ติดตามรายละเอียด : http://www.tnews.co.th

คลิกเพื่อชมคลิป...

ติดตามกันต่อเนื่อง กับกรณี 2 คดีใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 25   สิงหาคม  2560   จากมูลฐานเริ่มต้นคดีหมายเลขดำที่ อม.25/2558  กรณี  นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ กับ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์  และพวก รวม 28 ราย ตกเป็นจำเลยในความผิดตาม  พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 9, 10, 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่รัฐ, ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต สร้างความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 123 และ 123/1

 

จากนั้นก็เป็นกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร   อดีตนายกรัฐมนตรี  เป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำ อม. 22/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่ง หรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่ง หรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท

 

นับถอยหลัง..ลุ้นระทึกใจ!! เปิดคลิปสัมภาษณ์ "ร.ต.อ.เฉลิม" แล้วถามกันตรง ๆ  ทำไม "ยิ่งลักษณ์" ไม่รู้เลยว่ามี1-2รมต.เสี่ยงทำผิด..??(มีคลิป)

อย่างไรก็ตามทั้ง 2 กรณีนี้ถูกจับตายิ่งว่าเป็นเหตุเป็นผลที่เชื่อมโยงกันโดยตรง  ในแง่มุมว่าต้องเฝ้าคำวินิจฉัยของศาลฎีกาฯว่ามูลฐานคำฟ้องเพียงพอให้เชื่อได้ว่าการขายข้าวในระบบจีทูจีที่นายบุญทรง และคณะรับผิดชอบนั้นมีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่  ??   ขณะเดียวกันหากเกิดกรณีทุจริตแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์จำเป็นต้องรับผิดชอบหรือไม่ ?

 

 

นับถอยหลัง..ลุ้นระทึกใจ!! เปิดคลิปสัมภาษณ์ "ร.ต.อ.เฉลิม" แล้วถามกันตรง ๆ  ทำไม "ยิ่งลักษณ์" ไม่รู้เลยว่ามี1-2รมต.เสี่ยงทำผิด..??(มีคลิป)

 

ขณะที่จากการตรวจค้นจากคำแถลงปิดคดีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะจำเลยคดี   ระบุความตอนหนึ่งว่า   “ ดิฉันไม่ได้เพิกเฉย ละเลย และไม่มีอำนาจระงับยับยั้งโครงการตามอำเภอใจ กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการบริหารนโยบายรับจำนำข้าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี

 

การดำเนินโครงการเมื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายไม่อาจดำเนินการหรือสั่งการได้โดยลำพัง  จึงได้กำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการเพื่อ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ เพราะการดำเนินโครงการ มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ จำนวนมาก อีกทั้งเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบที่มีอยู่หลายฉบับ ที่ดิฉันเองในฐานะนายกรัฐมนตรีไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้โดยลำพัง

 

นับถอยหลัง..ลุ้นระทึกใจ!! เปิดคลิปสัมภาษณ์ "ร.ต.อ.เฉลิม" แล้วถามกันตรง ๆ  ทำไม "ยิ่งลักษณ์" ไม่รู้เลยว่ามี1-2รมต.เสี่ยงทำผิด..??(มีคลิป)

 

ดิฉันได้แสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งด้วยการกำหนดให้มีแนวทางในการป้องกันการทุจริต และป้องกันความเสียหายที่ดิฉันได้ให้นโยบายและสั่งการในที่ประชุม กขช. ครั้งแรก   ก่อนเริ่มดำเนินโครงการให้กับคณะทำงานและฝ่ายปฏิบัติว่า “ให้เคร่งครัดในเรื่องกระบวนการของข้าวให้เกิดความสุจริต  โปร่งใส  และสั่งการให้มีการบูรณาการและปรับปรุงระบบกระบวนการรับจำนำข้าวให้เกิดความสุจริตและโปร่งใส นำความชอบธรรมและความชัดเจนกับทุกหน่วยงาน และเน้นย้ำว่าการดำเนินงานในส่วนที่ผ่านมามีสิ่งใดคงค้างให้นำมาปรับปรุงและแก้ไขให้เสร็จสิ้น ให้มีการดูแลในเรื่องการทุจริตไม่ให้เกิดขึ้น”  ซึ่งศาลที่เคารพสามารถตรวจสอบได้จากรายงานการประชุม กขช. ครั้งที่ 1/2554

 

