กกต. สั่งเบรก "พรรคไทยรักษาชาติ" อย่าเพิ่งขึ้นป้าย "ทูลกระหม่อมฯ"

กกต. สั่งเบรก "พรรคไทยรักษาชาติ" อย่าเพิ่งขึ้นป้าย "ทูลกระหม่อมฯ"

เรียกว่ากำลังร้อนแรงอย่างมากสำหรับการเมืองไทยในเวลานี้ หลังจากที่ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ เข้ายื่นบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ต่อคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยได้เสนอพระนามของ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพียงพระองค์เดียว ทำให้ตอนนี้แฮชแท็กที่มาแรงที่สุดในโลกทวิตเตอร์คือ #ทรงพระสเลนเดอร์ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ไทยรักษาชาติ ยื่นเสนอพระนาม ทูลกระหม่อมฯบัญชีนายกฯของพรรค

กกต. สั่งเบรก \"พรรคไทยรักษาชาติ\" อย่าเพิ่งขึ้นป้าย \"ทูลกระหม่อมฯ\"

กกต. สั่งเบรก \"พรรคไทยรักษาชาติ\" อย่าเพิ่งขึ้นป้าย \"ทูลกระหม่อมฯ\"

 

สำหรับความคืบหน้ากรณีดังกล่าวนั้น นายณัฐฏ์  เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการกกต. กล่าวถึงการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ว่า การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.เขตเป็นอำนาจของผอ.กกต.เขต ส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อ กฎหมายก็เขียนชัดว่าเป็นอำนาจของกกต. แต่สำหรับคุณสมบัติของผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกฯ กกต.ยังเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า กกต.มีอำนาจพิจารณาหรือไม่  หรือมีอำนาจเพียงประกาศรายชื่อตามที่พรรคเสนอมา แต่เบื้องต้นเท่าที่อ่านกฎหมาย น่าจะมีอำนาจแค่ประกาศ แต่ทั้งนี้ทางสำนักงานฯกำลังศึกษาข้อกฎหมายทั้งหมด และจะเสนอต่อที่ประชุมกกต.พิจารณาในสัปดาห์หน้า

 

อย่างไรก็ตาม หาก กกต.เห็นว่า กฎหมายให้อำนาจ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ก็จะนำคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. มาเป็นหลักในการพิจารณาร่วมกับคุณสมบัติของรัฐมนตรี  รวมถึงจะไปดูว่ามีคำร้องว่าขอให้กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อรายใดหรือไม่ โดยจะต้องดูเบื้องต้นก่อนว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องหรือไม่ก่อน ซึ่งปัจจุบันที่มีการยื่นคำร้องปรากฏทางสื่อ เป็นการร้องเรื่องการนำสถาบันฯมาใช้หาเสียง ไม่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ  ทั้งนี้ เมื่อกกต.ประกาศรายชื่อของผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกฯแล้ว ผู้ที่ไม่ได้รับการประกาศชื่อไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลได้ ต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการประกาศชื่อเป็นผู้สมัคร ส.ส.

เมื่อถามว่า พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) สามารถนำรูปแคนดิเดทนายกฯของพรรคขึ้นป้ายหาเสียงได้เลยหรือไม่ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า ตามระเบียบกกต. ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. 2561 ข้อ 17 กำหนดไว้ว่า ห้ามผู้สมัครพรรคการเมืองหรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น กกต.คงต้องพิจารณาก่อน  และถ้าจะให้ดีทุกพรรคควรรอการประกาศรับรองจากกกต.ในวันที่ 15 ก.พ.ก่อน อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ปัดที่จะอธิบายรายละเอียดว่าพรรค ทษช.จะมีขอบเขตในการนำแคนดิเดตนายกฯ ไปใช้หาเสียงได้อย่างไร โดยอ้างว่า ทุกพรรคทราบดีอยู่แล้วว่าอะไรทำได้ ไม่ได้แค่ไหน ในช่วงของการเลือกตั้ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดโพสต์ล่าสุด"ทูลกระหม่อมฯ"หลังเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี!

ไพบูลย์ นิติตะวัน จะแถลงขอให้ กกต.สั่ง ทษช.ระงับการเสนอพระนาม ทูลกระหม่อมฯ!

เลขาฯกกต.พูดแล้ว หลัง"ไพบูลย์" ขอระงับพระนาม"ทูลกระหม่อมฯ"ลงชิงนั่งนายกฯ!

"อุ๊งอิ๊ง ชินวัตร" ไม่พลาดเมนต์ไอจี "ทูลกระหม่อมฯ"

สื่อนอกตีข่าว "ทูลกระหม่อม" ลงชิงเก้าอี้นายกฯ โควต้าทษช. "บิ๊กตู่"ยันคิดรอบคอบร่วมพลังประชารัฐ พร้อมสละชีวิตป้องแผ่นดินไทย

เปิดราชกิจจานุเบกษา"ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ" ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์