ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

นับเป็นอาการที่ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคนต่างต้องสังเกตให้มากกับอาการรกเกาะต่ำของทารก ที่นักแสดงสาว เอมมี่  มรกต ต้องเผชิญจากการตั้งครรภ์ลูกคนแรก โดยเรื่องนี้ถือเป็นต้นเหตุให้เธอไม่ได้เจอลูกหลังคลอดหรือกอดลูกเพราะต้องนำทารกไปอยู่ในตู้อบทันที โดยกำหนดคลอดของลูกเอมมี่

  นับเป็นอาการที่ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคนต่างต้องสังเกตให้มากกับอาการรกเกาะต่ำของทารก ที่นักแสดงสาว เอมมี่  มรกต ต้องเผชิญจากการตั้งครรภ์ลูกคนแรก โดยเรื่องนี้ถือเป็นต้นเหตุให้เธอไม่ได้เจอลูกหลังคลอดหรือกอดลูกเพราะต้องนำทารกไปอยู่ในตู้อบทันที โดยกำหนดคลอดของลูกเอมมี่ อยู่ในสัปดาห์ที่ 38 โดยประมาณ ซึ่งตลอดเวลาแพทย์ที่ทำคลอดของ เอมมี่ จะเน้นย้ำอยู่เสมอว่าให้เธอนั้นระวังตัวเพราะทารกสามารถคลอดออกมาในเวลาไหนก็ได้หลัง 35 สัปดาห์ และหากคลอดก่อนกำหนด เอมมี่ จะเสียเลือดเยอะกว่าปกติมาก ทั้งยังเป็นอันตรายถึงขั้นต้องตัดมดลูกทิ้ง

ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

 

      โดยน้ำหนักตัวลูกชาย เอมมี่ หลังผ่าคลอด อยู่ที่  2,440 กรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับทารกแรกคลอดปกติ ทำให้ต้องอยู่ในตู้อบ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดหรือหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤตและล่าสุด เอมมี่ ได้โพสต์ภาพลูกชายครั้งแรกในไอจี พร้อมกับข้อความว่า "กอดแรก #สู้ไปด้วยกันนะคับลูก #SonOfSirJamesPlace #SirJamesPlace" จากนั้นก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น ขอให้ทั้งคุณลูกและคุณแม่เอมมี่ ปลอดภัยแข็งแรงไวๆ

 

ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

   สำหรับอาการรกเกาะต่ำ นั้นหลายคนคงสงสัยว่ารุนแรงเพียงใดและหากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างถูกต้องจะเป็นเช่นไรวันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านได้ไปล้วงลึกถึงอาการรกเกาะต่ำกัน คือ ภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้วรกไม่ได้เกาะอยู่ในจุดที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วรกจะเกาะยึดอยู่ตรงส่วนด้านบนของมดลูก แต่ภาวะรกเกาะต่ำ คือจะเกาะลงมาอยู่ทางด้านล่างของมดลูก หรือครอบคลุมมาถึงปากมดลูกสาเหตุที่เกิดภาวะรกเกาะต่ำนี้เกิดจากบริเวณที่รกเกาะปกติมีความไม่เหมาะสม จึงส่งผลให้ตัวรกเลือกเกาะในบริเวณอื่น

ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

 

      อนึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถ้ามีอาการรกเกาะต่ำลงมาถึงบริเวณด้านล่างของมดลูก แล้วกล้ามเนื้อตรงมดลูกมีการบีบตัวจะทำให้มดลูกด้านล่างหดและยืดได้ด้วย รกตรงส่วนนั้นก็จะฉีกขาดง่ายจึงทำให้คุณแม่มีเลือดออกตรงช่องคลอดง่ายกว่าคุณแม่ที่รกเกาะอยู่ในจุดที่เหมาะสม

       ในส่วนของอันตรายที่จะเกิดกับคุณแม่ที่ รกเกาะต่ำ คือ มีเลือดออกทางช่องคลอดก่อนถึงกำหนดคลอด ส่วนมากจะเป็นในช่วง 3 เดือนสุดท้าย ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกมามาก คุณแม่ต้องรีบไปโรงพยาบาลแพทย์จะให้เลือดทดแทนในส่วนที่คุณแม่เสียไป คุณหมอจะตรวจภาวะความเสี่ยงว่าต้องผ่าคลอดหรือไม่ เพราะถ้าเลือดออกมากคุณหมอต้องทำการผ่าคลอดเพื่อช่วยชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์ไว้ ส่วนคุณแม่ที่มีเลือดออกไม่มากคุณหมอจะดูอาการและให้นอนพักผ่อนเฉยๆ ไม่ให้ทำงานหนักและให้กินธาตุเหล็กเพื่อบำรุงเลือดและดูอาการต่อไป

 

ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

 

       สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะรกเกาะต่ำ มีดังนี้
1. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุมาก ตั้งแต่ 35 ปีเป็นต้นไป
2. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือเคยผ่าคลอดมาแล้วหลายครั้ง
3. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มดลูกรูปร่างผิดปกติ
4. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ตั้งครรภ์แฝด
5. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
6. การติดเชื้อในครรภ์แม่
7. คุณแม่สูบบุหรี่จัด

 นอกจากนี้สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ

1. เสียเลือดมาก ถ้ามีการฉีกขาดของรก อาจทำให้ช็อกได้
2. อาจต้องผ่าคลอด
3. ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด
4. อาจต้องตัดมดลูกทิ้งถ้าผ่าคลอดลูกแล้ว หากรกเกาะอยู่ลึกมาก
5. ทารกอาจเสียชีวิตหากคุณแม่เสียเลือดมาก แล้วได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน

  ผ่านาทีฉุกเฉิน "เอมมี่ มรกต" ภาวะรกเกาะต่ำ อันตรายห้ามปล่อยผ่าน สุ่มเสี่ยงถึงขั้นตัดมดลูกทิ้ง

  เมื่อคุณแม่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะภาวะเลือดออกจากรกเกาะต่ำนี้จะมีตั้งแต่เลือดออกกะปริดกะปรอยจนถึงเลือดออกมาก โดยทั่วไปแล้วเลือดที่ออกในครั้งแรกมักจะไม่มากเหมือนครั้งหลังๆ หากไปพบแพทย์แล้วเลือดที่เคยออกค่อยๆ หยุดไป และอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด (ตั้งแต่ 38 สัปดาห์ขึ้นไปยังถือว่าเป็นการคลอดตามกำหนด) แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับมาพักผ่อนดูแลตัวเองที่บ้านได้ โดยให้ดูแลตัวเองดังนี้

1. นอนพักผ่อนให้มากๆ วันละ 8-10 ชั่วโมง ในท่านอนตะแคงซ้าย งดทำงานหนัก
2. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด
3. รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
4. หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระทุกครั้ง คุณแม่จึงต้องรับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่ายและมีเส้นใยมากๆ
5. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เช่น ไข่แดง ตับ และยาบำรุงเลือดซึ่งมีธาตุเหล็ก รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ส่วนเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทุกชนิดควรงด
6. งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
7. ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง ซึ่งการนัดจะถี่ขึ้นจากการตั้งครรภ์ปกติทั่วไป เพราะแพทย์อาจต้องทำ NST เพื่อประเมินสุขภาพของทารกทุกๆ สัปดาห์ หากคุณแม่พบว่ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือมีเลือดออกให้ใส่ผ้าอนามัย แล้วรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดโดยทันที

 

ขอบคุณภาพจากไอจี aimeemorakot