- 30 มี.ค. 2562
อย่าเพิ่งมั่นใจบริสุทธิ์!! เปิดพ.ร.บ.เลือกตั้ง “ธนาธร” โอนหุ้น “วี-ลัค มีเดีย” กกต.ต้องนำพิสูจน์ในศาลรธน.
ถือเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองหนักหน่วง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข่าวการรวมขั้วจัดตั้งรัฐบาลไปแล้วเวลานี้ สำหนับเส้นทางการเมืองของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สืบเนื่องจากการถือครองหุ้นสื่ออย่าง บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เนื่องจากแนวโน้มการตั้งรัฐบาลเวลานี้ต้องถือว่ายุติชั่วคราว เนื่องจากคะแนนเสียงของทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ในจุดที่ไม่อาจทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้
สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำก็คือบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 ซึ่งระบุถึงข้อห้าม บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะเนื้อความในวงเล็บ (3) ระบุชัดเจนถึงข้อห้าม สำหรับบุคคลที่เข้าข่าย การเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
ขณะที่กรณีของนายธนาธร ถูกสืบเสาะโดยสำนักข่าวอิศรา พบข้อมูลน่าสงสัยว่าการถือครองหุ้นของนายธนาธร จะเข้าข่ายการกระทำผิดหรือไม่ เนื่องจาก 1. นายธนาธร และ นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้เป็นภรรยา โอนหุ้นจำนวน 675,000 หุ้น
หรือ คิดเป็นสัดส่วน 15% และ 225,000 หุ้น คิดเป็น 5% ตามลำดับ ไปให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดาของนายธนาธร เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 หรือก่อนจะมีการเลือกตั้งเพียง 3 วัน และประการสำคัญถือเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังการรับสมัครเลือกตั้ง ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562
ประการที่ 2 แม้ว่านายธนาธรจะโพสต์ตอบโต้ ผ่านข้อความและแสดงเอกสารประกอบการโอนหุ้น ผ่านทวิตเตอร์ ระบุว่า ข้อกล่าวหาเรื่องการถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด อาจทำให้ขาดคุณสมบัติการลงเลือกตั้ง ไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน เนื่องจากมีการโอนหุ้นไปตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา หรือ 1 เดือนก่อนการยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง
แต่ด้วยการไม่มีการชี้แจงกรณีดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เหมือนหลาย ๆ ข้อกล่าวหาที่ผ่านมา ก็ทำให้เกิดกรณีการขุดคุ้ย และกลายเป็นข้อคำถาม ประเด็นที่ 3 ด้วยการตรวจพบว่า มียื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 256
โดยนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ กรรมการ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท พร้อมแจ้งกรรมการลาออก 1 คน คือ นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ทำให้จากเดิมมีกรรมการ 3 คน คงเหลือกรรมการเพียง 2 คนคือ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ และ น.ส.รุจิรพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ
แต่ประหลักที่กำลังกลายเป็นจุดน่าสังเกต และถูกนำไปขยายต่อว่าอาจเป็นเงื่อนปมผูกมัดตัวนายธนาธร ก็คือ เอกสารการยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าว ซึ่งมีการแนบเอกสารคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด พร้อมระบุข้อความว่า บริษัทฯได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 ณ บ้านเลขที่ สนามไดร์ฟกอล์ฟเบอร์ดี้ไฟว์ ห้องประชุมชั้น 2 เลขที่ 43/10 ม.6 ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
โดยมีกรรมการ/ผู้ถือหุ้นเข้าประชุม จำนวน 10 คน และมีนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม พร้อมกับยังแสดงรายละเอียดด้วยว่าได้มีการบอกกล่าวนัดประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ/ส่งมอบให้แก่ตัวผู้ถือหุ้นแล้ว
รวมถึงยังมีการระบุเป็นรายละเอียดในหนังสือนัดหมายการประชุม ด้วยว่า ได้มีหนังสือลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ของนางรวิพรรณ ลงวันวันที่ 18 มีนาคม 2562 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2562 นับแต่บริษัทได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562
และด้วยสาระสำคัญตรงนี้จึงเกิดข้อคำถามจากการที่อ้างถึงการลาออกของกรรมการ 2 คนแล้ว คือ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ นางวริพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ แต่เหตุใดในการประชุมบริษัท วี-ลัค มีเดีย จึงยังคงจำนวนรายชื่อ จำนวนผู้เข้าประชุม จำนวน 10 คน ทั้ง ๆ ที่นายธนาธรอ้างว่ามีการลาออกจากกรรมการบริษัทแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 และยิ่งทำให้ข้อกังขาเรื่องการโอนหุ้นของนายธนาธร มีข้อเคลือบแคลงมากยิ่งขึ้น ว่าเกิดขึ้นก่อนหรือหลังสมัครรับเลือกตั้ง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง - ผู้นำที่ฝากความหวังไม่ได้! "สุวินัย" ล้วงกำพืด "ธนาธร" ไม่ซื่อตรงการรับรู้โลก บิดเบือนความจริงเพื่อให้ "อนาคตใหม่" ชนะการเลือกตั้ง!