ดิฉันในฐานะประธาน กขช. ไม่ได้ละเลยและไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะดิฉันได้มอบหมายให้บุคคลระดับรองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นประธานในการประชุม กขช. แต่ละครั้ง  เพราะจะใกล้ชิดติดตามงานได้ดีกว่าดิฉันที่มีภารกิจอีกมากมาย  หากมีประเด็นพิจารณาใดย่อมเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่จะมารายงานต่อคณะรัฐมนตรีและดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 

 

ดิฉันขอกราบเรียนว่า ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบร่วมกัน แต่โจทก์เข้าใจผิดว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจเต็มในมือคนๆ เดียว และจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ ดิฉันขอเรียนว่า  แม้ดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ในการปฏิบัติงาน  กระทรวงและส่วนราชการที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการ กขช. และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายของแต่ละฝ่ายกำกับไว้อยู่แล้วดิฉันจึงไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจ และไม่อาจกระทำการใด ๆ ที่จะไปล้วงลูกสั่งการ หรือชี้นำในระดับปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใด…” 

 

นับถอยหลัง..ลุ้นระทึกใจ!! เปิดคลิปสัมภาษณ์ "ร.ต.อ.เฉลิม" แล้วถามกันตรง ๆ  ทำไม "ยิ่งลักษณ์" ไม่รู้เลยว่ามี1-2รมต.เสี่ยงทำผิด..??(มีคลิป)

 

บทสรุปท้ายสุด  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ในกล่าวบางช่วงบางตอนว่า “ตลอดระยะเวลาที่ดิฉันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดิฉันไม่ได้ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่เคยกระทำการใด ๆ ที่ปล่อยปละละเลย และปกปิดข้อมูล หรือหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ ให้ความร่วมมือกับทุกองค์กร แม้กระทั่ง ป.ป.ช. ดิฉันไม่มีเจตนาพิเศษ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลใด และไม่มีเจตนาทุจริตค่ะ 

 

ดิฉันใคร่ขอความเป็นธรรมว่า การที่จะพิจารณาว่าดิฉันได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่นั้น ควรพิจารณาจากปัจจัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโครงสร้างการทำงาน รวมทั้งความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาและสถานการณ์ที่ดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรี ...”

 

นับถอยหลัง..ลุ้นระทึกใจ!! เปิดคลิปสัมภาษณ์ "ร.ต.อ.เฉลิม" แล้วถามกันตรง ๆ  ทำไม "ยิ่งลักษณ์" ไม่รู้เลยว่ามี1-2รมต.เสี่ยงทำผิด..??(มีคลิป)

 

 

จากข้อมูลทั้งหมดทีนี้มาพิจารณาในเชิงหลักการเพิ่มเติม  โดยก่อนหน้านี้  “สำนักข่าวทีนิวส์” เคยนำเสนอประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการทำหน้าที่ปปช. ในเชิงตั้งคำถามว่าจริงหรือไม่ ปปช.เร่งรัดคดีรับจำนำข้าว  ภายใต้ประจักษ์พยานหลักฐานหลายแง่มุม  เป็นที่รับรู้ทั่วไปในมุมมองสาธารณะ  เพราะมีข้อเท็จจริงว่าเรื่องนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้เริ่มต้นดำเนินการยื่นเรื่องต่อปปช.ตั้งแต่ปลายปี  2555  แล้ว และมีขั้นตอนกระบวนการพิจารณามาเป็นลำดับ  

 

 

ส่วนการพิจารณาว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์จะเข้าข่ายความผิดตามคำฟ้องหรือไม่  อย่างไร  ต้องย้ำว่าสุดท้ายต้องถือเอาดุลยพินิจขององค์คณะศาลฎีกาฯเป็นสำคัญ ว่ารายละเอียดคำฟ้องของอัยการสูงสุดจะสามารถรับฟังได้หรือไม่ หรือมีข้อเท็จจริงควรพิจารณาอย่างไร  ??

