- 12 ก.พ. 2562
สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการพิจารณากรณีการกระทำของพรรคไทยรักษาชาติที่เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการพิจารณากรณีการกระทำของพรรคไทยรักษาชาติที่เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ว่าเข้าข่ายผิดมาตรา 92 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 หรือไม่ ซึ่งล่าสุดที่ประชุมได้มีมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าสมควรยุบพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่
ทั้งนี้ ที่ประชุม กกต.เห็นว่าตามพระราชโองการ ประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2562 และหนังสือการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคหรือแบบส.ส.4/29 รวมถึงหนังสือยินยอมให้เสนอชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือแบบส.ส.4/30ซึ่งพรรคไทยรักษาชาติ ยื่นต่อ กกต.ถือเป็นพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคไทยรักษาชาติ กระทำการดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรค และขณะนี้ได้ให้ สำนักงานฯยกร่างคำร้อง เพื่อที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในวันเดียวกันนี้
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ กกต. มีแนวทาง ว่าจะให้มีการตั้งคณะกรรมการไต่สวน ขึ้นมาดำเนินการตรวจสอบ และรวบรวม พยานหลักฐานก่อน แต่ การประชุมพิจารณาในวันนี้ เห็นว่า ตามมาตรา 92 ( 2)พ.ร.ป.พรรคการเมือง ใช้คำว่า "เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการ ดังกล่าวให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น" ซึ่งหลักฐาน ที่ปรากฏต่อกกต.ในขณะนี้ถือว่าเพียงพอวินิจฉัย ประกอบกับเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญที่ควรจะมีความชัดเจนโดยเร็ว จึงได้มีมติดังกล่าว
ทั้งนี้ มาตรา 92 ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น
(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(3) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 36 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 72 หรือมาตรา 74
(4) มีเหตุอันจะต้องยุบพรรคการเมืองตามที่มีกฎหมายกำหนด
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองกระทำการตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น
อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวยังมี ข้อสังเกตที่ กกต. ควรตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อชี้ชัดว่าาใครใน ทษช.เป็นผู้ทูลเชิญฯ คนในพรรค? หรือ คนบงการพรรค? โดยสามารถเรียงลำดับเป็นข้อๆดังต่อไปนี้
(1) 12 กพ. 2562 กกต.ไม่ประกาศ "พระนาม"
(2) เท่ากับ กกต. ยืนยันว่าการเสนอ "พระนาม" ของพรรคทษช. เป็นการกระทำที่มิบังควร ขัดพระราชประเพณี ตามพระราชโองการ
(3) 12 กพ. 2562 กกต.ตั้งกรรมการสอบ "ยุบพรรค" ทษช ตามที่มีผู้ร้องเรียน
(4) การสอบสวนของ กกต.ต้องให้ประจักษ์ชัดว่าใครในพรรค ทษช.? ที่เป็นผู้ทูลเชิญฯ และกระทำสิ่งที่ไม่บังควร (และน่าจะมีความผิดทางอาญาแผ่นดินด้วยหรือไม่?)
(5) ตามมาตรา 28 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิก กระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่า โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม"
(5) ซึ่งรายชื่อ หัวหน้าพรรค และ กก.บห.พรรค ทษช. ก็ล้วนเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ยังไม่น่าจะมีบารมีถึงขึ้นไปทูลเชิญฯได้
(6) ถามว่าคนที่ไปทูลเชิญฯเป็นคนในพรรค ทษช. หรือเป็นคนนอกพรรคที่เข้ามาควบคุม ครอบงำ ชี้นำ พรรค
(7) ถ้าเป็นคนนอกพรรค ก็เข้าข่ายผิด ม.28 กกต.สามารถ "ยุบพรรค" ได้
(8) หรือถ้าจะมีใครในพรรคจะ "สละชีวิต" อาสารับแทนคนบงการ ก็ลองทบทวนศึกษากรณีตัวอย่างอย่าง "บุญทรง" ให้ถ้วนถี่