ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นทางการเมืองที่ต้องกลับมาเกาะติดอีกครั้ง ถึงความคืบหน้าและถือเป็นที่สิ้นสุด เมื่อจุดเริ่มต้นของการพยายามทำลายระบอบการเลวร้ายในชื่อ "ระบอบทักษิณ" กลับต้องจ่ายด้วยราคาที่สูงลิ่วแต่สำหรับผู้เสียสละแล้วย่อมไม่อาจตีเป็นราคา เพราะเป็นชัยชนะของภาคประชาชนอันนำไปสู่ความตื่นตัวทางการเมือง และอาจเป็นหนทางแห่งการถอนรากถอนโคนเนื้อร้ายที่กัดกินการเมืองไทยให้ราบคาบต่อไปในอนาคต

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นทางการเมืองที่ต้องกลับมาเกาะติดอีกครั้ง ถึงความคืบหน้าและถือเป็นที่สิ้นสุด เมื่อจุดเริ่มต้นของการพยายามทำลายระบอบการเลวร้ายในชื่อ "ระบอบทักษิณ" กลับต้องจ่ายด้วยราคาที่สูงลิ่วแต่สำหรับผู้เสียสละแล้วย่อมไม่อาจตีเป็นราคา เพราะเป็นชัยชนะของภาคประชาชนอันนำไปสู่ความตื่นตัวทางการเมือง และอาจเป็นหนทางแห่งการถอนรากถอนโคนเนื้อร้ายที่กัดกินการเมืองไทยให้ราบคาบต่อไปในอนาคต

ย้อนกลับไปก่อนหน้า จากกรณีที่ศาลอาญา เมื่อวันที่ 24 ก ค. 2560  ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีแกนนำพันธมิตรฯ บุกทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 หมายเลขดำที่ อ.4925/2555 ที่ พ.ต.ต.สุรพงษ์ สายวงศ์ อัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อายุ 82 ปี, นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 69 ปี, นายพิภพ ธงไชย อายุ 71 ปี, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อายุ 67 ปี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข อายุ 71 ปี แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และนายสุริยะใส กตะศิลา อายุ 44 ปี ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน หรือกลุ่มการเมืองสีเขียว และอดีตผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์กรณีบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 358, 362 และ 365

โดยอัยการฟ้องระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2551 ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งมีจำเลยดังกล่าวเป็นแกนนำได้จัดปราศรัยชักชวนประชาชนเข้าร่วมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน เพื่อกดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเคลื่อนขบวนฝ่าแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำเนียบรัฐบาลและกระจายกำลังปิดล้อมสถานที่ราชการ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียง กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ

ต่อมาหลังจากนายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญแล้ว นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนและมีกำหนดวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 7 ต.ค. 2551 ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2551 เวลากลางวันจำเลยทั้งสี่กับพวกก็ได้เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลโดยปิดล้อมทางเข้าออกทำเนียบทุกด้าน ได้ใช้เครื่องมือทำลายกุญแจประตูทำเนียบ และทำลายแผงกั้นที่เจ้าหน้าที่ใช้ควบคุมดูแลความสงบในทำเนียบ จนถึงวันที่ 3 ธ.ค. 2551 พวกจำเลยซึ่งไม่ได้รับอนุญาตได้ร่วมกันรื้อทำลายสิ่งกีดขวางแล้วปีนรั้วเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลรวมทั้งนำรถยนต์ 6 ล้อที่ติดเครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ไปจอดหน้าตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาลแล้วผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัย และช่วงวันที่ 26 ส.ค. 2551 - 3 ธ.ค. 2551 ระหว่างที่พวกจำเลยจัดเวทีปราศรัยในทำเนียบรัฐบาลซึ่งมีผู้ชุมนุมจำนวนมาก เหยียบสนามหญ้าและต้นไม้ประดับจนตาย และยังทำให้ระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ระบบไฟสนาม หน้าตึกไทยคู่ฟ้าและหน้าตึกสันติไมตรี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับความเสียหายรวม 5 ล้านบาท อีกทั้งเมื่อมีฝนตกทำให้น้ำฝนซึมเข้าขังในถุงดำที่ห่อหุ้มกล้องวงจรปิดทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกล้องเสียหายรวม 10 ตัว ค่าเสียหายอีก 1,766,548 บาท โดยจำเลยทั้ง 6 คนให้การปฏิเสธ

