- 01 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
ในขณะที่บ้านเมืองกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ดี ทั้งการวางรากฐานเศรษฐกิจ ไทยสู่ยุคดิจิทัล ทั้งความพร้อมในการรองรับการลงทุนในอนาคต และเป็นศูนย์กลางในอาเซียน อีกทั้งการเดินหน้าปราบปรามขบวนการการทุจริต ที่ยั่งรากลึกในสังคม ไม่ว่าจะแวดวงข้าราชการ หรือ แม้แต่วงการสงฆ์ ชนิดที่ว่าไม่เคยมีใคร หรือ รัฐบาลไหนกล้าทำมาก่อน!!
โดยเฉพาะการเกินสู่การเป็นประชาธิไตยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ตามระยะโรมแม๊พที่ได้วางไว้
แต่อีกด้านก็ยังมีความพยายามจากกลุ่มคนบางที่ยังไม่แน่ใจในเจตนาชัดเจนหวังดีต่อชาติจริงหรือไม่ ทั้งกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรียกร้อง อยากเลือกตั้ง หรือแม้แต่การแต่การที่นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้ขึ้นพูดบนเวทีการประชุมนานาชาติว่าด้วยเสรีภาพ ครั้งที่ 10 จัดขึ้นที่กรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 28-30 พ.ค. โดยองค์กร 'ออสโล ฟรีดอม ฟอรัม' (OFF) ในฐานะนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิและเสรีภาพคนหนึ่งของประเทศไทย
นายเนติวิทย์ได้พูดถึงบทบาทของกลุ่มนักกิจกรรมที่เป็นนิสิตนักศึกษาและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อปี 2557
ช่วงหนึ่งนายเนติวิทย์ เจ้าของแนวคิดต้านการหมอบกราบหยิบยกภาพเหตุการณ์ถวายสัตย์ปฏิญาณของนิสิตชั้นปีที่หนึ่งเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า
“ผมได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมและเพื่อนร่วมสภาได้ตัดสินใจเดินออกจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตใหม่แรกเข้า ซึ่งนักศึกษาปี 1 ต้องหมอบกราบต่อหน้าพระรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผมเลือกที่จะยืนขึ้นแทน เพื่อรำลึกถึงพระดำริของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่ทรงประกาศเลิกทาส
สิ่งที่ผมและเพื่อนทำลงไปกลายเป็นประเด็นถกเถียงในวงวิชาการ และอาจารย์จำนวนหนึ่งกล่าวหาว่าผมแสดงอาการก้าวร้าวแข็งข้อ และพยายามจัดฉาก และศิษย์เก่าหลายคนเรียกร้องให้ไล่ผมออก รวมถึงปลดผมออกจากการเป็นประธานสภานิสิต เช่นเดียวกับเพื่อนนิสิตคนอื่นๆ ที่เลือกจะยืน ถูกตัดคะแนนประพฤติทั้งหมด”
นี่คือคำพูดของนายเนติวิทย์ ที่พูดในลักษณะเอาดีเข้าตัว ..จงใจใส่ร้ายประเทศและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บิดเบือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นใช่หรือไม่ เพราะการพูดเพียงด้านเดียวของนายเนติวิทย์ บิดเบือนคำโตและไม่ได้พูดความจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์เกี่ยวกับความเป็นอนุรักษ์นิยมของมหาวิทยาลัย พร้อมคำวิจารณ์ว่าจุฬาฯ ไม่ได้เปิดกว้างสำหรับความคิดที่แตกต่าง ทางจุฬาฯ ได้ย้มาโดยตลอดำว่ามหาวิทยาลัยเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างและพร้อมรับความแตกต่างนั้น พิธีการทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยเป็นกิจกรรมที่นิสิตเข้าร่วมโดยสมัครใจและมีสิทธิที่จะไม่เข้าร่วม
โดยไม่มีผลเสียใดๆต่อตัวนิสิต แนวปฏิบัตินี้ใช้กับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 สำหรับนิสิตชั้นปีที่หนึ่งทุกคน เพื่อแสดงความเคารพและปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าในฐานะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยด้วย
นอกจากนี้ “การถวายบังคม” ยังเป็นรูปแบบการแสดงความเคารพที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องสำหรับพิธีถวายสัตย์ฯต่อพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล โดยในปีนี้ ทางผู้จัดได้มีการกำหนดพื้นที่ในการแสดงความเคารพด้วยวิธีอื่น
เช่น การถวายคำนับ สำหรับนิสิตที่มีข้อจำกัดด้านสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการคุกเข่าและถวายบังคม และสำหรับนิสิตที่มีความเชื่อทางศาสนา ทัศนคติทางการเมือง และอุดมการณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับวิถีปฏิบัตินี้ ทั้งนี้ นิสิตที่เข้าร่วมพิธีในวันนั้นได้รับทราบถึงพื้นที่ที่ว่านี้อย่างทั่วถึง
การกระทำของกลุ่มของนายเนติวิทย์ในวันนั้นจึงนำมาสู่การที่มหาวิทยาลัย ตัดสินใจลงโทษทางวินัย ซึ่งกลุ่มของนายเนติวิทย์ต่างก็ตระหนักดีว่า มีพื้นที่เฉพาะที่จัดไว้แล้ว
ชัดเจนว่า กลุ่มของนายเนติวิทย์เลือกที่จะก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อยในพิธีการโดยการเดินออกไปจากแถวที่จัดไว้สำหรับนายเนติวิยท์ในฐานะสมาชิกสภานิสิตจุฬาฯ และแสดง “พฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์” โดยการยืนโค้งคำนับ ในขณะที่นิสิตคนอื่น ๆ นับพันคนถวายบังคมอย่างพร้อมเพรียงเป็นระเบียบ
จากเหตุการณ์ถวายสัตย์ ในวันนั้น จนกระทั้งการพูดบนเวทีที่นอร์เวย์ในครั้งนี้ จึงเป็นแผนการที่ "เนติวิทย์" ตั้งใจก่อให้เกิดขึ้นเพื่อกระพือสถานการณ์ และการกระทำเยี่ยงคนสับปลับเช่นนี้...ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อสังคม...เพราะเขาเริ่มต้นด้วยการ...สู้ด้วยความเท็จแบบคนอสัตย์