาพต่ำกว่าปกติแทน เพราะจะได้รอบมากขึ้น

     ขณะที่  ข้อมูลงานวิจัย “การคอร์รัปชั่น : กรณีศึกษาโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด”  โดย รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณของสถาบันวิจัยเพื่อ. การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และคณะ  มีรายละเอียดบางช่วงตอนระบุว่า   “  ตลอดระยะเวลาในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลมักกล่าวเสมอว่า ผลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่าเมื่อแลกกับความอยู่ดีกินดี และผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับ

 

    ตามผลการวิจัยพบว่าประโยชน์ส่วนเกินที่ชาวนาได้รับจากการขายข้าวให้รัฐบาล และประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการซื้อข้าวในราคาถูก อันเป็นผลจากการแทรกแซงตลาดของรัฐบาล มีมูลค่า 572,654.67 ล้านบาท

 

    ด้านมูลค่าความเสียหายคำนวณจาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการผลิตมากเกินไป ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการที่รัฐแทรกแซงตลาดและจำกัดการค้า ค่าเสื่อมราคาข้าวในสต๊อก และรายจ่ายในการดำเนินการ สูงถึง 1,017,896.01 ล้านบาท ทำให้เมื่อนำไปหักกับรายรับที่ได้ในโครงการ และผลประโยชน์ส่วนเกินข้างต้นแล้ว มูลค่าความเสียหายที่เป็นภาระให้สังคมต้องรับผิดชอบยังมีมูลค่าสูงถึง 237,676.29 ล้านบาท

 

อวยกันสุดๆ # ทุนสามานย์ !!!  ผู้บริหารซีพีฯโดดเป็นพยานป้องยิ่งลักษณ์  ชม"จำนำข้าว"ทำชีวิตชาวนาดีขึ้น-ข้าวไทยราคาสูง #งานนี้ไม่จบง่ายๆ??

 

         ขณะที่ชาวนาส่วนใหญ่ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวนี้ล้วนเป็นชาวนาระดับกลาง และชาวนารายใหญ่ ที่สามารถลงทุนปลูกข้าวได้หลายครั้ง ส่วนชาวนารายเล็กที่เป็นผู้ประสบปัญหาที่แท้จริงกลับไม่ได้ผลประโยชน์จากโครงการเท่าที่ควร

 

นอกจากมูลค่าความเสียหายส่วนเกินที่สังคมต้องแบกรับ ยังมีมูลค่าการทุจริตที่เมื่อรวมมูลค่าในระดับกลางน้ำบางส่วนเข้ามาทำให้ในส่วนนี้มีความเสียหายสูงถึง สูงถึง 112,544.19 -114,628.21 ล้านบาท”