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2551 จำเลยที่ 1-5 และจำเลยที่ 6 ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ชักชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ประกาศให้ประชาชนไปชุมนุมยังสถานที่ราชการ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือเอ็นบีที กระทรวงการคลัง จากนั้นวันที่ 26 ส.ค. 2551 จึงได้เคลื่อนขบวนจากทำเนียบฯ ไปชุมนุมยังบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล จากนั้นผู้ชุมนุมได้ผลักดันแผงเหล็กกั้นอะลูมิเนียม ปีนรั้วเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล บางส่วนตัดโซ่คล้องกุญแจประตู 2 และประตู 4 ของทำเนียบรัฐบาล และเคลื่อนรถปราศรัยติดเครื่องขยายเสียงเข้าไปตั้งเวทีอยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล โดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ชักชวนให้ประชาชนที่อยู่ภายนอกเข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาล และแกนนำกลุ่มพันธมิตรได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นเวทีปราศรัยอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ จึงประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 3 ธ.ค. 2551

จากพฤติการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้จัดชุมนุมปราศรัยและบุกรุกเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาลซึ่งเป็นสถานที่ราชการ แม้ว่าบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปใช้สถานที่ดังกล่าว แต่ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ไม่ใช่จะเข้าออกตามอำเภอใจได้ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับผู้ชุมนุมนั้นเห็นเป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีเหตุอันรับฟังได้ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการเข้าไปในทำเนียบเพื่อห้ามปราบผู้ชุมนุมไม่ให้ทำลายทรัพย์สินเสียหาย แม้จะเป็นเจตนาที่ดี แต่ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีการห้ามปราบผู้ชุมนุมแต่อย่างใด ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าเป็นการชุมนุมด้วยความสงบตามสิทธิของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 63 เนื่องจากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยพร้อมผู้ชุมนุมได้บุกรุกเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล โดยปีนรั้ว ใช้คีมตัดโซ่คล้องประตู อันทำให้ทรัพย์สินของราชการเสียหาย และเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ใช่ภการชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจกล่าวอ้างบทบัญญัติดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญได้ ส่วนที่จำเลยอ้างว่ามีคนใช้อาวุธสงครามยิงใส่ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจึงต้องเข้าไปหลบอยู่ในทำเนียบรัฐบาลนั้น แต่ในวันที่ 26 ส.ค. 2551 ก็ไม่ได้มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น จึงไม่สามารถอ้างเพื่อยกเว้นไม่ให้ต้องรับโทษได้ แม้จำเลยจะมีเจตนาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ก็ถือว่ามีความผิด

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการและร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป พิพากษาว่าจำเลยที่ 1-6 กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 365 อนุมาตราสอง, 362 และ 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดในความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ จำคุกคนละ 3 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกคนละ 2 ปี ต่อมาจำเลยทั้งหกได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดี ระหว่างได้ประกันตัวอุทธรณ์คดีวงเงินคนละ 200,000 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญานั้นหนักเกินไป เห็นควรปรับบทลงโทษให้เหมาะสม พิพากษาแก้เป็นจำคุกจำเลยคนละ 1 ปี ไม่รอลงอาญา โดยคำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยคนละ 8 เดือน ไม่รอลงอาญา

ต่อมา นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำ พธม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เตรียมยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลย 5 ราย เป็นหลักทรัพย์คนละไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนนายสนธิ จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นประกันเนื่องจากถูกจำคุกในคดีอื่น พร้อมทั้งยื่นฎีกาต่อสู้คดี ซึ่งศาลได้พิจารณาคำร้องแล้วอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกาสู้คดี ตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท รอลุ้นว่าศาลฎีกาจะมีพิพากษาเป็นอย่างไรต่อไป และล่าสุดวันนี้(13ก.พ.) ศาลฎีกา ได้พิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์ สั่งจำคุก 6 แกนนำพันธมิตรฯคนละ 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และเตรียมคุมตัวส่งเรือนจำ

