กรมอนามัยเผย "10 ปลาไทย" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

กรมอนามัยเผย "10 ปลาไทย" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

โอเมก้า 3 (Omega 3) คือ กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย จัดเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารอื่น ๆ เช่น ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

 

กรดไขมันโอเมกา 3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น  ช่วยบำรุงร่างกายในหลายๆ ด้าน ทั้งหัวใจ สมอง ผิวพรรณ ลดคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชนิด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ปลาไทยของเรานี่แหละ มีโอเมก้า 3 สูงไม่แพ้ปลาจากต่างประเทศเลยทีเดียว จะมีปลาชนิดไหนบ้างมาดูกันเลย

 

ปลาทะเล

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

1. ปลาจะละเม็ดขาว

ปลาจะละเม็ดมีลักษณะรูปร่างป้อมสั้น เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลำตัวแบนข้างมาก ตาค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและเฉียงขึ้น พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และบริเวณหมู่เกาะอ่างทองมีอยู่ชุกชุม รวมถึงฝั่งทะเลอันดามัน นิยมนำไปนึ่ง หรือทอด เช่น นึ่งบ๊วย นึ่งซีอิ๊ว

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

2. ปลาสำลี

ปลาสำลี ไม่มีเกล็ดแข็งบนเส้นข้างตัวตอนปลาย ลำตัวค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมน สีหลังสีเทาอมน้ำตาล สีข้างและท้อง เป็นสีเทาจางลงมาเรื่อย ๆ บริเวณสันท้องจะเป็นสีขาว ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 70 เซนติเมตร และน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม นิยมนำไปทอด ทำปลาสามรส นึ่งสำลี หรือเผาแล้วทานกับน้ำจิ้มซีฟู้ด

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

3. ปลากะพงขาว

ปลากะพงขาวสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำกร่อย มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร นิยมนำไปทำอาหารได้หลากหลาย ต้ม ผัด แกง ทอด นึ่ง
 

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

4. ปลาทู

ปลาทูมีลำตัวแป้นยาวเพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีความยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร ทำอาหารได้ทั้งนึ่ง ทอด ต้มยำ หรือทำน้ำพริกปลาทู โดยใช้เนื้อปลาทูโขลกผสมรวมกับกะปิ และบ้านเรามีขายทั้งปลาทูนึ่งใส่เข่ง และปลาทูสด

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

5. ปลาเก๋า

ปลาเก๋าเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ ร่างยาวอ้วนป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด สามารถนำมาทำเมนูได้หลากหลาย ทั้งสามรส นึ่งซีอิ๊ว ผัดฉ่า ราดพริก และลวกจิ้ม

 

ปลาน้ำจืด

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

6. ปลาดุก

ปลาดุกเป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว นิยมนำไปทอดกรอบ ผัดฉ่า เมนูที่มีรสชาติร้อนแรงเพื่อกลบความคาว ที่นิยมกันมากก็น่าจะเป็น ยำปลาดุกฟู นั่นเอง

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

7. ปลาสวาย

ปลาสวายมีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้น ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาสวายอาจจะคาวได้ ดังนั้นวิธีที่นิยมนำมาปรุงอาหารจึงเป็นการทอดกระเทียม หรือนำไปทอดแล้วค่อยราดน้ำยำมะม่วงสับ

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

8. ปลาช่อน

ปลาช่อนน่าจะเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยเป็นอย่างมาก มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน นิยมนำไปใส่ในแกงส้ม ปลาช่อนลุยสวน หรือต้มยำ

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

9. ปลานิล

ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี ทำได้หลายอย่างทั้งทอด สามรส ราดพริก นึ่งซีอิ๊ว หรือนึ่งมะนาว

 

กรมอนามัยเผย \"10 ปลาไทย\" มีโอเมก้า 3 สูงปรี๊ด ไม่แพ้ปลาราคาแพง

10. ปลากราย

มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในวัยอ่อนจะมีสายเหมือนเสือ และจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาเงินเมื่อโตขึ้น ที่เราได้ยินบ่อยๆ คงจะเป็นลูกชิ้นปลากราย ทอดมันปลากราย หรือผัดเผ็ดปลากราย

 

 

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,Wikipedia , sanook