"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร"​ ที่เคยบอกว่า​ "(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร"​ ที่เคยบอกว่า​ "(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

บทความพิเศษ : ดร. เวทิน​ ชาติกุล


ว่าที่​ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ร่วม​ 80​ คนถ้าฝ่าด่าน​ "ยุบพรรค" ไปได้​ (ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัวผมคิดว่าอย่าไปยุบเขาเลย​ หลายคนที่เขาเป็น​ ส.ส.ก็น่าเป็นตัวแทนกลุ่มคนที่แทบไม่เคยมีใครไปสนใจ​ ส.ส.ที่พิการทางสายตา, ส.ส.ชาวม้ง, ส.ส.LGBT อะไรเหล่านี้พรรคเขาก็มีส่วนดีอยู่​ สร้างสรร​ ชนิดพรรคอื่นไม่คิดหรือไม่เห็นว่าจะทำกันบ้าง)​

คุณ​ธนาธร, คุณปิยะบุตร​ หรือ​ อ.ปิยะบุตร​ แห่ง​ นิติราษฏร์​ ก็จะกลายเป็น​ ท่านส.ส.ธนาธร​ ท่านส.ส.ปิยะบุตร​ ในอีกไม่ช้าไม่นาน​ และไม่เกิน​ 24​ พ.ค.ท่านผู้ทรงเกียรติทุกคนก็จะต้องเข้าร่วมพิธีการที่สำคัญคือ​ รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา​

 

\"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร\"​ ที่เคยบอกว่า​ \"(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ\" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

 

รัฐพิธีนี้เป็น​ "พิธีการหนึ่งที่สำคัญและเป็นเหตุการณ์อันทรงเกียรติที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณของประเทศไทยที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย" (1) โดยดำเนินมาตั้งแต่ ปี​ 2475จนถึงปัจตุบัน

ในเว็บไซด์​ของรัฐสภา​ ระบุว่า​ "เป็นพิธีการที่สำคัญที่สุดของรัฐสภาเนื่องด้วยพระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรกด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ มาประกอบรัฐพิธีก็ได้"

 

\"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร\"​ ที่เคยบอกว่า​ \"(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ\" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

 

(2) “รัฐ” เป็นฝ่ายดำเนินการกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาธิคุณเพื่อทรงรับไว้เป็นงานรัฐพิธี โดยมีพระมหากษัตริย์ หรือพระรัชทายาท หรือผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานเพื่อเป็นการพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้แทนของปวงชนชาวไทยเข้าเฝ้าฯ อย่างเป็นทางการ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475​ (3) (4​ วันหลังคณะราษฏร์ทำรัฐประหาร!! ไป​ "เลือก-ตั้ง" กันตอนไหน​ เร็วมากกกก... แซว)​ตอนนั้นยังไม่มีอะไรบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องทำอะไรอย่างไร​ ก็ได้อาศัย​ #ราชประเพณี​ เป็นแนวทาง​ 

แต่จนถึงปัจจุบัน "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550" ระบุไว้  มาตรา 128 “พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภาทรงเปิดและทรงปิดประชุม”

มาตรา 127 วรรคหนึ่ง “จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรก คือภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาท ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้”

 

ในการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก​ 28​ มุถุนายน 2474  นั้น​ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว​ ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนิน​ แต่ พระราชทานพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ไปอ่านในการเปิดประชุม​ ความว่า​ "วันนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นการสำคัญอันหนึ่งในประวัติการณ์ของประเทศอันเป็นที่รักของเรา ข้าพเจ้าเชื่อว่า ท่านทั้งหลายคงจะตั้งใจที่จะช่วยกันปรึกษาการงานเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสยามสืบไป

และเพื่อรักษาความอิสรภาพของไทยไว้ชั่วฟ้าและดิน ข้าพเจ้าขออำนวยพร แก่บรรดาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้บริบูรณ์ด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา เพื่อจะได้ช่วยกันทำการให้สำเร็จตามความประสงค์ของเราและของท่านซึ่งมีจุดมุ่งหมาย อันเดียวกันทุกประการเทอญ" (4)

