ดร.สามารถ ชี้ให้เห็นอีกข้อพิรุธ ทำไมทอท.ยังดันทุรังแผนสร้างเทอร์มินัล 2  สุวรรณภูมิ

ตามติดกันต่อไปว่าบทสรุปของแนวทางการพัฒนา สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 จะออกมาเป็นอย่างไร ในขณะที่ บริษัทท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. เอง ก็ยังยืนยันจะเดินหน้าโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ ในรูปแบบของการก่อสร้างเทอร์มินัล 2

ตามติดกันต่อไปว่าบทสรุปของแนวทางการพัฒนา สนามบินสุวรรณภูมิ  ระยะที่ 2  จะออกมาเป็นอย่างไร   ในขณะที่  บริษัทท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. เอง ก็ยังยืนยันจะเดินหน้าโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ ในรูปแบบของการก่อสร้างเทอร์มินัล 2    แม้ว่าจะมีหลายกระแสเสียงคัดค้าน จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าแผนแม่บทที่มีการนำเสนอมีรูปแบบลักษณะ ไม่ต่างอะไรกับการตัดแปะ ซึ่งถ้าจัดการตามนั้นมีโอกาสจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย  ไม่นับความเสียหายจากงบประมาณแผ่นดินมูลค่ามหาศาล

ดร.สามารถ ชี้ให้เห็นอีกข้อพิรุธ ทำไมทอท.ยังดันทุรังแผนสร้างเทอร์มินัล 2  สุวรรณภูมิ

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ดร.สามารถ ฝากถึงครม. ก่อนตัดสินใจ เทอร์มินอล 2 พลาดหนนี้ กรรมประเทศชั่วลูกหลาน)  

ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์   รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์   และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.   ได้โพสต์แสดงความเห็นเพิ่มเติมถึงกรณีดังกล่าง ระบุใจความสำคัญว่า  "ในที่สุดได้มีการแฉถึงความพยายามของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ในการดึงดันที่จะก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 หรือเทอร์มินัล 1 ด้านทิศเหนือ (North Expansion) ที่รู้จักกันดีในชื่อ “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” แทนการขยายด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกให้ได้ โดยเมินเสียงคัดค้านจากองค์กรวิชาชีพหลายองค์กรและนักวิชาการหลายคน ซึ่งเป็นการแฉจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 โดยคุณไชยา พรหมา ส.ส.จังหวัดหนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย

 

ผู้อภิปรายได้ชี้ให้เห็นถึงข้อเสียในการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือเมื่อเปรียบเทียบกับการขยายด้านทิศตะวันออกและตะวันตกได้แก่ (1) จะใช้เงินมากกว่าถึงประมาณ 30,000 ล้านบาท (2) ไม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 30 ล้านคนต่อปี ตามที่ ทอท.กล่าวอ้าง และ (3) จะใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าถึงประมาณ 3-4 ปี อีกทั้ง ส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือจะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา

 

สุดท้าย ผู้อภิปรายได้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุที่ ทอท.ต้องการสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือเป็นเพราะว่า ทอท.ต้องการเสริมสร้างศักยภาพของที่ดินแปลง 37 ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ ใช่หรือไม่?

 

 

ทั้งนี้ ทอท.มุ่งมั่นที่จะพัฒนาที่ดินแปลงนี้ในเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non-Aero Business) บนพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ โดย ทอท.ต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองการบิน (Airport City) อันประกอบด้วยหลากหลายกิจกรรม เช่นศูนย์การค้า โรงแรม ศูนย์การประชุม อาคารสำนักงาน ศูนย์แสดงสินค้าส่งออก และแหล่งบันเทิงครบวงจร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ที่ดินแปลงนี้กลายเป็น “ไข่แดง” หรือ “ขุมทรัพย์สุวรรณภูมิ” ต่อไป

เพื่อทำให้ที่ดินแปลง 37 มีศักยภาพเป็น Airport City ได้ ทอท.จึงมีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าไร้คนขับหรือ APM เชื่อมโยงจากอาคารส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือไปสู่ที่ดินแปลง 37 เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่ต้องการไปใช้บริการในที่ดินแปลง 37 APM สายนี้เป็นโครงการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมจาก APM ที่ ทอท.กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ และที่จะก่อสร้างพร้อมกับส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ

นอกจากนี้ จากข้อมูลของ ทอท.ยังพบว่าจะมีการต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเชื่อมโยงสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เข้าสู่ที่ดินแปลง 37 อีกด้วย

 

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าที่ดินแปลงใดที่มีสถานีรถไฟฟ้าตั้งอยู่จะทำให้ที่ดินแปลงนั้นทำการค้าขายได้ดี เพราะผู้ใช้บริการสามารถเดินทางเข้าออกได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ดังเช่นที่ดินแปลง 37 ในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะมีทั้งสถานีรถไฟฟ้า APM และสถานีรถไฟความเร็วสูงที่จะช่วยให้ ทอท.มีโอกาสหารายได้จากที่ดินแปลงนี้ตามแผนของ ทอท.ที่ต้องการพัฒนาให้เป็น Airport City

 

ดร.สามารถ ชี้ให้เห็นอีกข้อพิรุธ ทำไมทอท.ยังดันทุรังแผนสร้างเทอร์มินัล 2  สุวรรณภูมิ

 

แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทอท.มุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินหรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการบิน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย รวดเร็วและปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลักกันแน่? และที่สำคัญ ทอท.ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำภารกิจอะไร? พวกเราในฐานะประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจึงเกิดข้อสงสัยว่าเจตนารมย์ที่แท้จริงของ ทอท.คืออะไร?