อย่างไรก็ตามนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านพรรคพลังประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการณ์การเมืองไทยในช่วงรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร จนถึงปี 2553 

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

ชนวนเหตุทั้งหมดเริ่มบานปลายภายหลังนายทักษิณ ต้องมีอันเป็นไปทางการเมือง และพรรคพลังประชาชนซึ่งถือเป็นเครือข่ายได้รับเลือกตั้งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เป็นการเปิดช่องทางให้รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เข้ามาทำงานบริหารประเทศ ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรฯ ก็มอบโอกาสให้รัฐบาลทำหน้าที่ แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่ารัฐบาลสมัครต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและสื่อสารมวลชนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่นเดียวกับรัฐบาลทักษิณ

แต่แล้วธาตุแท้ที่สะท้อนอย่างประจักษ์ว่านายสมัคร มีสถานะเป็นนอมินี ของนายทักษิณก็เผยให้เห็น ด้วยเพราะ รัฐบาลยังมีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการแทรกแซงสื่อมวลชนอยู่เนืองๆ ยิ่งไปด้วยนั้นปรากฏพบว่ากลุ่มการเมืองที่สนับสนุนนายสมัคร มีพฤติการณ์แสดงออกในทางคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

กระทั่ง 17 ก.ย. 2551 ด้วยความผันผวนทางการเมืองปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่แล้วด้วยขาดความชอบธรรมทางการเมือง เป็นเหตุให้สังคมต่างรุมประณามการกระทำของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแล้วรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็พ้นจากอำนาจไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเรื่องราวทั้งหมดจะผ่านมานานกว่าทศวรรษ และแกนนำที่ถูกตัดสินจำคุกจะยุติบทบาททางการเมืองภายหลังภาคประชาชาได้รับชัยชนะมาแล้วก็ตาม แต่ด้วยความเชื่อมั่นต่อกระบวนทางกฏหมายไทย ทำให้เหล่าแกนนำที่เสียสละพร้อมก้มหน้ารับความผิดอย่างบุรุษ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและบรรทัดฐานของระบบยุติธรรมไทย 

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

โดยเฉพาะ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ที่อยู่ในโคจรของการต่อสู้บนถนนการเมืองไทยด้วยวิธีสันติอหิงสามาโดยตลอด นับแต่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ที่ พล.ต.จำลอง ยืดหยัดอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนในฐานะแกนนำประชาชน เพื่อต่อต้านรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร โดยถูกจับกุมตัวกลางที่ชุมนุมเมื่อบ่ายวันทื่ 18 พฤษภาคม และในวันที่ 20 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสองเข้าเฝ้า โดยมีพระราชดำรัสสำคัญถึงการต่อสู้กันรังแต่จะทำให้บ้านเมืองพินาศ และภายหลังจาก พล.อ.สุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง  พล.ต.จำลอง ก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งทางการเมืองตามที่เคยได้ให้สัญญาไว้เมื่อครั้งชุมนุม 

ต่อมาในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย ในปี 2548 เป็นต้นมาพล.ต.จำลอง ได้เข้าร่วมเป็น 1 ใน 5 แกนนำเครือข่ายพันธมิตรฯ โดยตลอดเวลาที่ขึ้นปราศรัยมักจะเรียกร้องให้ผู้ขึ้นเวทีปราศรัยนั้นใช้วาจาที่สุภาพ ไม่ก้าวร้าว จนถึงขนาดเคยตำหนิ นายภูวดล ทรงประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวร่วมคนหนึ่งของพันธมิตรฯ บนเวทีมาแล้ว หลังจากที่นายภูวดลปราศรัยเสร็จ ทั้งนี้ พล.ต.จำลองมีบทบาทในการดูแลการชุมนุมและความปลอดภัย ด้วยเพราะมีประสบการณ์ด้านการทหารและยุทธวิธีจึงอาสาทำหน้าที่ดังกล่าว

