- 21 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
เปิดคลิปสุดน่ารัก โพสต์โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่ง เป็นเหตุการณ์ขณะที่มีเด็กนักเรียนชายกลุ่มหนึ่งกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อไปโรงเรียนเเต่ไม่ได้สวมหมวกกันน็อคไปด้วย เจอด่านเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกจอดทันที ถูกจับปรับเเต่ค่าปรับไม่ใช่ให้เสียเงินเเต่เป็นการวิดพื้นเเทนการเสียค่าปรับเเทน
เพราะนี่ถือเป็นความผิดครั้งเเรกให้อภัยได้ ประชาชนขับรถผ่านไปมาเห็นถึงกับต้องอดยิ้มไม่ได้ เพราะพี่ตำรวจมีน้ำใจต่อเด็กๆโดยไม่เอาค่าปรับเป็นเงินเเต่ใช้กำลังเเรงกายเสียค่าปรับเเทน (ชมคลิป)
“ กฎหมายหมวกกันน็อค”
กฎหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ
1. บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้าม ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่รถจักรยานยนต์
ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกกันน็อค ห้ามขับขี่รถในขณะเมาสุรา เป็นต้น
2. บังคับให้กระทำ เช่น ต้อง ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกกันน็อค เป็นต้น
กรณี “ ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับรถจักรยานยนต์ ”
คำนิยาม ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
“ ผู้ขับขี่ ” หมายความว่า ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง
ผู้ลากเข็นยานพาหนะ
“ รถจักรยานยนต์ ” หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และ
มีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ
“ เจ้าพนักงานจราจร” หมายความว่า ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็น
เจ้าพนักงานจราจร
“ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร
กฎหมายจราจรทางบก กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้โดยสารฯต้องสวมหมวกนิรภัย
เพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนต์ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ดังนี้
1) ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกกันน็อค (มาตรา ๑๒๒ วรรค ๑) ระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
2) ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยมีผู้โดยสารนั่งซ้อนท้าย หาก ผู้โดยสารไม่ได้สวมหมวกกันน็อค
(มาตรา ๑๒๒ วรรค ๒) ระวางโทษปรับเป็น ๒ เท่า (ไม่เกิน ๕๐๐x๒) กรณีรถจักรยานยนต์รับจ้างก็เข้า
ข่ายความผิดนี้ หากฝ่าฝืน ปรับผู้ขับขี่ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
3) สวมหมวกกันน็อค แต่ ลักษณะ และวิธีการใช้หมวกกันน็อคไม่ถูกต้อง (มาตรา ๑๒๒ วรรค ๓) ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ (เช่น รูปแบบหมวกต้องได้มาตรฐาน บังลมต้องโปร่งใส +ไม่มีสี ต้องคาดสาย+เข็มขัดรัดคาง เป็นต้น) หากฝ่าฝืนระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
ดังนั้น เราควรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายไว้ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงอันอาจนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิต+ทรัพย์สิน ทั้งเพื่อความสบายใจไม่ต้องเสียเงินค่าปรับโดยไม่จำเป็น
หลักกฎหมาย พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๑๒๒ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้น
โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนต์
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย
ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้
ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๔๒ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
(๒) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ
มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ... มาตรา ๑๒๒ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม มาตรา ... ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ถ้าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
หมวกนิรภัย หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
1) หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
2) หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง และด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
3) หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
หมวกนิรภัยให้ใช้ได้ 3 แบบ คือ หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า แบบเต็มใบ และแบบครึ่งใบ
กรณีที่มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับหมวกนิรภัยแบบใดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว หมวกนิรภัยที่จะใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน….
ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่และคนโดยสารฯ จะต้องรัดคางด้วยสายรัดคาง หรือเข็มขัดรัดคาง
ขอบคุณข้อมูลกฎหมาย ศิริพงษ์ สุภิมารส