- 26 ก.ค. 2562
เชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมานี้หลายคนคงตื่นตระหนกอย่างมากกับ โรคเนื้อเน่า หรือ Necrotizing fasciitis ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อบนผิวหนังอย่างรุนแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารที่จะทำให้แผลเล็กๆน้อยๆ กลายเป็นแผลลุกลามใหญ่โตได้อย่างรวดเร็ว โดยอาการนี้นั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการที่มีบาดแผล หากไปพบแพทย์ช้า และ เกิดกาวินิจฉัยผิดพลาด จนทำให้ตัดส่วนที่เน่าออกไปช้า จะกลายเป็นอันตรายอย่างมากได้
เชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมานี้หลายคนคงตื่นตระหนกอย่างมากกับ โรคเนื้อเน่า หรือ Necrotizing fasciitis ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อบนผิวหนังอย่างรุนแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารที่จะทำให้แผลเล็กๆน้อยๆ กลายเป็นแผลลุกลามใหญ่โตได้อย่างรวดเร็ว โดยอาการนี้นั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการที่มีบาดแผล หากไปพบแพทย์ช้า และ เกิดกาวินิจฉัยผิดพลาด จนทำให้ตัดส่วนที่เน่าออกไปช้า จะกลายเป็นอันตรายอย่างมากได้
ซึ่งล่าสุดนั้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรค หรือ สคร. ได้ออกมาชี้ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคเนื้อหนังเน่า ไว้ดังต่อไปนี้...
1. เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง หรือ วัชพืช ไปถูกสารเคมีแล้วทำการเกาอย่างรุนแรง จนเกิดบาดแผล
2. เกิดบาดแผนจากการถูกกิ่งไม้ใบหญ้า ที่มีสารเคมี หรือ เป็นแผลและไปถูกสารเคมี และมีเชื้อเข้าสู่บาดแผล
โดยจากประเด็นคร่าวๆแล้ว สำนักงานป้องกันควบคุมโรค มองว่าสาเหตุหลักของโรคเนื้อหนังเน่า น่าจะมีจาก สารเคมีใน ยาฆ่าหญ้า และฆ่าแมลง
ซึ่งโรคเนื้อหนังเน่านี้ มีการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จากสถิติปี 2561 มีผู้ป่วยเป็นโรคเนื้อหนังเน่าประมาณ 65 ราย โดยส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร และมาจากแทบทุกอำเภอ ทุกจังหวัดในประเทศ โดยส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์นั้นจะเป็นผู้ป่วยที่ มีแผลลุกลาม มีการติดเชื้อถึงเนื้อแล้วทั้งสิ้น
ที่ผ่านมา ประเทศไทย พบผู้ป่วยเนื้อหนังเน่ารวมประมาณ 100-200 รายต่อปี และมักจะพบมากในช่วงฤดูฝน และเป็นชายมากกว่าหญิง ซึ่งมีไม่กี่ประเทศทั่วโลกเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ จึงต้องทำการศึกษาเก็บข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้ง
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรคได้ที่ โทร. 1422 ฟรี ตลอด 24 ชม.