ดังนั้นถ้า นายธนาธร และ นางรวิพรรณ โอนหุ้นให้นางสมพรจริง ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 ตามคำกล่าวอ้างของนายธนาธร เหตุใด บริษัท วี-ลัค มีเดีย จึงกลับระบุว่า ในการประชุม ผู้ถือหุ้นวันที่ 19 มีนาคม 2562 ที่มีวาระเรื่องการแจ้งลาออกจากกรรมการของนางวิรพรรณ ยังคงมีกรรมการ/ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ทั้ง ๆ ที่ควรจะเหลือกรรมการ/ผู้ถือหุ้น 8 คน เข้าร่วมประชุม
เนื่องจากนายธนาธรและภริยา ไม่ได้เป็นกรรมการ ล่าสุด วันที่ 29 มีนาคม 2562 นายธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยอมเปิดปากชี้แจงเรื่องนี้เป็นครั้งแรก โดยย้อนไปถึงลักษณะธุรกิจของ
"ผมยืนยันว่าได้ขายหุ้นคืนให้คุณสมพรแล้ว อีกทั้งวันที่ 19 มีนาคม ผมมีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพราะติดลงพื้นที่หาเสียงที่ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ จังหวัดกระบี่ ดังนั้นกระบวนการที่เผยแพร่และอาจมีการตรวจสอบอีกครั้งหลังจากนี้ผมไม่มีปัญหา พร้อมยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทดังกล่าวแล้ว" ก่อนจะอ้างว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
จึงมีการเลิกจ้างพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2561 และทางผู้ถือหุ้นก็มีมติปิดกิจการแล้ว โดยบริษัทได้หยุดการปฏิบัติการไปตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ดังปรากฏข้อมูลในส่วนของงบการเงินตั้งแต่ปี 2562 ว่าบริษัทไม่มีรายรับใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้นายธนาธร ยังอ้างในระหว่างนำสื่อมวลชนเข้าไปยัง บริษัท วี-ลัค มีเดีย ด้วยตัวเองว่า เมื่อรับรู้เกี่ยวกับปัญหาการดำเนินธุรกิจ ตนเองก็ทำเรื่องขายหุ้นตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 ซึ่งก็ขอย้ำว่ากรณีที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องปกปิดอะไร เพียงแต่เรื่องเอกสารสำนักงานทั้งหมด ได้โอนย้ายไปที่สำนักงานธุรการส่วนตัวของ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ
ซึ่งตนไม่รู้ว่าเอกสารเรื่องการปิดบริษัท การโอนหุ้นจะไปยื่น วันไหน ก่อนการเลือกตั้งกี่วัน ยืนยันได้แค่ว่าบริษัทได้ปิดตัวไปนานแล้ว และประเด็นสำคัญคือการซื้อขายหุ้น กับการจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์ ถือเป็นคนละเรื่องกัน โดยไม่ได้มีการบังคับใดๆ ว่าจะต้องทำทุกครั้งอย่างที่เข้าใจ
"ผมยืนยันว่าได้ขายหุ้นคืนให้คุณสมพรแล้ว อีกทั้งวันที่ 19 มีนาคม ผมมีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพราะติดลงพื้นที่หาเสียงที่ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ จังหวัดกระบี่ ดังนั้นกระบวนการที่เผยแพร่และอาจมีการตรวจสอบอีกครั้งหลังจากนี้ผมไม่มีปัญหา พร้อมยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทดังกล่าวแล้ว"
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีประเด็นให้ต้องเกาะติดต่อไป เนื่องจากการชี้แจงของนายธนาธร เกิดขึ้นหลังจากกรณีนี้เป็นข่าวใหญ่มานานหลายวัน และเอกสารต่าง ๆ ที่ทางสำนักข่าวอิศรานำเสนอก็มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอให้สาธารณชนเกิดข้อสงสัย และ สมควรที่กกต.จะนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามรายละเอียดคำร้องตั้งแต่ วันที่ 25 มีนาคม 2562 โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง - ชัดเจน!! "คำนูณ" ชี้ ปมหุ้นธนาธร ให้กกต.สอบ หากผิดส่งศาลตัดสินทันที!
