- 24 พ.ค. 2562
เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 23 พ.ค.62 นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค "Anutin Charnvirakul" ระบุข้อความสั้นๆว่า ‘คบเด็กสร้างบ้าน’ พร้อมรูปภาพ ภาพของตนจากการใช้แอพพลิเคชั่นSnapchat หรือเรียกกันว่า แอพพ์หน้าเด็ก ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่โซเชี่ยลไทยขณะนี้
เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 23 พ.ค.62 นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค "Anutin Charnvirakul" ระบุข้อความสั้นๆว่า ‘คบเด็กสร้างบ้าน’ พร้อมรูปภาพ ภาพของตนจากการใช้แอพพลิเคชั่นSnapchat หรือเรียกกันว่า แอพพลิเคชั่นหน้าเด็ก ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่โซเชี่ยลไทยขณะนี้
อย่างไรก็ตามเป็นที่หน้าสังเกตว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ก็ออกมาแถลงผลการประชุม ส.ส. ครั้งที่ 2/2562 มีวาระที่สำคัญใน 2 เรื่อง ประกอบด้วย
1.รอรับฟังผลการประสานงานพรรคการเมืองต่าง ๆ ตามมติของกรรมการบริหารพรรค ที่มอบหมายให้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ไปดำเนินการแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ต้องมีการประชุมติดตามผลอีกครั้งในวันที่ 24 พ.ค. 2562
2.มติเห็นชอบให้เกิดกระบวนการสรรหา โดยการอาสาผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ การเลือกบุคคลผู้ทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยการสรรหาของพรรคประชาธิปัตย์
ประเด็นสำคัญจากการแถลงดังกล่าวของ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุด้วยอาสาผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติคนดังกล่าว ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดชื่อ และคงรอให้ผ่านพ้นรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาในวันที่ 24 พ.ค. ไปก่อน จึงจะมาประชุมหารือกันอีกครั้ง โดย ส.ส.ของพรรคและกรรมการบริหารพรรค ก่อนจะมีการเลือกประธานสภาฯและรองประธานสภาฯในวันที่ 25 พ.ค. 2562
จากทิศทางการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือเกมส์การเมืองที่พรรคประชาธิปัตย์ กำลังเดินหน้ากดดันพรรคพลังประชารัฐ และรวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยตรง เพราะกระแสข่าวก่อนหน้าในการประชุม ส.ส.พรรค ได้มีมติให้นายเฉลิมชัย ไปหารือกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ โดยเฉพาะการจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรี ร่วมกับพรรคภูมิใจไทย ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม พร้อมเปิดทางให้พรรคพลังประชารัฐได้โควต้าเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร
แต่ท้ายสุดที่ประชุมส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างกลุ่มนายชวน หลีกภัย และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ กลุ่มส.ส.ที่อยากให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในพรรค ผ่านการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กลับมีมติซ้อนทับกับการเจรจาทื่เกิดขึ้นก่อนหน้า เรื่องการเสนอชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร แข่งกับพรรคพลังประชารัฐ แม้ว่าจะมีการมอบหมายให้นายเฉลิมชัย ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ไปเป็นแกนประสานงานแล้วก็ตาม
แน่นอนว่าการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ แปลความเป็นอื่นไม่ได้นอกจากการตีรวนทางการเมือง เพราะรู้ดีอยู่แล้วว่า ส.ส.ในซีกของพรรคเพื่อไทยและพันธมิตร รวม 7 พรรค จำนวน 245 เสียง มีการผนึกเสียงเป็นหนึ่งเดียว แต่กรณีที่เกิดขึ้นกับพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ เท่ากับว่าคะแนนเสียงอีก 255 เสียง จะถูกลดทอนไปโดยปริยาย ด้วยวิธีการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากจำนวน 52 เสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องอยู่ในสภาพอิหลักอิเหลื่อว่าจะเลือกใครเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างรายชื่อที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล กับ รายชื่อที่จะมีการพิจารณาจากที่ประชุมส.ส.และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
โดยภาพรวมของสถานการณ์ถ้าในขั้วการจัดตั้งรัฐบาล ที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ยังคงดำเนินไปเช่นนี้ แน่นอนว่า บทสรุปเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรย่อมหนีไม่พ้น ตกเป็นของขั้วพรรคเพื่อไทยและพันธมิตรอย่างแน่นอน ด้วยจำนวนเสียงที่มากกว่า ในทางตรงข้ามถ้าพรรคพลังประชารัฐแก้สถานการณ์ เพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลดำเนินต่อไปไปได้ โดยการยอมสละเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคประชาธิปัตย์ ก็จะทำให้ภาพลักษณ์ทางการเมืองของพรรคแกนนำอย่างพรรคพลังประชารัฐ ตกเป็นเบี้ยล่างของพรรคประชาธิปัตย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปมสำคัญก็คือ การพลิกเกมส์ต่อรองชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคพลังประชารัฐครั้งนี้ ใครอยู่เบื้องหลัง และมีเจตนาอะไร ด้วยความเป็นไปได้สูงสุดว่า ทั้งหลายทั้งปวงของสถานการณ์การเมืองทื่เกิดขึ้น เป็นปฏิบัติการจากผู้มีอำนาจในพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งกำลังบืบเกมส์ให้ไปสู่การล้มกระดานทางการเมือง
โดยอาศัยจำนวนส.ส. 52 เสียงเป็นเครื่องมือต่อรองพรรคพลังประชารัฐ ที่มีจุดยืนชัดเจนในการสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะถ้าการต่อรองเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นผล พรรคประชาธิปัตย์ก็คงใช้ประเด็นนี้เป็นข้ออ้างในการไม่จับขั้วจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งก็อาจมีเจตนาเช่นนี้อยู่แล้ว จึงดันทุรังจะเสนอชื่อผู้สมัครชิงเก้าอี้ประธานสภาฯขึ้นมาซ้อนทับพรรคพลังประชารัฐ
ขณะที่การดันทุรังของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ภายใต้ดุลอำนาจของความเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยก็จะกลายเป็นความสุ่มเสี่ยงยิ่ง ที่ทำให้เลี่ยงไม่พ้นการประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้สถานการณ์การเมืองในช่วง 1-2 วันนี้ จึงจำเป็นต้องจับจ้องโดยห้ามกระพริบตาโดยเด็ดขาด !!
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- "ธนาธร"ควง"ปิยบุตร" แต่งชุดขาวร่วมเปิดสภาฯ ยันไม่มีงูเห่าแน่นอน!
- เบื่อนักการเมืองจริงๆ เชียร์ลุงตู่ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนชี้ขาดไปเลยว่าจะเอาข้างไหนก็เอาไปสักข้าง
- อดีตผู้พิพากษาศาลฏีกา ยกเคสยิ่งลักษณ์ถึงธนาธร!หวังประวัติศาสตร์ไม่ซ้ำรอย