 

ขณะที่อีกแง่มุมหนึ่งควรพิจารณาประกอบกันว่า    น.ส.ยิ่งลักษณ์   ได้แถลงนโยบายรัฐบาล ไว้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554  ระบุชัดเจนว่าเรื่องการประกาศรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ  ถูกกำหนดไว้ในข้อที่ 1.11 เรื่องการยกระดับสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

 

โดยสาระสำคัญที่น.ส.ยิ่งลักษณ์แถลงต่อสภาฯ อันเป็นสภาวะที่ต้องรับผิดชอบ  ก็คือ  “รัฐบาลจะดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก   ...   และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร  เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ   ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ  15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ ...   ”

 

และจากนโบายรับจำนำข้าาว  ก็นำมาสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ  ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 153/2554  ลงวันที่ 8 กันยายน  2554 โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์   พร้อมปรากฏรายชื่อผู้เกี่ยวข้องถึง  24 คน  โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์  ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ   รองนายกรัฐมนตรี   และรัฐมนตรีว่าการกระทวงพาณิชย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง    เป็นรองประธาน   ฯลฯ

 

ถามว่าคณะกรรมการ กขช. มีอำนาจหน้าที่อะไร  พบว่า กขช.  มีหน้าที่เสนอกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวต่อครม.ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว   เพื่อให้การจัดการข้าวสอดคล้องกันทั้งระบบและมีการพัฒนาต่อเนื่อง   รวมถึงติดตาม  กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย   มาตรการ   โครงการที่อนุมัติ  และดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและครม.มอบหมาย

 

ดังนั้นในจุดนี้แม้จะมีคำอธิบายจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าในฐานะนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบ  หรือสั่งการนโยบายเพียงบุคคลเดียว  แต่โดยนัยสำคัญของการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว  ตัวบุคคลอย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์  ทั้งสถานะนายกรัฐมนตรีและประธานกขช.   ย่อมต้องถือว่ามีส่วนสำคัญสูงสุดในฐานะผู้รับผิดชอบการดำเนินนโยบายหรือไม่ อย่างไร   ด้วยเนื่องจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ยืนยันเองว่าคณะรัฐมนตรีทั้งหมดเป็นผู้พิจารณาด้วยตัวเอง และนโยบายรับจำนำข้าวก็มีจุดเริ่มต้นจากคนใกล้ชิด น.ส.ยิ่งลักษณ์  ...

 

 

ประเด็นนี้สำคัญ  เพราะสามารถตรวจสอบพบว่า  ในวันที่  12 พ.ย. 2556   ร.ต.อ.เฉลิม   อยู่บำรุง   ในฐานะรมว.ยุติธรรมในขณะนั้น   และนั่งอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี  รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์มานานกว่า  2 ปี   นับจากวันแรกที่เข้าบริหารประเทศ   ได้เคยแสดงมุมมองต่อกรณีครหาเรื่องโครงการรับจำนำข้าว  ซึ่งถูกพรรคประชาธิปัตย์นำเข้าร้องต่อปปช. ผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน  ด้วยความรู้สึกส่วนตัว  ว่า  “กรณีนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์   ไม่เกี่ยวข้อง   แต่ยอมรับว่ามี 1-2 รัฐมนตรีที่น่าเป็นห่วงในพฤติกรรมจากการตรวจสอบของปปช.” (คลิกชมเสียงสัมภาษณ์ ร.ต.อ.เฉลิม)

 

และจากมุมมองของ  ร.ต.อ.เฉลิม  นี้เองย่อมทำให้เป็นข้อพิจารณาว่า  ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวตลอด 2 ปีที่ผ่านมา  ทำไมร.ต.อ.เฉลิมถึงยอมรับว่าโดยส่วนตัวมีความเป็นห่วง ผลการปฏิบัติงานรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ   และแม้ว่าจะมั่นใจว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่เกี่ยวข้อง  แต่ทำให้เกิดข้อพิจารณาตามมาทันทีว่ากรณีนี้   น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานกขช.  จะไม่ระแคะระคายข้อบ่งชี้ที่เกี่ยวโยงกับพฤติการณ์รัฐมนตรี เฉกเช่นที่ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวถึงเลยแม้แต่น้อยเลยเชียวหรือ    จึงไม่มีการดำเนินการในเชิงกฎหมาย หรือสอบสวนข้อเท็จจริงกับผู้เกี่ยวข้อง    

 

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลผู้รับผิดชอบเท่านั้น  ภายหลังสถานการณ์ทุกอย่างสุกงอม   กลายเป็นวิกฤตย้อนกลับมาสร้างความวุ่นวายให้กับน.ส.ยิ่งลักษณ์และคณะรัฐบาลในเวลาต่อมา .. และคำตอบจากคำวินิจฉัยขององค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า   ย่อมจะถือเป็นที่สุดในการทำให้ทุกข้อสงสัยเช่นนี้หมดสิ้นไปสักที ??

 

ขอบคุณคลิป : ยิ่งลักษณ์ แฟนคลับ