ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ "ปลาบึกขนาดยักษ์"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

ใหญ่โตมหึมาสุดๆ ปลาบึกตัวยักษ์

 คลิปการจับปลาบึกตัวยักษ์ใหญ่กว่า 100กิโลกรัม ที่มีการเเชร์ในโลกออนไลน์ ชั่วข้ามคืนไปกว่า 1.7 พันเเชร์ กับการที่ชายคนหนึ่ง จับได้ในเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา  โดยมีผู้คนในโลกออนไลน์ ต่างตื่นตะลึงกับความมโหฬารของเจ้าปลาบึก อย่างไรก็ตาม ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา เกี่ยวกับการที่ กว่าปลาจะตัวใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลานานหลายปี ควรอนุรักษ์ไว้เป็นพ่อพันธุ์ เเม่พันธุ์ มากกว่า ควรจะปล่อยมันกลับคืนสู่ธรรมชาติ

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ค..ลิ้ง ทิศอาจ.. ได้โพสต์คลิปเเละภาพของปลาบึกตัวยักษ์ ที่จับได้ในเขื่อนลำตะคอง

.

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 


   ปลาบึก  เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน, ลาว, พม่า, ไทย เรื่อยมาตลอดความยาวของแม่น้ำรวมไปถึงแควสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำงึม, แม่น้ำมูล, แม่น้ำสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของแม่น้ำโขงที่เป็นน้ำกร่อย ซึ่งเป็นจุดที่ไหลออกทะเลจีนใต้ เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก และติดอยู่ในบัญชี ไซเตส กลุ่ม 1 ชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าท้ายบัญชีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

ปลาบึกถือเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Pangasianodon (บางข้อมูลจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุลนี้) ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150–200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี เนื้อปลาบึกมีราคาซื้อขายที่แพงเนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ได้มีการเพาะเลี้ยง จึงไม่สามารถกำหนดขนาดของปลาได้ และได้มาจากการจับในฤดูกาลเท่านั้น ปลาบึกมีความเชื่อว่า เมื่อได้รับประทานแล้วจะมีอายุยืนยาว เนื้อของปลาบึกจะมีลักษณะคล้ายกับหมูสามชั้น มีชั้นของหนัง, ไขมัน และเนื้อ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

 

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

  ปลาบึกได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งแม่น้ำโขง" และมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช" ขณะที่ชาวจีนจะเรียกว่า "ปลาขงเบ้ง"เนื่องจากมีปรัมปราเล่าว่า ขงเบ้งเมื่อครั้งยกทัพมาทำศึกในภาคใต้ของจีนนั้นได้เกิดเสบียงอาหารขาดแคลน จึงอธิษฐานแล้วโยนกุนเชียงลงในน้ำกลายเป็นปลาขนาดใหญ่เพื่อเป็นเสบียงของกองทัพ คือ ปลาบึก

ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

     โดย ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมได้ทั้งในบ่อดินและปัจจุบันสามารถเพาะได้ในบ่อปูนซีเมนต์ได้ด้วย โดยได้ลูกปลาออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา, เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นต้นโดยมีการกำหนดให้จับได้เป็นช่วงระยะเวลาและปริมาณที่ชัดเจน เช่น ที่เขื่อนแก่งกระจานมีการปล่อยปลาบึกลงไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 มีกำหนดในช่วงปลายปีถึงต้นปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว ที่น้ำจะมีอุณหภูมิเย็น ปลาบึกจะลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อเล่นน้ำ ทำให้จับได้ง่าย+

 

   ใหญ่โตมหึมา เเชร์สนั่นโลกออนไลน์ \"ปลาบึกขนาดยักษ์\"ตัวเขื่อง กว่า100กก. จับได้จากเขื่อนลำตะคอง  (คลิป)

 

ขอบคุณ

ลิ้ง ทิศอาจ