เรื่องขอให้มีการวินิจฉัยคุณสมบัติของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สืบเนื่องจากโอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ จำนวน 900,000 หุ้น มูลค่า 9 ล้านบาท
โดยนายศรีสุวรรณ ระบุว่า การกระทำของนายธนาธร อาจเข้าข่ายมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 98 (3) ประกอบมาตรา 42 (3) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ถือได้ว่า เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
เนื่องจากมีข้อมูลการถือหุ้นในธุรกิจสื่อ ตามข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 นายธนาธร ได้ยื่นหลักฐานต่อ กกต. ปรากฏชื่อในตราสารโอนหุ้นระหว่างนายธนาธร กับนางสมพร ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 แต่รายงานการส่งสำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 จึงไม่สามารถบอกได้ว่า การโอนหุ้นจริงเกิดขึ้นเมื่อใด และบริษัททำการจดแจ้งลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อใด
นายศรีสุวรรณ แสดงรายละเอียดเพื่อการนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยว่า การยื่นหลักฐานดังกล่าว ต้องสอดคล้องกับหลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินบุคคลธรรมดา เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี นับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
ว่ามีขั้นตอนดำเนินการเรียบร้อย ก่อนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 แล้วจริงหรือไม่ มีการจ่ายเงินค่าหุ้นจริงหรือไม่ และหากมีได้ชำระภาษีถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่ตรงตามหลักฐานที่นายธนาธรยื่นต่อ กกต. เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นวันที่นายธนาธรยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ
และก็เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 53 ซึ่งระบุว่าก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หากผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
มิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและผู้สมัครผู้นั้นได้คะแนนอยู่ในลําดับที่จะได้รับการเลือกตั้ง ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัย ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าผู้สมัครผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว ให้มีคําสั่งยกเลิกการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นและสั่งให้ดําเนินการเลือกตั้งใหม่ ในกรณีนี้มิให้นําคะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับไปใช้ในการคํานวณตามมาตรา 128
ส่วนกรณีตามวรรคหนึ่งหากผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามได้คะแนนไม่อยู่ในลําดับที่จะได้รับการเลือกตั้ง มิให้นําคะแนนที่ผู้สมัครนั้นได้รับไปใช้ในการคํานวณ ตามมาตรา 128
ในกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากผู้สมัครผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ตนเป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้เป็นการชั่วคราว และดําเนินการต่อไปตามมาตรา 138
มาตรา 54 กรณีที่พบเหตุตามมาตรา 53 ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้ง และผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากผู้สมัครผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้วปกปิด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง - "อุ๊ หฤทัย" กล่าวเปิดใจ ยินดีให้ธนาธรเป็นนายกฯ แต่ต้องกตัญญูแผ่นดิน (คลิป)
หรือไม่แจ้งข้อความจริงนั้น ให้ถือว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม และให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ให้นําความในมาตรา 131 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัยเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย