ศาลอาญาตัดสินคดีผู้บริหารสถาบัน ULC ประเทศไทยแล้ว

จากกรณีที่ นายนพดล ก้อนคำ เป็นจำเลย ผู้ประสานงานสถาบัน ULC (Universal Life Church) ในความผิดฐานร่วมกันจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันจัดการศึกษาระดับปริญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จฯ โดยจำเลยให้การปฏิเสธ ต่อสู้คดี

จากกรณีที่ นายนพดล ก้อนคำ เป็นจำเลย ผู้ประสานงานสถาบัน ULC (Universal Life Church) ในความผิดฐานร่วมกันจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันจัดการศึกษาระดับปริญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จฯ โดยจำเลยให้การปฏิเสธ ต่อสู้คดี

ล่าสุด ที่ห้องพิจารณา 807 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.3854/2560  ที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนพดล ก้อนคำ เป็นจำเลย โดย โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 ส.ค. 2552 ถึงวันที่ 3 พ.ย. 2555 ต่อเนื่องกัน จำเลยได้ร่วมกันก่อตั้งสถาบันยูแอลซี ประเทศไทย (ULC THAILAND) อันเป็นสมาชิกของคริสตจักร Universal Life Church และตัวแทนของมหาวิทยาลัยสันติภาพโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดการรับสมัครและเก็บเงินจากบุคคล

 

ศาลอาญาตัดสินคดีผู้บริหารสถาบัน ULC ประเทศไทยแล้ว

 

ประกอบไปด้วยค่าเข้าเรียน เข้าอบรม ดูงานทั้งในและต่างประเทศ ค่าลงทะเบียน ค่าเอกสารการเรียนและการอบรม ค่าชุดครุยรับปริญญา ค่าพิธีรับปริญญา และงานเลี้ยง และมอบปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาการเทวนิยม (Doctor of Divinity) และสาขาปรัชญาศาสนา (Masters Philosophy in Religion) ด้านศาสนา แก่บุคคล อันเป็นการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

 

 

 

จำเลยได้จัดการเรียนการสอนผ่านทางอีเมล มีการอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศสำหรับผู้มาสมัครขอรับปริญญากิตติมศักดิ์ เกี่ยวกับปรัชญาทั่วไป สันติภาพโลก จากสถาบันยูแอลซี ประเทศไทย ก่อนมอบปริญญากิตติมศักดิ์ อันเป็นการร่วมกันจัดการศึกษาระดับปริญญาโดยไม่ได้รับอนุญาต 

 

 

ศาลอาญาตัดสินคดีผู้บริหารสถาบัน ULC ประเทศไทยแล้ว

จำเลยได้ว่าจ้างบุคคลไม่ทราบชื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับยูแอลซี ประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ความเป็นมา คุณสมบัติของผู้ที่จะขอรับปริญญากิตติมศักดิ์รายชื่อคณะกรรมการการบริหาร กรรมการที่ปรึกษา คณาจารย์ประจำ และคณาจารย์พิเศษ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ลงเว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vcharkarn.com) ซึ่งเป็นความเท็จ เหตุเกิดที่ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ต่อเนื่องกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นในประเทศไทย เกี่ยวพันกัน ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 มาตรา 5, 10, 104, 121 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3, 14

 

ศาลอาญาตัดสินคดีผู้บริหารสถาบัน ULC ประเทศไทยแล้ว

 

วันนี้จำเลยซึ่งได้รับการประกันตัวเดินทางมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลยนำสืบแล้วฟังได้ว่า สถาบันยูแอลซีมีการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้าเรียน โดยระบุว่าต้องเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดี มีการจัดอบรม และมอบใบปริญญาบัตร ซึ่งจำเลยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน รวมถึงเป็นผู้บรรยายทำการเรียนการสอนด้วย แต่จากการตรวจสอบสถาบันยูแอลซีไม่ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตามโจทก์ฟ้อง ส่วนการลงโฆษณาสถาบันในเว็บไซต์วิชาการดอทคอม ซึ่งระบุข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงนั้น จำเลยอ้างว่าได้ว่าจ้างบุคคลอื่นให้เป็นผู้ลงข้อมูล แต่จากการตรวจสอบอีเมลสำหรับใช้ติดต่อที่ลงโฆษณาไว้ก็เป็นอีเมลของจำเลย จึงมีความผิดฐานจ้างบุคคลอื่นนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ 

 

 

อย่างไรก็ตาม พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ฐานจัดตั้งสถาบันการศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน, จัดการศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฐานว่าจ้างบุคคลอื่นให้นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จำคุก 1 ปี คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 ฐานจัดตั้งสถาบันการศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 เดือน, จัดการศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 เดือน และฐานว่าจ้างบุคคลอื่นให้นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จฯ จำคุก 8 เดือน รวมจำคุก 16 เดือน

 

ศาลอาญาตัดสินคดีผู้บริหารสถาบัน ULC ประเทศไทยแล้ว