ก้าวแรกแห่งการล้ม "ระบอบทักษิณ" ! ย้อนเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมล้อมทำเนียบ เกียรติยศของภาคประชาชน

จากกรณี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องพิจารณา 809 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกรุกทำเนียบรัฐบาลปี 2551 หมายเลขดำ อ.4925/2555

ก้าวแรกแห่งการล้ม \"ระบอบทักษิณ\" ! ย้อนเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมล้อมทำเนียบ เกียรติยศของภาคประชาชน

 

จากกรณี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องพิจารณา 809 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกรุกทำเนียบรัฐบาลปี 2551 หมายเลขดำ อ.4925/2555 ที่พนักงานอัยการคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตแกนนำ พธม. และนายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ประสานงาน พธม. เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐาน ร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358, 362, 365

โดยคดีดังกล่าวอัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2555 ระบุพฤติการณ์โดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2551 ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งมีจำเลยดังกล่าวเป็นแกนนำ ได้จัดปราศรัยชักชวนประชาชนเข้าร่วมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ  โดยเคลื่อนขบวนฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำเนียบรัฐบาลและกระจายกำลังปิดล้อมสถานที่ราชการ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุกระจายเสียง กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ

ต่อมาช่วงกลางวันของวันที่ 26 ส.ค. 2551 จำเลยพร้อมพวกได้เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลโดยปิดล้อมทางเข้าออกทำเนียบทุกด้าน และใช้เครื่องมือทำลายกุญแจประตูทำเนียบ รวมถึงแผงกั้นที่เจ้าหน้าที่ใช้ควบคุมดูแลความสงบในทำเนียบ กระทั่งวันที่ 3 ธ.ค. 2551 พวกจำเลยซึ่งไม่ได้รับอนุญาตได้ร่วมกันรื้อทำลายสิ่งกีดขวางแล้วปีนรั้วเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งนำรถยนต์ 6 ล้อที่ติดเครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ไปจอดหน้าตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล และเริ่มทำการผลัดเปลี่ยนปราศรัย

โดยจัดเวทีปราศรัยในทำเนียบรัฐบาลและมีผู้ชุมนุมจำนวนมากได้เหยียบสนามหญ้าและต้นไม้ประดับจนได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังทำให้ระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ระบบไฟสนามหน้าตึกไทยคู่ฟ้า-หน้าตึกสันติไมตรีในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับความเสียหายรวม 5 ล้านบาท ระหว่างนั้นเกิดฝนตกทำให้น้ำฝนซึมเข้าขังในถุงดำที่ห่อหุ้มกล้องวงจรปิด ทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกล้องเสียหายรวม 10 ตัว ค่าเสียหายอีก 1,766,548 บาท โดยจำเลยทั้งหกให้การปฏิเสธ

ก้าวแรกแห่งการล้ม \"ระบอบทักษิณ\" ! ย้อนเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมล้อมทำเนียบ เกียรติยศของภาคประชาชน

คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2558 เห็นว่าจำเลยทั้งหกกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 365 การกระทำของจำเลยผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ จำคุกคนละ 3 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยไว้คนละ 2 ปี 

แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาวันที่ 24 ก.ค. 2560 แก้เป็นจำคุกจำเลยคนละ 1 ปี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยคนละ 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา จำเลยได้รับการประกันตัวระหว่างฎีกา ยกเว้นนายสนธิซึ่งถูกคุมขังในคดีทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 อย่างไรก็ตามต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิดว่าภายหลังศาลฎีกานัดตัดสินคดี จะได้บทสรุปออกมาในทิศทางใด

ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านพรรคพลังประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการณ์การเมืองไทยคาบเกี่ยวนับแต่ก่อนที่รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ถูกรัฐประหารจนถึงปี 2553 เป้าหมายคือการล้มเครือข่ายและระบอบการอันเลวร้ายที่ฝังรากลึกทีถูกขนานนามต่อมาว่า "ระบอบทักษิณ" 

ก้าวแรกแห่งการล้ม \"ระบอบทักษิณ\" ! ย้อนเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมล้อมทำเนียบ เกียรติยศของภาคประชาชน

หลังจากที่นายทักษิณ ต้องมีอันเป็นไปทางการเมือง และพรรคพลังประชาชนซึ่งถือเป็นเครือข่ายได้รับเลือกตั้งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จึงเป็นเหตุให้กลุ่มพันธมิตรฯจำต้องออกมาเคลื่อนไหวด้วยการ เปิดโอกาสให้รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เข้ามาทำงานบริหารประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลสมัครต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและสื่อสารมวลชนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งไม่กระทำผิดเหมือนยุครัฐบาลทักษิณ

แต่ผลที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่ารัฐบาลนายสมัคร ยังคงมีพฤติการณ์ใช้อำนาจรัฐในทางมิชอบ ทั้งการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการแทรกแซงสื่อมวลชน อยู่เบื้องหลังควบคุมการนำเสนอของสื่อ บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อโจมตีขั้วการเมืองฝั่งตรงข้าม อีกทั้งยังมีกลุ่มก้อนการเมืองที่เชื่อกันว่าสนับสนุนรัฐบาลนายสมัคร ที่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกในทางคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง
 

