- 17 ม.ค. 2561
*ตัวอีหยังวะ!!! "อิน บูโดกัน" ตกใจหนักมาก! เจอหมึกพ่นใส่สุดพลัง!!! (คลิป)
สวีทหวานน้ำตาลท่วมไอจี สำหรับ นักร้องในตำนานอย่าง "อิน อินทิรา ยืนยง" หรือที่รู้จัก "อิน บูโดกัน" ที่ควงสามีไปเที่ยว เกาะไก่ ทะเลแหวก จังหวัด กระบี่ ก็ไม่วายอวดภาพสุดหวานมาให้บรรดาแฟนคลับได้กดไลน์ และชื่มชมกันรัวๆ
แต่ล่าสุดทำเอาแฟนคลับหลายคนตกอกกตใจกับใบหน้าที่ดูตกใจของสาวอิน เมื่อเจ้าตัวดันถือว่าปลาหมึกแต่ดันโดนปลาหมึกพ่นใส่เต็มๆ พร้อมโพสต์รูปด้วยข้อความระบุว่า "พ่นหมึกใส่กรูทำไม :กูอิน" งานนี้บรรดาแฟนคลับก็ต่างคอมเม้นต์แซวว่า หน้าตาสาวอินดูฟิวริ่งมาเต็ม ได้อารมณ์มาก
อย่างไรก็ตามบริเวณปากของหมึกจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สามารถบีบตัวได้จำนวน 1 คู่ (sphincter) ขณะที่หมึกพ่นน้ำหมึกออกจากทวารหนัก อวัยวะ sphincter จะบีบรัดน้ำหมึกเข้าสู่ลำไส้ และพ่นออกมาผ่านทางช่องทวารหนัก น้ำหมึกเป็นสารชีวโมเลกุลที่ประกอบด้วยเม็ดสีเมลานิน (malanin) และไทโรซีน (tyrosine) สำหรับปลาหมึกชนิด sepia จะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยน ไทโรซีน (tyrosine) ไปเป็นเมลานิน (malanin)ได้ กระบวนการเปลี่ยนสารไทโรซีน (tyrosine) ไปเป็นเมลานิน (malanin) จะทำให้เกิดสาร 5,6-indolquinone ผสมอยู่ในน้ำหมึก
ซึ่งสารนี้สามารถออกฤทธิ์ทำให้ประสาทรับสัมผัสกลิ่นของศัตรูชาไปได้ชั่วขณะ และมีฤทธิ์ทำให้ตาของศัตรูเกิดการระคายเคืองด้วย ถือเป็นสารที่มีประโยชน์ของปลาหมึกสำหรับการไล่ การอำพราง และการหลบหนีศัตรูของปลาหมึก น้ำหมึกของปลากหมึกจัดเป็นสารย้อมผ้าที่มีความคงทนต่อกาล้างออกมาก หากมีการเปื้อนผ้าหรือไม้จะล้างออกได้ยาก ซึ่งในอดีตมีการนำน้ำหมึกมาใช้ประโยชน์เป็นสีวาดภาพ
ที่มา : ปศุสัตว์.คอม
ภาพ : inbudokan