เปิดแล้วทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก "เขาใหญ่-ทับลาน"

พิธีเปิดทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกบน ระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กับอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี บนทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี-ปักธงชัย

เมื่อเวลา 10.00 น. น. วันที่ 9 มี.ค. 62  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี เปิดโครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกบนทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี-ปักธงชัย ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ ตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา และเปิดให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาได้แล้ว และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันนี้

 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

 

สำหรับโครงการทางเชื่อมผืนป่า ระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กับอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี เป็นการขยายถนนสาย 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 192+015 ถึง 195+015 ระยะทาง 3 กิโลเมตร ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) งบประมาณ 1,319.257 ล้านบาท เริ่มต้นสัญญา 17 ก.ค. 2558 ขยายสัญญาอีก 2 ครั้ง แล้วเสร็จเมื่อ 26 ม.ค. 2562 รวมระยะเวลา 1,290 วัน

 

ผู้ร่วมพิธี

 

ประกอบด้วย อุโมงค์คู่ช่วงยาว 250 เมตร ห่างออกไปประมาณ 100-200 เมตร เป็นอุโมงค์คู่ช่วงที่ 2 ยาวอีก 180 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ด้านบนอุโมงค์ปลูกต้นไม้ให้สัตว์ป่าเดินข้ามไปมา รวมทั้งติดรั้วกั้นด้านล่างอุโมงค์ไม่ให้รถเฉี่ยวชนสัตว์ป่า ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเป็นสะพานยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 570 เมตร โดยให้รถยนต์ใช้ทางยกระดับและปลูกต้นไม้ให้สัตว์ป่าลอดใต้ทางยกระดับดังกล่าว

พิธีเปิดงาน

 

 

อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจรถนนสาย 304 ยังเหลืออีก 2 ช่วง ได้แก่ ตอน 3 ส่วนที่ 1 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 208+800 ถึง 216+715 จ.นครราชสีมา และ จ.ปราจีนบุรี ระยะทาง 7.915 กิโลเมตร ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) งบประมาณ 795.365 ล้านบาท เริ่มต้นสัญญา 10 มิ.ย. 2558 ขยายสัญญาอีก 2 ครั้ง สิ้นสุดสัญญา 6 ก.ค. 2562 รวม 1,488 วัน

 

ชมนิทรรศการ

 

ส่วนตอน 2 ส่วนที่ 2 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 192+015 ถึง 195+465 ระยะทาง 3.450 กิโลเมตร ก่อสร้างโดย บริษัท ธนะสินพัฒนา (1999) จำกัด งบประมาณ 794.2 ล้านบาท เริ่มต้นสัญญา 25 มิ.ย. 2558 ขยายสัญญา 1 ครั้ง สิ้นสุดสัญญา 15 พ.ย. 2562 รวม 1,605 วัน ซึ่งพบว่ามีอุปสรรคบุคลากรและเครื่องจักรไม่เพียงพอ 

 

ป่า

 

หากก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.นครราชสีมา กับภาคตะวันตกที่ อ.กบินทร์บุรี อ.ปราจีนบุรี ผ่าน จ.นครนายก ต่อเนื่องไปยังกรุงเทพมหานคร แบ่งเบาการจราจรบนถนนมิตรภาพ และถนนพหลโยธิน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล รวมทั้งเป็นเส้นทางต่อเนื่องไปยังท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมต.คมนาคม ตรวจความคืบหน้าโครง การก่อสร้างอุโมงค์-สะพานยกระดับทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น และขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
 

จากนั้นนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้ขึ้นไปด้านบนของอุโมงค์เพื่อดูความโดดเด่นของโครงการ คือ การก่อสร้างทางเชื่อมผืนป่าที่ได้ออกแบบเป็นอุโมงค์ชนิดดินตัดและถมกลับ ที่บริเวณ กม. 194+485 ถึง กม.194+990 โดยถมดินด้านอุโมงค์ ปลูกต้นไม้เพื่อปรับปรุงและภูมิทัศน์และระบบนิเวศ เพื่อจูงใจให้สัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์ และสามารถข้ามฝั่งไป-มาได้ ปัจจุบันหลังคาของอุโมงค์ พบรอยเท้าของสัตว์ป่าข้ามไปมาหากันทั้งสองผืนป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน นอกจากนี้ยังทำบ่อน้ำเพื่อให้สัตว์ได้กิน รวมทั้งการทำโปร่งเทียมไว้เพื่อเป็นอาหารเสริมที่มีแร่ธาตุอีกด้วย

 

แปลงนา

นายอาคม   กล่าวอีกว่า การเปิดโครงการอุทยานสองอุทยานเชื่อมกัน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ เรียกว่าอุโมงค์เปิดเชื่อมผืนป่าตรงนี้ รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยรวมกันพิจารณาเพื่อกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเวลาที่เราใช้ไปเรื่องการจัดทำรายงานเพื่อความรอบครอบเนื่องจากเป็นอุทยาน และมาสัตว์ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากจึงได้ดำเนินการแล้วเสร็จอย่างที่เห็น

 

การทำโป่งเทียม

 

 หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จจะเห็นเรื่องของสัตว์ป่าที่เริ่มออกมาเดินบ้างแล้วทั้งสองฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลานหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมาเฝ้านับพันคืน และมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียด หลังก่อสร้างเสร็จมีรอยเท้าสัตว์มาอย่างที่เห็นเป็นข่าว การเชื่อมตรงนี้มีประโยชน์อย่างแท้จริง คือทั้งเรื่องเศรษฐกิจ คือถนนทำแล้วจะแก๊บอยู่ประมาณ 19 กม. ช่วงอุโมงค์ที่เป็นทางเดินสัตว์ป่าอยู่ประมาณ 430 เมตร ที่เราอุโมงค์เทียมขึ้นมาแต่ก่อนคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรเนื่องจากไม่ใช่สัตว์เล็ก เช่น กระรอก กระแต เราก็ทำบันไดให้เขาปีนไต่ได้  แต่ถ้าเป็นสัตว์เดินเท้าตรงนี้ไม่ได้ตรงเป็นพื้นที่ ต้องทำที่ 430 เมตร ที่เป็นอุโมงค์และมีการยกระดับที่เรายอมทุบถนนเดิมทิ้ง ทำสะพานยกระดับขึ้นมาประโยชน์เพื่อสำหรับสัตว์ใหญ่ที่ไม่สามารถลงทางลาดชันได้ ก็ลงชั้นล่างก็ลอดใต้สะพานไป เรื่องของการอนุรักษ์และเชื่อมตรงนี้เกิดการอนุรักษ์สัตว์ป่า ในอนาคตเราจะเห็นสัตว์ป่าทั้งหลาย จะแสวงหาในเรื่องของแหล่งอาหารเราก็ทำในเรื่องของโป่งและสัตว์กินพืชและพืชอาหารให้ เสริมในเรื่องวิตามินต่างๆก็จะเห็นสัตว์มาขึ้นตรงนี้

 

เสือ


สายชล หนูแดง ปราจีนบุรี /ข่าว-ภาพ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ช้างป่าเขาใหญ่โชว์ตัวที่โป่งทุ่งกวาง มอบของขวัญให้กับนักท่องเที่ยวไทย-ต่างชาติ

อากาศแปรปวน #​พายุถล่มเขาใหญ่ ต้นไม้โค่นถอนรากถอนโคนหลายต้น​(คลิป)

สลด! ลิงป่าเขาใหญ่ อายุ 5 ปี เหยื่อรายล่าสุด ถูกรถชนตาย วิงวอนขอให้ลดความเร็วของรถ