ท่ามกลางความเขม็งเกลียวทางการเมือง หลากกลยุทธ์ของกลุ่มพันธมิตรฯที่หวังทวงคืนระบบการอันชอบธรรมทางการเมือง และถอนรากถอนโคนวัฏจักรชั่วร้ายให้แล้วสิ้น หากนายสมัคร กลับต้องมีอันเป็นไปทางการเมืองตามนายทักษิณ ด้วยเพราะมีคำวินิจฉัยว่า การจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของนายสมัครนั้น มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถือได้ว่าขัดรัฐธรรนูญ ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติเอกฉันท์ 9-0  

ก้าวแรกแห่งการล้ม \"ระบอบทักษิณ\" ! ย้อนเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมล้อมทำเนียบ เกียรติยศของภาคประชาชน

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 ก.ย. 2551 ปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทยหากเป็นที่รู้กันดีว่า สถานะของนายสมชายไม่ต่างอะไรกับนายสมัครที่เป็น "นอมินี" ของนายทักษิณที่คอยบงการจากแดนไกลอยู่เบื้องหลัง นั่นหมายถึงว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยที่ไม่อาจรามือ ด้วยเพราะเจตนาปลาสนาการการใช้อำนาจอันฉ้อฉลของกลุ่มเครือข่ายการเมืองที่ไร้ความชอบธรรมให้สิ้นซาก

ถึงคราวแตกหักเมื่อคลื่นมวลชนกลุ่มพันธมิตรที่ไหลบ่าเข้าอาคารรัฐสภา ในวันที่ 6 ต.ค. 2551 เวลาประมาณ 20.30 น. บนเวทีแกนนำพันธมิตรได้ขึ้นเวที และประกาศขยายพื้นที่การชุมนุมไปยังหน้าอาคารรัฐสภาทำการปิดล้อม เพื่อไม่ให้รัฐบาลแถลงนโยบายได้ในวันที่ 7 ต.ค. จนเข้าช่วงเช้าตำรวจจึงได้ระดมยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ปิดล้อมอาคารรัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลนายสมชาย แถลงนโยบายตามกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน ได้คว่ำบาตรการแถลงนโยบายครั้งนี้โดยไม่เข้าร่วมประชุม หลังจากนายสมชาย นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายเสร็จแล้ว ได้เดินทางออกจากรัฐสภาไปยังกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อหารือกับผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพถึงสถานการณ์

ตำรวจได้ระดมยิงแก๊สน้ำตาอีกชุดเพื่อเปิดทางให้ ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งยังคงติดอยู่ภายในอาคารรัฐสภาออกไปได้ ผู้ชุมนุมพยายามจะเข้าไปในพื้นที่ บชน. แม้ว่าตำรวจจะประกาศห้ามแล้ว จึงมีการยิงแก๊สน้ำตาสกัดกั้นที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูปทรงม้า ต่อมาภายหลังมีผู้ได้รับบาดเจ็บจนถึงขาขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย ทราบชื่อได้แก่ นาย ตี๋ แซ่เดียวและ นาย บัญชา บุญเหล็ก ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไปว่าเกิดจากแก๊สน้ำตาหรือระเบิดปิงปองที่นำมาเองจากผู้ชุมนุมด้วยกัน ในเหตุการณ์ครั้งนี้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11 นายจากการโดนแทงคอด้วยด้ามธง และโดนรถของผู้ชุมนุมวิ่งเข้าชน รวมถึงถูกยิงด้วยลูกเหล็กและหัวน็อต

ก้าวแรกแห่งการล้ม \"ระบอบทักษิณ\" ! ย้อนเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมล้อมทำเนียบ เกียรติยศของภาคประชาชน

เหตุความรุนแรงในครั้งนั้นรวมยอดผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 381 ราย เสียชีวิต 2 ราย พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี และ อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ เป็นเหตุให้สังคมต่างรุมประณามการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแล้วรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ขาดความชอบธรรมทางการเมืองพ้นจากอำนาจไปโดยปริยาย โดยกลุ่มพันธมิตรฯได้กล่าวถึงผลจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ว่า แสดงให้เห็นว่าการได้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินที่ผ่านมานั้นไม่ใช่วิถีทางของประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการได้มาซึ่งอำนาจด้วยการทุจริตการเลือกตั้ง และเป็นบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯนั้นเป็นความถูกต้องชอบธรรมเป็นที่ประจักษ์

เมื่อสามารถยืดหยัดอยู่เหนืออำนาจอธรรม เป็นชัยชนะอันหอมหวานโดยภาคประชาชน ท้ายสุดกลุ่มพันธมิตรฯ จึงประกาศศยุติการชุมนุมทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 3 ธ.ค. พ.ศ. 2551 สิ้นสุดการต่อสู้อันยาวนานที่ต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยตราบนานเท่านาน