- 25 ธ.ค. 2561
ว่ากันไปแล้ว...พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำของ "พรรคอนาคตใหม่" ที่หวังปรับเปลี่ยนการใช้อำนาจตลอดจนแก้ไขโครงสร้างกองทัพนั้น มีมาให้เห็นมาตลอด เมื่อแรกทีเดียวกับการประดิษฐ์วาทกรรม "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร" ที่ดูจะเป็นนามธรรมและไม่สามารถจับต้องได้ว่า "ผลพวง" นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร แต่ก็ชัดเจนระดับหนึ่งว่าเป็นการแสดงออกต่อต้านรัฐบาล คสช. ที่ตัวผู้นำคือนายธนาธร และพลพรรคของเขานั้นถือมั่นว่าเป็นฝั่งปรปักษ์มาโดยตลอด
ว่ากันไปแล้ว...พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำของ "พรรคอนาคตใหม่" ที่หวังปรับเปลี่ยนการใช้อำนาจตลอดจนแก้ไขโครงสร้างกองทัพนั้น มีให้เห็นมาตลอด เมื่อแรกทีเดียวกับการประดิษฐ์วาทกรรม "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร" ที่ดูจะเป็นนามธรรมและไม่สามารถจับต้องได้ว่า "ผลพวง" นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร แต่ก็ชัดเจนระดับหนึ่งว่าเป็นการแสดงออกต่อต้านรัฐบาล คสช. ที่ตัวผู้นำคือนายธนาธร และพลพรรคของเขานั้นถือมั่นว่าเป็นฝั่งปรปักษ์มาโดยตลอด
จะอย่างไรก็ตามแต่ ภายหลังการประกาศ "ปลดล็อคพรรคการเมือง" ก็ดูเหมือนว่านายธนาธร จะลดโทนความแข็งกร้าวลงไปบ้าง แต่นโยบายหลักของพรรคนั้น ก็ยังมิวายด้วยการเสนอให้ชวนคล้อยตามด้วยการลดขนาดและศักยภาพของกองทัพ ทั้งในแง่ของ "งบประมาณ" และ "กำลังพล" เพื่อนำงบประมาณส่วนนี้ไปจุนเจือด้านอื่นเช่น การศึกษาหรือสวัสดิการซึ่งก็ว่ากันไป...แต่เมื่อผ่านมุมมองของประชาชน เมื่อนโยบายดังกล่าวเกี่ยวพันกับคุณภาพชีวิตและปากท้องก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ในระยะยาวการรักษาอธิปไตยที่สัมพันธ์กับบริบทขนาดกองทัพ...จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นก็เป็นเรื่องที่ควรนำมาพินิจให้ถี่ถ้วนเช่นกัน
ล่าสุดนายธนาธร ออกมาเคลื่อนไหวต่อกรณีดังกล่าวอีกครั้ง ด้วยการสร้างโพลล์สำรวจความคิดเห็นประชาชนในแฟนเพจเฟซบุ๊กของตน ว่าด้วยเรื่อง "ปฏิรูปกองทัพ" ให้เป็นกองทัพสมัยใหม่ ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ใช้วิธีสมัครแทน ยกเว้นเวลาเกิดศึกสงคราม, ปรับลดกำลังพลประจำการลงครึ่งหนึ่ง ให้เหลือเพียง 1.7 แสนนาย, ลดจำนวนนายพลจากปัจจุบัน 1,600 คน ให้เหลือเพียง 400 คน (อ่านต่อเพิ่มเติม : ไม่จบไม่สิ้น! "พรรคอนาคตใหม่" สร้างโพลล์ "ปฏิรูปกองทัพ" หวังยกเลิกทหารเกณฑ์...นโยบายเพื่อประชาชนหรือหวังผลอันใด)
นอกเหนือจากการ "ยกเลิกเกณฑ์ทหาร" ที่ดูจะเป็นข้อเสนอที่ล้าสมัยและทาง ผบ.ทบ. พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เองก็ให้ความกระจ่างไปก่อนหน้านี้แล้ว ว่าเสียงเรียกร้องเหล่านี้เป็นเพียงเสียงของคนกลุ่มเล็ก เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ไม่มีทหารดังนั้นการยกเลิกการเกณฑ์ทหารจึง "เป็นไปไม่ได้" อีกหนึ่งคีย์เวิร์ดสำคัญที่ควรค่าแก่การทำความเข้าใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือ การลดจำนวนนายพล ที่แม้นว่าก่อนหน้านี้จะมีแว่วเสียงจากประชากรบ้างกลุ่ม แต่ก็ยังไม่ได้ถูกนำมาอภิปรายอย่างกว้างขวางเท่าใดนัก
ก่อนอื่นใดเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงจะพบว่าการจัดโครงสร้างกองทัพและการได้มาซึ่ง "นายพล" ของประเทศไทยนั้น แทบจะไม่ได้มีความซับซ้อนแต่กลับมีความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เพราะแท้จริงแล้วการที่นายทหารสัญญาบัตรจะสามารถไต่เต้าขึ้นสู่ระดับชั้นยศนายพลนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถแต่เพียงอย่างเดียว แต่ "ผูกขาด" กับสถาบันหลักของแต่ละเหล่าเหล่าทัพ กล่าวคือ "นายพล" นั้นคือผลผลิตของ "โรงเรียนนายร้อย" ซึ่งในแต่ละรุ่นนั้น จะผลิตได้ประมาณ 200-250 นาย ในเหล่า ทบ. และ ตร. ขณะที่ เหล่า ทอ. และ ทร. จะลดหลั่นกันลงมาอาจอยู่ที่ประมาณ 50-150 นาย เท่านั้น
