- 09 มิ.ย. 2562
ช่อยอมรับว่าภาพการประชดล้อเลียนกระแสความเกลียดชังจากการล่าแม่มดของนิสิตนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงภาพๆนี้ ดูไม่เหมาะสม และต้องขออภัยอย่างสูงต่อประชาชนที่เห็นภาพนี้แล้วเกิดความไม่สบายใจ แต่สิ่งที่ช่ออยากให้ทุกท่านตระหนักเช่นกัน คือสังคมการเมืองไทยกำลังทำให้คนหนุ่มสาวในรอบสิบกว่าปีมานี้เติบโตมาพร้อมคำถามมากมายกับการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายล้างกัน
สืบเนื่องจากการที่โลกออนไลน์ ได้มีการแชร์ภาพในอดีตของ "ช่อ" พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ตอนรับปริญญา รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) เมื่อปี 2553 และเพื่อนร่วม6คน โดยได้ทำทำท่าลบหลู่ขำขัน ถือเป็นกิริยาที่มิบังควร พร้อมใส่แคปชันว่า "ภาพนี้ไม่ควรมีคำบรรยาย =__="
ไม่เพียงเท่า ยังได้มีการแชร์รูปของ "ช่อ" พรรณิการ์ ชี้นิ้วไปยังป้ายที่มีพระนาม โดยได้ใส่แคปชันว่า “ชี้อารายยยย” ซึ่งทำให้สังคมได้พฤติกรรมดังกล่าว ได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และตั้งคำถามไปที่” ช่อ" พรรณิการ์ ว่ามีเจตนา มุ่งประสงค์อย่างใด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เตรียมร้องปปช.สอบช่อ ส่อจะเข้าข่ายผิดจริยธรรม พบโทษหนัก
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหว จาก ช่อ พรรณิการ์ ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า...ทำไมภาพนั้น “ไม่ควรมีคำบรรยาย” ?
เมื่อวานมีเพจเฟซบุ๊กที่ทำงานปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารทางจิตวิทยา (หรือที่เรียกกันว่า เพจ IO) ให้แก่ คสช. กับสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง นำภาพที่ช่อถ่ายเล่นๆ กับเพื่อนในช่วงรับปริญญาที่จุฬาเมื่อปี 2553 มาโจมตีช่ออย่างรุนแรงโดยพยายามเชื่อมโยงกับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์
ช่อขออธิบายดังนี้ว่า ตอนนั้นเป็นยุคหลังรัฐประหาร 2549 และมีกระแสการกล่าวหาผู้คนว่าไม่จงรักภักดีเกิดขึ้นไปทั่วทั้งในโลกอินเทอร์เน็ตและในโลกแห่งความเป็นจริง ช่อกับเพื่อนๆ เติบโตมาในบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้
พวกเราในฐานะนักเรียนรัฐศาสตร์ก็เฝ้าติดตามปรากฏการณ์เหล่านี้ด้วยความกังวลอย่างมาก บ่อยครั้งการนำเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้โจมตีทางการเมือง แบ่งฝักฝ่ายในหมู่ประชาชนให้เกลียดชังกัน หรือบานปลายไปถึงขั้นล่าแม่มดกัน ก็กลายเป็นความขื่นขันตลกร้าย
หลังรัฐประหาร 2549 เป็นเรื่องง่ายมากที่คนที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารจะถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี และเป็นเรื่องง่ายมากที่จะจัดการใครให้ติดคุกเพียงมีคนชี้หน้าเขาว่าไม่จงรักภักดี
การสร้างความเกลียดชังแบบนี้ก่อให้เกิดคำถามมากมายในหัวของคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่เติบโตมาในยุคหลังรัฐประหาร กระทั่งบางครั้งกลายเป็นสิ่งที่เรานำมาคุยล้อกันเพื่อสะท้อนความขื่นขันในโศกนาฏกรรมทางการเมืองของไทย นี่คือ “ข้างหลังภาพ” ที่บอกว่า “ไม่ควรมีคำบรรยาย”
เราจะบรรยายอย่างไรได้บ้างในยุคสมัยที่วันหนึ่งอาจมีคนมาชี้หน้ากล่าวหาว่าคุณมันไม่จงรักภักดี และดังนั้น คุณต้องติดคุกหรือออกจากประเทศนี้ไป
