- 12 ส.ค. 2562
เปิดเคล็ดลับ “ต้มไก่บ้าน” สมัยโบราณมีตัวช่วยต้มไก่ให้อร่อย เนื่องจากการทำอาหารก็เหมือนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงเพราะโดยทั่วไปแล้วการที่เราจะทำไก่ต้มให้้อร่อยนั้นหลายคนคงนึกถึงแต่ใบมะขามอ่อน ที่เราเห็นกันโดยทั่วไปหรือบางครับอาจจะใช้มะขามเปียกแทนนั้นเอง ทีนี้หลายคนคงไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วที่สาเหตุของคนโบราณ “ต้มไก่บ้าน” อร่อยได่จริงเขาใส “ใบกัญชา” จะทำให้น้ำซุปเกิดความอร่อยล้ำ ใครทานแล้วติดใจ ซดน้ำซุปจนหมดชาม แต่พอผ่านไปสักพักคอจะเริ่มแห้งเหมือนกินผงชูรส แต่ไม่แนะนำเพราปัจจุบันกัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
เปิดเคล็ดลับ “ต้มไก่บ้าน” สมัยโบราณมีตัวช่วยต้มไก่ให้อร่อย เนื่องจากการทำอาหารก็เหมือนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงเพราะโดยทั่วไปแล้วการที่เราจะทำไก่ต้มให้้อร่อยนั้นหลายคนคงนึกถึงแต่ใบมะขามอ่อน ที่เราเห็นกันโดยทั่วไปหรือบางครับอาจจะใช้มะขามเปียกแทนนั้นเอง ทีนี้หลายคนคงไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วที่สาเหตุของคนโบราณ “ต้มไก่บ้าน”
"ใบหม่อน" หลายๆท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยิน แต่เมนู ต้มไก่บ้านใส่ใบหม่อนนั้นมีสารอาหารเยอะเป็นอีกเมนูสุขภาพ ทั้งแร่ธาตุ และวิตามิน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมสูงกว่าใบชา อาทิ แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด ชาวอีสานได้ใช้ใบหม่อนปรุงอาหารแทนผงชูรส และเป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้านได้หลายชนิด
ส่วนสูตรก็ตามนี้เลย วิธีการทำต้มไก่บ้านใส่ใบหม่อนเครื่องปรุง
-ไก่บ้าน 1 ตัว
– ใบมะกรูดฉีก 4 – 5 ใบ
– น้ำปลา 2 – 3 ช้อนโต๊ะ
– น้ำเปล่า เหมาะสมหรือน้ำท้วมตัวไก่
– พริก 10 เม็ด
– มะขามเปลือก
– ผักชี 1 ต้น
– ตะไคร้ 1 ต้น
– ข่า 1 แง่ง
– ผงชูรส
– เกลือ
-ใบหม่อน
วิธีขั้นตอนการทำ
1 นำหม้อใส่น้ำมาตั้งไฟพอประมาณหรืออาจจะไฟที่เเรงก็ได้
2 ใส่ มะขามเปลือก ใบหม่อน ข่า ตะไคร้ พริก ใบมะกรูด ลงในหม้อ
3 เมื่อน้ำในหม้อเดือดแล้วก็นำไก่ที่เตรียมไว้เทลงในหม้อ แล้วทิ้งไว้
4 ใส่เครื่องปรุงที่เหลือลงไปในหม้อ
5 พอปรุงทุอย่างลงในหม้อเสร็จแล้วก็ทิ้งไว้จนไก่สุกแล้วตักใส่ชาม เพื่อรับประทาน
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นหม่อน
ประโยชน์หม่อน
1. ใบสดเมื่อนำใบมาเคี้ยวสดๆจะมีรสหวานอมขมเย็นเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมากินสด
2. ปัจจุบันนิยมนำใบมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นน้ำชาใบหม่อน ซึ่งจะให้กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ และรสชาติเหมือนชา แต่อมหวานเล็กน้อย
3. บางท้องถิ่น เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ นิยมใบมาปรุงอาหารในเมนูจำพวกต้มต่าง ซึ่งจะเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น
4. ในส่วนของผลสุก สามารถกินเป็นผลไม้หรือเป็นอาหารนกได้
5. บางท้องที่ที่มีการปลูกหม่อนมากจะนำผลหม่อนมาหมักเป็นไวน์จำหน่าย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสถาน Otop ต่างๆ ลักษณะไวจากผลหม่อนจะเป็นสีม่วงอมแดง หรือนำผลสุกมารับประทานสดซึ่งจะให้รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย ในบางท้องที่มีการจำหน่ายลูกหม่อนสุกสามารถเป็นรายได้เสริมอีกทาง
ข้อแนะนำการนำไปใช้
1. การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ และไม่มีรอยกัดกินของแมลง
2. การนำใบหม่อนมาทำยาสามารถทำด้วยวิธีการตากแห้งใบ แล้วบดอัดใส่แคปซูลรับประทานหรือการนำใบแห้งมาต้มดื่มเป็นชาใบหม่อน
3. ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่อง และในปริมาณที่มากๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
4. หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกาย ให้หยุดการใช้ทันที
สรรพคุณหม่อน
ผลหม่อน
– ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
– แก้อาการกระหายน้ำ
– ช่วยป้องกันมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
ใบหม่อน (ต้มน้ำหรือใบแห้งชงเป็นชาดื่ม)
– ช่วยในการผ่อนคลาย
– แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
– ช่วยลดไข้หวัด และอาการปวดหัว
– ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ
– แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้คอแห้ง
– ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์
– ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และช่วยทุเลาอาการจากโรคเบาหวาน
– ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด
– ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด
– ช่วยลดความดันเลือด
– ต้านแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการท้องเสีย
กิ่ง และลำต้น
– บรรเทาอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ
– ลดอาการมือเท้าเป็นตะคริว
งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
หม่อนเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่มีการศึกษา และวิจัยถึงสรรพคุณของหม่อนที่ได้จากใบ และผลหรือลำต้น พบสรรพคุณมากมาย ได้แก่
จินตนาภรณ์ และคณะ (2551) ได้ศึกษาฤทธิ์ผลหม่อนที่มีต่อเซลล์สมองต่อการเรียนรู้ และความจำในหนูขาว พบว่า สารสกัดจากผลหม่อนสามารถทำให้หนูทดลองมีความจำ และมีศักยภาพการเรียนรู้มากขึ้น โดยการให้ผลหม่อนขนาด 2 และ 10 มก./น้ำหนักตัวกิโลกรัม พร้อมพบว่า สารสกัดผลหม่อนสามารถลดปริมาณอนุมูลอิสระลดลงได้
ในต่างประเทศ มีการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของผลหม่อนขาว (Morus alba L.) ผลหม่อนแดง (Morus rubra L.) และผลหม่อนดำ (Morus nigra L.) พบสารประกอบฟีนอล และเคอร์ซีทิน ในปริมาณสูงตามระยะความสุก โดยพบในผลหม่อนดำสูงสุด ส่วนกรดไขมันที่พบ ได้แก่ กรดลิโนเลอิก (54.20%) กรดปาล์มมิติก (19.80%) และกรดโอเลอิก (8.41%) ปริมาณความหวานในช่วง 15.90-20.40 องศาบริกซ์ และพบวิตามินซี ประมาณ 0.19-0.22 มิลลิกรัม/กรัม
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://puechkaset.com,http://samunpraibann.com