- 07 ม.ค. 2562
อุทาหรณ์ สาวออสซี่กัดเล็บมือจนเกลี้ยง ลุกลามเป็นมะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนังเป็นโรคที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี มะเร็งผิวหนัง หมายถึง การที่บริเวณผิวของเราเกิดเนื้องอกร้ายขึ้น โดยมักจะเกิดในส่วนที่โผล่ออกมาจากร่างกาย เช่น ศีรษะ ใบหน้า คอ มือ หลัง เป็นต้น อัตราการเกิดรวมประมาณ 81.1% มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 51-60 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคมากที่สุด และเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วนระหว่าง 2 : 1 ซึ่งในจำนวนนี้อัตราการเกิดโรคของพวกคนผิวขาวจะสูงที่สุด
โดยนี่เป็นเหตุการณ์ตัวอย่างเมื่อ คอร์ตนีย์ วิตฮอร์น นักศึกษาสาววัย 20 ปี ออสเตรเลียกัดเล็บหมดทั้งนิ้วหัวแม่มือ จนเนื้อใต้เล็บกลายเป็นสีดำ
โดยปิดบังครอบครัวและเพื่อนฝูง ด้วยการกำหมัดมือแล้วสวมเล็บปลอมนานถึง 4 ปี
จนกลายเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหายากและต้องตัดนิ้วทิ้งในที่สุด โดยเธอกล่าวว่า ตัวเองกัดเล็บมาทั้งชีวิต
มะเร็งผิวหนังคือเนื้อร้ายที่เกิดบนผิวหนังและเยื่อบุ เนื่องจากความผิดปกติของการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุ มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด ที่พบบ่อย ได้แก่
- มะเร็งผิวหนังชนิดเบเซลเซลล์ (Basal cell carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่ร้ายแรงน้อย เพราะเกิดบริเวณชั้นตื้นๆ
- มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) ลักษณะคล้ายกับมะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา การลุกลามมักเร็วกว่ามะเร็งชนิด บาซอลเซลล์ คาร์ชิโนมา มักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของเซลล์ผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ
- มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (malignant melanoma) เป็นมะเร็งจากเซลล์เม็ดสี เมลานิน พบไม่บ่อย แต่มีความร้ายแรง เพราะสามารถกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว
มะเร็งผิวหนังอาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้าๆ และลุกลามเฉพาะที่ หรืออาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่นต่อมน้ำเหลือง ส่วนมากจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี และพบในชายมากกว่าหญิง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
1.แสงอัลตราไวโอเลต (UVA,UVB) ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
2. เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ
3.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
4. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน
5. ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา
อาการที่ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
1.ดูบริเวณไฝที่เป็นว่ามีผื่นหรือก้อนที่โตเร็วกว่าปกติ หรือมีสีที่เปลี่ยนไป ขอบไม่เรียบ แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
2.มีแผลเรื้อรังที่ไม่หาย
3.ผื่นเรื้อรัง