 

วันที่ 1 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​รัชกาลที่​ 9​ ได้ทรงพระราชอุตสาหะ​ ​"โดยที่สุขภาพของพระองค์ยังไม่สมบูรณ์" เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาเป็น​ครั้งแรก​ เป็นรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาที่มีขึ้นภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก​ วันที่​ 5 พฤษภาคม​ 2493​ เพียงไม่กี่วัน (5)

 

\"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร\"​ ที่เคยบอกว่า​ \"(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ\" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

 

ส่วนรัฐพิธีครั้งล่าสุดคือวันที่​  1​ สิงหาคม​ 2554​ โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ซึ่งยังทรงเป็น​ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ​ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ใน​รัฐพิธีนี้​ (6)

สำหรับขั้นตอนในพิธีนั้น​ “รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาจะกระทำ ณ.ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม​ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ สมาชิกวุฒิสภา​ คณะทูตานุทูตที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท​ ทุกคนจะแต่งกายเต็มยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม​ แล้วเสด็จขึ้นประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ บนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตรภายในพระวิสูตร เมื่อประทับพระราชบัลลังก์เรียงร้อยแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ชาวม่านไขพระวิสูตร ชาวพนักงานประโคมกระทั่งแตรมโหระทึก ทหารกองเกียรติยศถวายเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

 

เมื่อสุดเสียงประโคมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำรัสเปิดประชุมรัฐสภา จบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับให้สัญญาณอีกครั้งหนึ่ง ชาวม่านปิดพระวิสูตร มีประโคมและสรรเสริญพระบารมีเช่นเดียวกับเมื่อเสด็จออก อันเป็นการสิ้นสุดของการเสด็จออกมหาสมาคมเพื่อทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา”​

(7) รัฐพิธีนี้เป็น​ #ธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ  #เป็นราชประเพณี​ ตาม​​ “พระราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี” ของไทย  ​#ภายใต้การปกรองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ซึ่ง​เป็นคำที่​ พรรคอนาคตใหม่ทั้งพรรค​ รวมคุณธนาธร​ (ที่อาจถูกตัดสิทธิ์)​ ท่านส.ส.ปิยะบุตร​ เลือกที่จะไม่เขียนคำคำว่า​ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ไว้ในแม้แต่ในนโยบายและจุดยืนของพรรค​

 

\"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร\"​ ที่เคยบอกว่า​ \"(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ\" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

 

ในอีกด้าน​อาจารย์​ ปิติ ศรีแสงนาม​ (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)​ ได้กล่าวถึงจุดยืนที่ชัดเจนของ​ ท่านส.ส.ปิยะบุตร​ เอาไว้ว่า​ (ขออนุญาตเรียบเรียงให้กระชับ​ โดยจะอ้างที่มาไว้ด้วยเพื่อให้เข้าไปตามอ่านฉบับเต็มได้เอง)​

“...ในการเสวนาหัวข้อ “การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์” ซึ่งจัดโดยกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เมื่อวันที่ 17/2/2013  โดยในนาทีที่ 7.25 อาจารย์ปิยบุตรก็กล่าวถึงแนวคิดของ Louis Antoine de Saint-Just…ในการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16

 

“...คุณไม่ต้องไปดูหรอกว่าองค์พระประมุขหรือพระมหากษัตริย์เขาจะเป็นคนดี หรือ คนเลว เขาจะทำงานดี หรือ ทำงานไม่ดี โดยสภาพการณ์ของสถาบันกษัตริย์ ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ มันเป็น Tyranny มันเป็นทรราชในตัวมันเอง...”  และ​ “...การเป็นทรราชไม่ได้ถือว่าเป็นคนเลว แต่เพราะการถืออำนาจของทั้งหมดทุกคนไปถือไว้ที่คนคนเดียว มันผิดตั้งแต่แรกแล้ว มันผิดตั้งแต่วันเริ่มต้น โดยลักษณะทางธรรมชาติของตัวสถาบันเอง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น...” (7)