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

ถัดมากับ ผศ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เป็นอีกหนึ่ง 1 ใน แกนนำที่ถูกตัดสิน ซึ่งยุติบทบาทการเมืองไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยผศ.สมเกียรติเคยมีบทบาทในการชุมนุมเมื่อปี 2549 และ  2551 แต่ด้วยเพราะยังไม่อาจทำให้ระบอบทักษิณหายไปจากการเมืองไทยได้ ในปี 2556  ผศ.สมเกียรติ จำต้องลุกขึ้นมา ร่วมกับ กปปส. เพื่อชุมนุมต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อีกครั้ง ในวันที่ 13 ม.ค. 2557 ทางกปปส.ได้จัดการชุมนุมแบบปิดแยกสำคัญ ๆ ในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 7 แห่ง โดยแยกออกเป็นเวทีต่าง ๆ 8 เวที ผศ.สมเกียรติก็ได้เป็นผู้รับผิดชอบเวทีที่แจ้งวัฒนะ แต่ภายหลังที่นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องมีอันเป็นไปทางการเมืองตามพี่ชาย ผศ.สมเกียรติ ก็เดินออกจากถนนการเมืองไทยอย่างสงบ มิได้เข้าร่วมพรรคการเมืองใดอีกเลย

ศาลสั่งจำคุกแกนนำพันธมิตร! แม้ยุติบทบาทแล้ว แต่กล้าทำก็กล้ารับ ไม่หนีคดีเหมือนใครบางคน?

สำหรับพิภพ ธงไชย เรียกได้ว่าคลุกวงในกับการเมืองไทยและเคลื่อนไหวเพื่อสังคมมาโดยตลอด ตั้งแต่ เป็น 1 ใน 100 ผู้ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และเป็นกรรมการองค์กรประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (ปช.ปช.) กับ นายธีรยุทธ บุญมี และร่วมเดินขบวนรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ต่อต้านฐานทัพอเมริกา ต่อต้านสงครามเวียดนาม และต่อต้านเผด็จการทหาร จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ถัดนั้นได้เข้าร่วมการเมืองภาคประชาชนอีกครั้งในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้เคลื่อนไหวในนามมูลนิธิเด็ก ร่วมกับ น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว และกรรมการผู้ใหญ่ของมูลนิธิ ตั้งกองทุน "รวมทุนน้ำใจไทย" เพื่อช่วยเหลือญาติวีรชนพฤษภา 35 ก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งในแกนนำพันธมิตรแล้วยืดหยัดอยู่เหนืออำนาจเผด็จการรัฐสภาของนายทักษิณได้ในที่สุด

แม้ว่าวันนี้คดีดังกล่าวจะถือเป็นที่สิ้นสุด หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำของการต่อสู้ระหว่างประชาชนและอำนาจอันฉ้อฉล ที่ต้องแลกมาด้วยอิสระภาพของเหล่าอดีตแกนนำเป็นเวลา 8 เดือน แต่ก็เป็นชัยชนะและจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเมืองในอุดมคติปราศจากระบอบการอันเสื่อมทราม หากเป็นไปดังนี้...ย่อมสะท้อนอย่างประจักษ์ว่าการเสียสละของเขาเหล่านี้จะไม่เป็นการสูญเปล่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

นี่คือวิถีของนักรบ! "รสนา" ซูฮก "6แกนนำพันธมิตรฯ" กักขังได้แค่กายแต่ไม่สามารถที่จะกักขังอุดมการณ์ได้

ศาลฯ ยกฟ้อง"แกนนำพันธมิตรฯ" คดีชุมนุมผิด พ.ร.บ.มั่นคงฯ ยุครัฐบาลอภิสิทธิ์

แกนนำพันธมิตร เปิดใจละเอียดยิบ สวนปาก"ทักษิณ"12ปี รัฐประหาร เสียดายและเสียใจ หาก"วงจรอุบาทว์"จะกลับมา!

อดีตแกนนำพันธมิตร เตือน ธนาธร แรง ระวังเป็น นักป้ายสีซ้อนป้ายสี (คลิป)

เป็นไปไม่ได้..หนีหายไปเฉยๆ!! แกนนำพันธมิตรฯยิงตรงคสช.รับผิดชอบ "ยิ่งลักษณ์" หนีฟังพิพากษาคดีโกงจำนำข้าว ทวงคำ "ประวิตร" ไหนล่ะส่งทหารดูแล??