ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอส

สุดยอดไปเลยหนู!! ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอสพันธุ์คริสต์มาสมาทำเป็น เครื่องไบโอฟิลเตอร์

จากปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ยังคงมีอยู่ และกลายเป็นปัญหาที่หลายคนเกิดความกังวลใจเนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพนั้น ล่าสุด ชาวเน็ตได้มีการแชร์บนเฟซบุ๊ก "สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI" ซึ่งระบุว่า เด็กหญิง ยินดี รังษี อายุ 8 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ได้ค้นพบกุญแจสำคัญในการจบปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยการนำมอสพันธุ์คริสต์มาสมาทำเป็น เครื่องไบโอฟิลเตอร์ ซึ่งน้องอธิบายไว้ว่าก่อนหน้านี้คุณพ่อได้พาตนเองไปเที่ยวชมสวนมอส เลยเกิดแรงบันดาลใจอยากจะกลับมาทดลองเลี้ยงและต่อยอดทำเป็นที่ดูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก

 

ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอส

 

เจ้าเครื่องดูดฝุ่นนั้นก็คือเครื่องไบโอฟิลเตอร์ ภายในเครื่องจะมีมอสที่ปลูกเลี้ยงไว้เป็นผืนกรองฟิลเตอร์ ลักษณะเป็นแนวดิ่งหลาย ๆ ชั้น เพื่อกรองควันหรือฝุ่นขนาดเล็ก และกรองออกซิเจนออกมาแทน ซึ่งลักษณะการทำงานเหมือนกับเป็นเครื่องกรองอากาศที่ขายดิบดีในเวลานี้

 

ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอส

 

โดยหลังจากนี้น้องยินดีจะพัฒนาในสเต็ปต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากการประสานงานของ 4 หน่วยงาน ลำดับแรกคือ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการดูเรื่องพันธุ์พืช ลำดับที่สองภาควิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการดูเรื่องโครงสร้างเครื่อง ลำดับที่สาม ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยลาดกระบัง ดูเรื่องระบบควบคุม และลำดับสุดท้ายที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ "แสงซินโครตรอน" โดยในอนาคตน้องยินดีคนเก่งจะนำแนวคิดทั้งหมดไปจดสิทธิบัตร และทำวิจัยกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เพื่อเป็นการต่อยอดได้อย่างเต็มศักยภาพด้วยเทคโนโลยีแสงวิทยาศาสตร์ขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอส

 

ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอส

 

ด.ญ.วัย 8 ขวบ ค้นพบวิธีแก้ฝุ่น PM 2.5 ด้วยมอส
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัยเตือน แผ่นแปะรูจมูกกรอง ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่มีงานวิจัย
"บิ๊กตู่"เสียงเข้มปราบฝุ่น PM 2.5 ออกคำสั่งให้กอ.รมน.ลุยสอบโรงงาน ปิดทันทีเจอควันพิษ ลุยจับรถควันดำ ลั่นอย่าให้ถึงขั้นวิ่งวันคู่ วันคี่   
ทิพยประกันภัย ติดตั้งเครื่องฉีดละอองน้ำบนดาดฟ้าอาคาร ดักฝุ่น PM 2.5 ลดผลกระทบย่านพระราม 3 และบริเวณใกล้เคียง

ขอบคุณ : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI