- 16 ก.ค. 2562
ประกาศราชกิจจาฯ อัตราค่าจอดรถในที่จอดสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราค่าบริการจอดรถยนต์ อาคารจอดรถ ๘ ชั้น และอาคารจอดรถ ๑๐ ชั้น สถานีหลักสอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
โดยที่เป็นการสมควรก้าหนดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์ อาคารจอดรถ ๘ ชั้น และอาคารจอดรถ ๑๐ ชั้น สถานีหลักสอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้้ำเงิน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ แห่งข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๗ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒จึงออกประกาศก้าหนดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์ อาคารจอดรถ ๘ ชั้น และอาคารจอดรถ ๑๐ ชั้น สถานีหลักสอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้้ำเงินไว้ ดังต่อไปนี้
ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า
ค่าบริการจอดรถยนต์ส้าหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ให้ใช้ตารางอัตราค่าบริการจอดรถยนต์สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ตารางที่ ๒ ท้ายข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า
ค่าบริการจอดรถยนต์ส้าหรับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ให้ใช้ตารางอัตราค่าบริการจอดรถยนต์ สำหรับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ตารางที่ ๑ ท้ายข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ใช้บริการจอดรถยนต์รายเดือน
ค่าบริการจอดรถยนต์รายเดือน ให้ใช้ตารางอัตราค่าบริการจอดรถยนต์รายเดือน ตารางที่ ๑ ท้ายข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ทั้งนี้ ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คลิกอ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม
สำหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (พุทธมณฑลสาย ๔-หลักสอง-หัวลำโพง-บางซื่อ-เตาปูน-ท่าพระ) (Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line, MRT Blue Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บท โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนนิยมเรียกว่า "รถไฟฟ้าใต้ดิน" เนื่องมาจากช่วงเริ่มแรกให้บริการรถไฟฟ้าเส้นนี้ เส้นทางเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๓ กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปทรงกดปุ่มระบบคอมพิวเตอร์เปิดการเดินรถไฟฟ้าสายนี้ด้วยพระองค์เอง ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม ๙ ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จด้วย
ปัจจุบันมีระยะทางรวมราว ๒๑.๒ กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจาก สถานีหัวลำโพง ถึงสถานีเตาปูน มีทั้งสิ้น ๑๙ สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีสีลม, สถานีสุขุมวิท และสถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สถานีเพชรบุรี
สำหรับนาม "เฉลิมรัชมงคล" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ มีความหมายว่า "งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา"
ปัจจุบัน เส้นทางสายสีน้ำเงินมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือ สถานีเตาปูน ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์ และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ สถานีหัวลำโพง ไปยังท่าพระและบางแค ซึ่งทั้ง ๒ เส้นทางจะเชื่อมต่อกันที่ สถานีท่าพระ ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวน โดยโครงการได้มีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงบางซื่อ-เตาปูน เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ และจะเปิดบริการต่อไปในช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