ช่อยอมรับว่าภาพการประชดล้อเลียนกระแสความเกลียดชังจากการล่าแม่มดของนิสิตนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงภาพๆนี้ ดูไม่เหมาะสม และต้องขออภัยอย่างสูงต่อประชาชนที่เห็นภาพนี้แล้วเกิดความไม่สบายใจ แต่สิ่งที่ช่ออยากให้ทุกท่านตระหนักเช่นกัน คือสังคมการเมืองไทยกำลังทำให้คนหนุ่มสาวในรอบสิบกว่าปีมานี้เติบโตมาพร้อมคำถามมากมายกับการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายล้างกัน
ช่อและเพื่อนๆ เชื่อในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พวกเราอยากเห็นระบบรัฐสภาที่ยึดโยงกับเสียงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และมีสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่กับระบอบประชาธิปไตยอย่างมั่นคง ไม่ใช่การเมืองที่แอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้รัฐประหารและทำลายล้างคู่แข่งทางการเมืองกันบ่อยครั้ง
วันนี้ช่อไม่ใช่นิสิตแล้ว แต่เป็นนักการเมือง เวลาผ่านไปเกือบทศวรรษ ทว่าสภาพการเมืองไทยก็แทบไม่เปลี่ยนไปเลย
ขอร้องเถอะค่ะ ว่าอย่านำประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์มาโจมตีกันทางการเมืองอีกเลย รวมถึงขอร้องให้ผู้ที่ตามขุดคุ้ยเพื่อนของช่อทุกคนในรูป ยุติการกระทำดังกล่าว อย่าให้พวกเขาเดือดร้อนเพียงเพราะเป็นเพื่อนของนักการเมืองคนหนึ่ง
คำขอร้องนี้ไม่ใช่เพื่อตัวช่อเอง แต่เพื่ออนาคตที่มั่นคงยั่งยืนของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งหลายคนมักนำสถานะของสถาบันฯ มารับใช้ตัวเอง เพียงเพื่อหวังทำลายล้างศัตรูทางการเมืองของตน โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางการเมืองที่ต้องสูญเสียไป
นี่คือคำอธิบาย ภาพเจ้าปัญหา จาก ช่อ พรรณิการ์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเสียดสี ล้อเลียนการเมือง หลังถูกสังคมตั้งคำถามถึงความเหมาะสม แต่จะมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ อยู่ที่ผู้อ่านพิจารณา แต่การที่นำเอาพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาในทำพฤติกรรมแบบนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดของการแสดงออก ก็ตามแต่
สิ่งที่ประชาชน สังคมตั้งคำถามนั้นคงไม่ใช่เรื่องของการโจมตีทางการเมือง หรือการยัดเหยียดข้อกล่าวหา ว่าไม่จงรักภักดีแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ประชาชนสงสัย ก็คือ พฤติกรรมที่มิบังควร โดยมีความ”จงใจ”ที่นำพระบรมฉายลักษณ์มา ประกอบ ในลักษณะล้อเลียน ซึ่งไม่มีใคร หรือผู้ใด ที่จะประพฤติปฏิบัติกัน อีกทั้งภาพนี้ที่เกิดขึ้น มีความจงใจที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งได้ถูกเผยแพร่จากเจ้าของภาพเอง ทั้งตัวของ ช่อ พรรณิการ์และ พ้องเพื่อน
สุดท้ายประเด็นที่สำคัญ การที่ ช่อ พรรณิการ์กล่าวอ้างว่า ภายหลังการรัฐประหารปี 49 ผู้ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารนั้นจะถูกกล่าวหาว่า ผู้ที่ไม่จงรักภักดีนั้น ซึ่งในข้อเท็จจริงและ มีความพยายามจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มพยายม ดึงสถาบันฯเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยจงใจอย่างที่สุด สร้างความแตกแยกให้กับสังคม โดยเริ่มจากนำภาพขณะที่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นำคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.เข้าเฝ้าต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาใช้โจมตีกล่าวหา สถาบันฯว่าเป็นผู้อยู่เรื่องหลังการทำรัฐประหาร และถูกเผยแพร่ชุดความคิดต่างๆอย่างเป็นระบบ กระจายสู่สังคมไทย