เหตุที่ใช้คำว่า "ผูกขาด" เนื่องด้วยกำลังพลที่มาจาก "กองหนุน" หรือกำเนิดจากสถาบันที่เทียบเท่า "โรงเรียนนายสิบ" ที่ผลิตทหารชั้นประทวนนั้น มีจำนวนน้อยมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีโอกาสติดยศชั้น "นายพล" หากจะมีก็เพียงแต่ต้อง "เออร์ลี่" ก่อนหมดอายุราชการเพื่อหวังได้เลื่อนอีกหนึ่งชั้นยศจาก "พันเอกพิเศษ" เป็น "พลตรี" แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขอัตราว่างที่ทางกระทรวงกลาโหมกำหนดโควต้าไว้ประจำปี
อย่างไรก็ตามจากข้อเท็จจริงตามบัญชีโยกย้ายนายทหารชั้นนายพล ประจำปี 2561 มีทั้งสิ้น 935 นาย ซึ่งเมื่อรวมกับที่ประจำการจะอยู่ที่ประมาณ 1,400 นาย ในขณะที่หน่วยที่รองรับ ผู้บัญชาการระดับกรมจนถึงกองพล หรือตำแหน่งที่สัมพันธ์กับชั้นยศนั้น มีไม่เพียงพอ ทำให้บางส่วนนั้นต้องตกไปเป็น "ผู้ทรงคุณวุฒิ" โดยในกลุ่มนี้ไม่มีอำนาจทางพฤตินัย กล่าวคือไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขึ้นตรง เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ขึ้นอยู่กับงานที่ได้รอบมอบหมาย
ซึ่งน่าสนใจว่า ตรงจุดนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่นายธนาธร อาจมองว่าเมื่อประเทศไทยมีนายพลจำนวนมาก ก็อาจสุ่มเสี่ยงการเกิดรัฐประหารที่เขานั้นวิตก แต่แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะจากข้อเท็จจริงมี "นายพล" ไม่กี่นายเท่านั้นที่มีอำนาจในสายบังคับบัญชา...หรือหากจะมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ก็ต้องย้อนกลับสู่คำถามที่ว่า...จริงอยู่ที่ เงินเดือนของนายพลนั้นเริ่มตั้งแต่ 30,000 - 70,000 บาท ทั้งตำแหน่ง "ผู้ทรงคุณวุฒิ" และ ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับชั้นยศ แต่ก็เป็นเงินเดือนที่ปรับอัตราขึ้นทุกปีเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน เพราะถึงแม้ว่าชั้นยศจะไม่ได้เลื่อน แต่อย่างไรแล้วเงินเดือนก็ต้องปรับขึ้นอยู่ดี เช่นเดียวกับชั้นประทวนที่ครองยศ "จ่า" แต่มีเงินเดือนถึง 30,000 บาทก็พบเห็นได้โดยทั่วไป
ดังจะเห็นได้ว่า หากนำข้อเท็จจริงเหล่านี้มาคัดง้างต่อแนวคิดดังกล่าว การปรับลด "นายพล" ก็ไม่ได้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ว่าจะเกิดผลดีต่อกองทัพหรือต่อระดับประเทศมากเพียงใด เพราะในแง่การใช้อำนาจ "นายพล"ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอำนาจทาง "พฤตินัย" ส่วนในแง่งบประมาณถึงจะมี "นายพล" น้อยลง งบประมาณที่ต้องจ่ายเป็นเงินเดือนแก่บุคลากรในกองทัพก็มิได้น้อยลง
หรือแท้จริงแล้วจะเป็นเพียงความเข้าใจอันกลวงเปล่าของทาง "พรรคอนาคตใหม่" หรือการแก้ปัญหาแบบไม่ประสาเสมือนว่าเกิดอาหารคันแต่เกาไม่ตรงจุด...ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ทั้งสิ้น
อ่านข่าวทที่เกี่ยวข้อง
- ทำความรู้จัก...ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ!?!ถอดความคิดไพร่หมื่นล้าน เจ้าของคำพูด ไม่ต้องหมอบกราบพระเจ้าองค์ไหน!!!ไม่ต้องสงสัย ไฉนคบคิดนิติราษฏร์?
- แกนนำพรรคนิติราษฎร์ .."ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"ไพร่หมื่นล้าน ท่อน้ำเลี้ยงสื่อล้มเจ้า "ฟ้าเดียวกัน"??
- ก่อนจะเรียกตัวเองว่า "ไพร่".. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รู้จักคำนี้ดีแค่ไหน??
- ดีเดย์ 15 มี.ค. "ธนาธร ยื่น กกต.จัดตั้งพรรค" (คลิป)
- ธนาธร เปิดตัว พรรคอนาคตใหม่ เมินนายกฯ คนนอก (คลิป)
- “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” อนาคตใหม่ หรือ อนาคตดับ ? หลังถูกชุดภาพ ร่วมชุมนุม ม็อบแดง 53 จนโดนกระสุนยาง