- 07 ส.ค. 2562
เตือนประชาชนในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูที่มีเห็ดมากมายหลายชนิดขึ้นทำให้ชาวบ้านนิยมเข้าไปเก็บเห็ดป่า ให้ระมัดระวังการรับประทานเห็ดหรือนำมาขายในตลาดท้องถิ่น ซึ่งมักมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูง เนื่องจากอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษในช่วงฤดูฝน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูที่มีเห็ดมากมายหลายชนิดขึ้นทำให้ชาวบ้านนิยมเข้าไปเก็บเห็ดป่า ให้ระมัดระวังการรับประทานเห็ดหรือนำมาขายในตลาดท้องถิ่น ซึ่งมักมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูง เนื่องจากอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษในช่วงฤดูฝน
เห็ดป่า เลือกไม่ถูกชนิด อันตราย
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เห็ดป่าจัดเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหลายภูมิภาคของประเทศไทย ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นฤดูเห็ดหลาก ชาวบ้านนิยมเข้าไปเก็บเห็ดป่าเพื่อนำมาประกอบอาหารรับประทาน และขายในตลาดท้องถิ่น ส่งผลให้สถานการณ์อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมี
พบผู้ป่วย-เสียชีวิตจากเห็ดพิษทุกปี โดยเฉพาะภาคอีสาน
รายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงในแต่ละปี โดยในปี 2561 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยมากกว่า 1,300 รายและมีผู้เสียชีวิต 6 ราย พื้นที่ที่พบรายงานการเกิดสถานการณ์ที่มีอัตราการเจ็บป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเห็ด
4 “เห็ดพิษ” ระบาดหน้าฝน
เห็ดหมวกจีน
เห็ดหมวกจีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Inocybe rimosa) เป็นเห็ดประเภทเห็ดพิษหรือเห็ดเมาชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย
มีลักษณะหมวกสีเหลืองอมน้ำตาล กลางหมวกเป็นปุ่มนูน ผิวหมวกหยาบ ขอบหมวกฉีกเมื่อบาน ก้านสีขาวนวล หรือเหลือง มีขนละเอียด สารพิษ มีฤทธิ์ส่งผลต่อระบบประสาท เป็นเห็ดอีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นเห็ดที่รับประทานแล้วพิษจะไม่ร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิต แต่หากมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงยิ่งขึ้น
เห็ดหัวเกร็ดครีบเขียว
เห็ดหัวกรวดครีบเขียว หรือ เห็ดกระโดงตีนต่ำ (อังกฤษ: False parasol, Green-spored parasol; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chlorophyllum molybdites) เห็ดประเภทเห็ดเมาหรือเห็ดพิษชนิดหนึ่ง มีลักษณะดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นร่ม หมวกสีขาวกว้าง 10–20 เซนติเมตร กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกออกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวก ครีบสีขาว เมื่อแก่จัดจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ก้านรูปทรงกระบอกสีขาว โคนก้านใหญ่เป็นกระเปาะเล็กน้อย ใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อน มักขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนา เป็นเห็ดที่รับประทานแล้วก่อให้เกิดอาการเวียนหัว, อาเจียน แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เป็นเห็ดที่มักขึ้นในช่วงฤดูฝน พบกระจายทั่วโลกทั้งในเขตหนาวและเขตอบอุ่น พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือและแคลิฟอร์เนียในทวีปยุโรป, ไซปรัสและออสเตรเลีย
เห็ดถ่านเลือด
เห็ดถ่านเลือด หลังกินจะเกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง
ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
ต่อมาหลังจาก 6 ชั่วโมง มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ
ตับ และไตวาย และอาจเสียชีวิต
เห็ดระโงกหิน และเห็ดระโงกดำพิษ
เห็ดระโงกหิน (อังกฤษ: death cap; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amanita phalloides) เป็นเห็ดราที่มีพิษถึงตาย อยู่ในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา เห็ดระโงกหินกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป มีความสัมพันธ์แบบสมชีพกับพืชใบกว้างหลายชนิด ในบางกรณี เห็ดระโงกหินถูกนำไปยังบริเวณใหม่โดยการปลูกต้นโอ๊ก เกาลัดและสนเขาที่ไม่ใช่ชนิดในท้องถิ่น ดอกเห็ดขนาดใหญ่ปรากฏในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง หมวกมักมีสีออกเขียว โดยมีลายและครีบเห็ดสีขาว
เห็ดระโงกหินเป็นเห็ดพิษที่คล้ายเห็ดชนิดที่กินได้หลายชนิด (ที่โดดเด่นที่สุดคือ เห็ดซีซาร์และเห็ดฟาง) ที่มนุษย์บริโภคทั่วไป จึงเพิ่มความเสี่ยงการได้รับสารพิษโดยบังเอิญ เห็ดระโงกหินเป็นหนึ่งในเห็ดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดเท่าที่ทราบ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากการได้รับพิษเห็ด[1] เห็ดระโงกหินเป็นหัวข้อการวิจัยอย่างมาก และมีการแยกสารที่ออกฤทธิ์ทางชีววิทยาหลายชนิด สารพิษหลัก คือ แอลฟาอะแมนิติน (α-amanitin) ซึ่งไปทำลายตับและไต โดยมักถึงตาย