โดย​ อาจารย์​ ปิติ​ ระบุว่า​ “ผมเชื่ออีกเหมือน​กันว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ และแสดงให้เห็นว่าอาจารย์(ปิยะบุตร)​อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเงื่อนไขและบริบทของสังคมไทย” (8) และไม่นับว่าเมื่อ​ “...พยายามไปหา Quote ของ  Louis Antoine de Saint-Just ที่อาจารย์ปิยบุตรอ้าง แต่ผมยังหาไม่เจอ อันที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นอันนี่ครับ “One cannot reign innocently: the insanity of doing so is evident. Every king is a rebel and a usurper” (8)

 

\"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร\"​ ที่เคยบอกว่า​ \"(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ\" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!

 

ซึ่งทำให้​ อาจารย์ปิติเข้าใจว่า​ “...อาจจะเป็นการวิเคราะห์โดยตัวอาจารย์เองก็ได้ แต่ผมคิดว่าแนวคิดแบบนี้อันตรายครับ” (9) ตอนนี้​ ค่อนข้างชัดเกิน​ 80-90% แล้วว่า​ คุณธนาธร​ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่​ อาจไม่ได้เป็น​ "ท่าน​ ส.ส.ธนาธร" อย่างแน่นอน​ เพราะกรณี​ "ฃุกหุ้นสื่อ"

ส่วนท่านส.ส.ปิยะบุตร​ ซึ่งได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้อย่างชัดเจน​ ซึ่งเป็นจุดยืนที่​ “ยังไม่ค่อยเข้าใจเงื่อนไขและบริบทของสังคมไทย”, เป็น​ “อันตราย” และ​ “คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ”

ถึงวันนี้ก็เกิดความสงสัยกับสังคมว่าจะไปยืนอยู่ในรัฐพิธี​ที่สำคัญในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบบไหนอย่างไร​ และในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนฯจะ​ #รับสนองพระราชดำรัส​ เปิดประชุมรัฐสภากันแบบไหนอย่างไร​ในเมื่อครั้งหนึ่ง​เคยพูดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า​

“...สถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องปรับตัวให้อยู่ได้กับประชาธิปไตย โดยแยกการใช้อำนาจจากรัฐให้เป็นเพียงหน่วยทางการเมืองหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำให้กษัตริย์ไม่สามารถใช้อำนาจใด ๆ ผ่านรัฐได้อีกต่อไป โดยในทางรูปธรรมนั้นหมายถึง​ #การไม่อนุญาตให้กษัตริย์สามารถทำอะไรเองได้ เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบคือผู้สนองพระบรมราชโองการ รวมถึง​การไม่อนุญาตให้กษัตริย์แสดงพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะ... "(10)

และ "วิธี... ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญคือ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้สถาบันกษัตริย์มีหน้าที่ในการเคารพและพิทักษ์รัฐธรรมนูญ #ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องสาบานตนต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ"(11)

 

หมายเหตุ
(1) (2) (3) (4) (5) "รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา". https://www.parliament.go.th/ratpiti/rattapite.htm?vcode=175

(6) "รัฐพิธีสมัยเปิดประชุมรัฐสภา​ 2554". https://youtu.be/tXmQlRO7LFI

(7) (8) (9) ผศ.ดร.ปิติ​ ศรีแสงนาม
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156990966877225&id=625882224

(10)  ปิยะบุตร​ แสงกนกกุล​ เสวนาเรื่อง "เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย" 27 ธันวาคม.2554.​  อ้างอิง​ https://hilight.kapook.com/view/67008

(11) ปิยบุตร แสงกนกกุล 18 มีนาคม 2555 ในงาน "แขวนเสรีภาพ" ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว.​ อ้างอิง
https://prachatai.com/journal/2012/03/39717

 

\"ท่าน​ ส.ส.​ปิยะบุตร\"​ ที่เคยบอกว่า​ \"(กษัตริย์) ​ต้องสาบานต่อสภาผู้แทนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ\" จะทำอย่างไรในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภา!!