ตกงาน เลิกจ้าง ลาออก สามารถรับสิทธิเงินชดเชยประกันสังคมได้

 เมื่อถึงยุคที่เศรษฐกิจไม่ดีบริษัทห้างร้านต่างก็ต้องประสบกับภาวะขาดทุนกันให้ได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง บริษัทบางแห่งก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการฟุบตัวของเศรษฐกิจ ก็ต้องปิดตัวกันไป  ส่วนบริษัทบางแห่งที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ก็เป็นเพราะหาทางปรับตัว

ตกงาน เลิกจ้าง ลาออก สามารถรับสิทธิเงินชดเชยประกันสังคมได้

 

 เมื่อถึงยุคที่เศรษฐกิจไม่ดีบริษัทห้างร้านต่างก็ต้องประสบกับภาวะขาดทุนกันให้ได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง บริษัทบางแห่งก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการฟุบตัวของเศรษฐกิจ ก็ต้องปิดตัวกันไป 
ส่วนบริษัทบางแห่งที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ก็เป็นเพราะหาทางปรับตัว ดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดได้ภายใต้ภาวการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ หนึ่งในการปรับตัวที่บริษัทห้างร้านต่าง ๆ มักเลือกที่จะทำก็คือการปรับลดพนักงาน เพราะเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ออเดอร์การสั่งสินค้าจากลูกค้าไม่มากเหมือนเคย การผลิตสินค้าและบริการของห้างร้านก็ต้องน้อยลงไปด้วย จำนวนพนักงานที่บริษัทเคยมีก็จึงดูเหมือนว่าจะมากเกินไป ทำให้บริษัทต้องปรับลดต้นทุนในส่วนของพนักงานลงด้วยการให้พนักงานสมัครใจลาออก ซึ่งลูกจ้างที่สมัครใจลาออกสามารถได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง นอกจากนี้ยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์อื่นๆในกรณีว่างงานจากประกันสังคมอีก เรามาดูกันว่าจะมีสิทธิอะไรบ้าง

 

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา)โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย ทั้งนี้ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้นเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมในบางอย่าง เช่น มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

 

ตกงาน เลิกจ้าง ลาออก สามารถรับสิทธิเงินชดเชยประกันสังคมได้

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานได้ เช่นทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรงละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควรประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้ายไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาทและฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท  ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

 

ตกงาน เลิกจ้าง ลาออก สามารถรับสิทธิเงินชดเชยประกันสังคมได้

 

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาทจะได้รับเดือนละ 3,000 บาท เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)

ตกงาน เลิกจ้าง ลาออก สามารถรับสิทธิเงินชดเชยประกันสังคมได้

 

ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม กรณีว่างงาน
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้ 
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 
6) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 
8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 
9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 
10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม) 
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)  

 

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประกันสังคม