- 28 พ.ค. 2562
“หม่อมกร” คารวะ “ป๋าเปรม” ผลักพลังงานนำไทยสู่ความโชติช่วงชัชวาล - ขณะที่ธนาธร เสียดคุณ ขวางรัฐสวัสดิการ
สื่บเนื่องจากกรณีการอสัญกรรมอย่างสงบของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเมื่อช่วงเช้า นที่ 26 พ.ค. 62 ล่าสุดทางด้านของ หม่อมหลวง กรกรสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “คุยกับหม่อมกร” ระบุว่า... ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ปิดทองหลังพระ กับคุณูปการด้านพลังงานไทยเพื่อคนไทยทุกคน
แม้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมทำให้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การพึ่งพิงบริษัทเอกชนข้ามชาติ แต่รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้พยายามแก้ไขข้อด้อยในระบบสัมปทาน โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาการร่วมทุนและการซื้อขายปิโตรเลียมขึ้นภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีเรืออากาศโทศุลี มหาสันทนะ เป็นประธาน เพื่อเจรจากับผู้ได้รับสัมปทานเพื่อแบ่งผลผลิตปิโตรเลียมด้วยการให้รัฐร่วมทุนในแหล่งที่เอกชนพบปิโตรเลียมแล้ว โดย ครม.พลเอกเปรม ได้อนุมัติให้ตั้งบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติขึ้นในนาม บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด อันเป็นการแก้ไขข้อเสียเปรียบทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศเพิ่มขึ้น
ผลการเจรจากับบริษัทเชลล์ผู้รับสัมปทานในแหล่งสิริกิติ์แหล่งน้ำมันดิบบนบกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
1) ผู้รับสัมปทานในแหล่งสิริกิติ์ต้องขายน้ำมันดิบ เพื่อใช้ในประเทศ ให้แก่รัฐ ในราคาต่ำกว่าตลาดโลกร้อยละ 8.5 รวมถึงน้ำมันทุกแหล่งในเขตแปลงสัมปทานเอส 1 รัฐโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้สิทธิซื้อน้ำมันดิบทั้งหมดทั้งส่วนที่ใช้ภายในประเทศกับส่วนที่เหลือใช้ภายในประเทศ
2) เอกชนยอมให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียมในสัมปทานแปลงเอส 1 โดยระยะเริ่มแรกสัดส่วนการร่วมทุนของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเท่ากับร้อยละ 25 และจะสูงขึ้นตามลำดับตามปริมาณการผลิตในระดับต่าง ๆ
ในการบริหารงานให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัทในเครือ เพื่อเข้าร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียม โดยใช้ชื่อว่า “บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด” โดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ถือหุ้นทั้งหมด ร้อยละ 100 จึงเป็นบรรษัทพลังงานแห่งชาติที่ทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมแห่งแรกและแห่งเดียวเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในทรัพยากรของชาติและคนไทย
นโยบายดังกล่าว จึงนับเป็นความชาญฉลาดในการแก้ไขปัญหาความอ่อนด้อยของระบบสัมปทานที่กระบวนการในการออกกฎหมายถูกครอบงำโดยสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเวียดนามที่สหรัฐเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ การแก้ไขนโยบายทำให้กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ต้องตกเป็นของผู้รับสัมปทานเอกชนหลังผลิตปิโตรเลียมได้ กลายเป็นของรัฐด้วยนโยบายที่เอกชนต้องขายปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดในราคาต่ำกว่าตลาดโลกให้แก่รัฐ และรัฐยังได้ปิโตรเลียมมาในราคาทุนในส่วนที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด เข้าร่วมลงทุน อันเป็นก้าวแรกในการนำไทยไปสู่ “ความโชติช่วงชัชวาล” เป็นประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนไทยอย่างยิ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการนำอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติกลับคืนสู่ประเทศชาติ รัฐมีอำนาจตัดสินใจเต็มที่เหนือทรัพยากรที่ผลิตขึ้นมาได้ ทั้งการกำหนดราคา การจัดสรรแบ่งปันให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศ
(2) เมื่อปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดเป็นของรัฐ จึงนำมาซึ่งความมั่นคงทางพลังงานอย่างแท้จริง
(3) เมื่อรัฐได้ปิโตรเลียมมาในราคาต่ำกว่าตลาดโลกส่วนหนึ่งและได้มาในราคาทุนอีกส่วนหนึ่ง ทำให้รัฐสามารถกำหนดราคาพลังงานที่เหมาะสมกับการครองชีพของประชาชนได้ นำมาซึ่งความมั่นคงทางพลังงานทั้งในมิติใหม่
(4) สิทธิการร่วมทุนในแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบและผลิตได้เชิงพาณิชย์ ร้อยละ 25 และจะเพิ่มอัตราส่วนการลงทุนให้สูงที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เป็นสิทธิพิเศษของรัฐในการลงทุนในช่วงความเสี่ยงต่ำที่ได้ประโยชน์หลายประการ กล่าวคือ เพื่อให้บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐได้รับการถ่ายโอนเทคโนโยลีอย่างแท้จริง ลดการพึ่งพิงพึ่งพาบริษัทเอกชนต่างชาติและยืนบนขาตนเองได้ในระยะยาว และลดกำไรส่วนเกินของผู้รับสัมปทานเข้ามาเป็นผลประโยชน์ของประเทศ
(5) รัฐมีสิทธิประโยชน์เต็มในปริมาณสำรองตามสัดส่วนการร่วมทุน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐสามารถนำมาลงบัญชีเพื่อเพิ่มเครดิตความน่าเชื่อถือให้กับประเทศ ดังเช่นการมีทองคำสำรองในธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานอีกด้วย
แต่เพียง 7 ปี ต่อมาในวันที่ 12 กันยายน 2535 ขณะที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด ทำหน้าที่ในฐานะบรรษัทพลังงานแห่งชาติเพื่อคนไทยทุกคนกำลังมีความก้าวหน้าและมีการขยายตัวอย่างมาก (นิตยสารผู้จัดการ, กันยายน 2537) กระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และมีมติเห็นชอบในการนำหุ้นทุนของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด เข้าจดทะเทียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกลุ่มเป้าหมายของนักลงทุน 40 ล้านหุ้น เสนอขายต่างชาติไม่เกิน 40 % หรือ16 ล้านหุ้น และนิติบุคคลไทยไม่เกิน 20% หรือ 8 ล้านหุ้น (เว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
มติคณะรัฐมนตรีนายอานันท์ ในการแปรรูปบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด นี้ ถือเป็นจุดสิ้นสุดบทบาทบรรษัทพลังงานแห่งชาติที่มีหน้าที่เพื่อปวงชนชาวไทยที่เกิดขึ้นในยุคนโยบายทรัพยากรพลังงานสร้างความโชติช่วงชัชวาลที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม รัฐบุรุษได้ริเริ่มไว้
รัฐวิสาหกิจนี้จึงต้องเปลี่ยนบทบาทตาม พรบ.หลักทรัพย์ ฯ 2535 คือเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นใหม่ที่มีทั้งเอกชนไทยและต่างชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ผมเขียนบทความนี้ด้วยความเสียใจ และขอระลึกถึงคุณความดีของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ได้พยายามทำให้พลังงานนำไทยไปสู่ความโชติช่วงชัชวาล พวกเราจะไม่ปล่อยสิ่งที่ท่านริเริ่มไว้ต้องสูญเปล่า แต่จะสืบสานเจตนารมณ์ของท่านที่ยึดมั่นในการจัดการทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนตลอดไป
ด้วยจิตคารวะ
หม่อมหลวงกรกรสิวัฒน์ เกษมศรี
อนึ่งสุดท้ายมาพลังงานไทยก็กลายเป็นธุรกิจหุ้นเต็มรูปแบบ โดยบุคคลผู้หยิบฉวยรัฐสวัสดิการมาใช้หลอกล่อ ประชาชนเลือกพรรคไทยรักไทย ที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กำลังเพ้อ แล้วใช้คำพูดส่อเสียดคุณความดีของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ
- ประชาธิปัตย์สร้างภาพร่วม-ไม่ร่วมพปชร. ??? New Dem รู้ ทำไมไม่ลาออกมา ???
- กกต.ประกาศรับรองส.ส.ใหม่ "มาดามเดียร์-ตั๊น" พร้อมร่วมโหวตนายกฯได้หลังการปฏิญาณตน