- 28 ก.พ. 2563
ติดตามใกล้ชิดกระแสเคลื่อนไหวของสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ในการจัดกิจกรรมแฟลชม็อบ เพื่อให้กำลังใจพรรคอนาคตใหม่ ที่เริ่มต้นจาก ลานปรีดีพนนยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก่อนจะมีการแพร่กระจายข้อมูลส่งต่อผ่านโลกโซเชียล ให้เกิดความรู้สึกร่วมทำตาม ด้วยวิธีการปลุกเร้าต่าง ๆ จนทำให้มีการจัดตั้งกลุ่มชุมนุม เกิดขึ้นในหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
ติดตามใกล้ชิดกระแสเคลื่อนไหวของสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ในการจัดกิจกรรมแฟลชม็อบ เพื่อให้กำลังใจพรรคอนาคตใหม่ ที่เริ่มต้นจาก ลานปรีดีพนนยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก่อนจะมีการแพร่กระจายข้อมูลส่งต่อผ่านโลกโซเชียล ให้เกิดความรู้สึกร่วมทำตาม ด้วยวิธีการปลุกเร้าต่าง ๆ จนทำให้มีการจัดตั้งกลุ่มชุมนุม เกิดขึ้นในหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ทยา ทีปสุวรรณ เตือนนักเรียน นศ. อย่าดึงฟ้าต่ำ ตกเป็นเครื่องมือการเมือง)
โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวที่ดำเนินกิจกรรม ควบคู่กับพรรคอนาคตใหม่มาตั้งแต่ต้น อย่าง นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
"ผมเชื่อว่า การชุมนุมใหญ่จะมาในอีกไม่ช้า และจะไม่ใช่การชุมนุมที่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นแกนนำ เราทุกคนต่างหากที่จะเป็นแกนนำเพราะนี่คือพลังของเราทุกคน แล้วพบกันวันชุมนุมใหญ่ วัน เวลา สถานที่ว่ากันอีกที โปรดติดตามตอนต่อไป #เริ่มที่มหาลัยไปต่อที่ราชดำเนิน"
ขณะที่ล่าสุด พ.ต.องกฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ได้แสดงความเห็นต่อกรณีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหลายสถาบันจัดกิจกรรมแฟลชม็อบ ว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถกระทำได้ แต่การแสดงออกต้องไม่กระทบสิทธิคนอื่น เพราะพฤติการณ์ที่ผ่านมาชัดเจนว่าเกี่ยวโยงกับกลุ่มการเมือง เพราะในช่วงการตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ ได้มีการปลุกระดมให้มีการมาวมตัวกันทำกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการจัดกิจกรรม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ได้เข้าทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาเพราะด้วยมีหน้าที่ป้องกันและปราบปราม ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตำรวจไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร
“ทั้งนี้ต้องเตือนอีกครั้งว่า นักเรียน นักศึกษา ว่าการใช้สิทธิแสดงความคิดเห็นตามกฎหมายสามารถทำได้ แต่การแสดงความคิดเห็นให้ระมัดระวังห้ามจาบจ้วง หรือ พาดพิงสถาบันเบื้องสูงเป็นเด็ดขาด ขอฝากไว้ว่ามันเป็นเรื่องการเมือง ความคิดเห็นส่วนตัว อย่าไปแตะ อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับสถาบันฯ ส่วนจะมีกลุ่มไหนอยู่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง ก็เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่า กิจกรรมเช่นนี้มีมาตั้งแต่ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ มีการเชิญชวนจัดกิจจกรรมตั้งแต่วิ่งไล่ลุงและหลังจากยุบพรรคมีการจัดกิจกรรมดาวกระจายไปตามสถาบันการศึกษาต่างๆ”
โดยมีหลายสถาบันการศึกษาเช่นกันที่ออกประกาศ ไม่ให้พื้นที่ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวโยงกับการละเมิดกฎหมาย และการแสดงออกที่มีผลกระทบต่อระบอบสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ทางด้าน พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ สื่อมวลชนอาวุโส ได้โพสต์แสดงความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้อย่างน่าคิด ว่า " หลายคนสงสัยว่า ผมเคยขับรถบรรทุกสิบล้อจริงหรือ แล้วทำไมผมถึงไปเป็นคนขับรถสิบล้อ
คนที่เคยเรียนวิทยาลัยครูเชียงใหม่รุ่นเดียว หรือรุ่นหลังๆ รุ่นใกล้เคียงกับผมคงจำกันได้ว่า ผมเป็น “เด็กกิจกรรม” ระดับนำ ที่มีคนตามผมมากมาย ผมปิดประตูรั้ววิทยาลัย เพียงแค่ผมพูดออกโทรโข่งว่า “คิง บ่า ฮัก ฮากา หรือร้องเพลง ไม่รักพี่แล้วนี่น้องจะรักใคร” ก็มีคนออกมาสนับสนุนมากมาย ทำให้ผมเหิมเกริมและคิดว่า ผมมีพลังมีคนสนับสนุนมีคนยืนเคียงข้าง มากพอที่จะ “เปลี่ยนแปลงโลกได้”
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ผมจึงพบว่า เอาเข้าจริงๆแล้ว พวกแกนนำร่วมกับผมหลายคนแม่งหลบอยู่หลังผม ให้ผมรับชะตากรรมตามลำพัง และ “พวกที่สนับสนุนผมหลายคน” ใช้ผมเป็นบันไดเพื่อก้าวขึ้นสู่ความมีชื่อเสียงทางการเมือง บางคนไปไกลถึงขั้นเป็น สส. เชียงใหม่ บางคนกลายเป็น “คนเดือนตุลา” ที่มีชื่อเสียงทางการเมือง บางคนถูกบันทึกชื่อไว้ในบทบาททางการเมือง
ส่วนตัวผม ต้องเซซังหาที่ซุกหัวนอน ต้องหาที่เรียนใหม่ ต้องเพนจรไปเรื่อยๆ หาความสำเร็จในการดำรงชีวิตเยี่ยงคนธรรมดาปุถุชนไม่ได้ มีแต่ความชอกช้ำและเคียดแค้นสังคม เมาเหล้าแล้วก็ทับถมตัวเองว่า “ทำไมกูถึงได้โง่อย่างนี้วะ” ท้ายที่สุดผมจึงทำอะไรก็ไม่สำเร็จ เพราะเป็นได้เพียงแค่ “คนหัวรุนแรง” หรือ “คนขวางโลก” หรือ “คนที่ไม่ยอมรับกฏระเบียบ”
ผมจึงเคว้งคว้างไล่ตามเงา ไล่งับหางตัวเองอยู่หลายปี ทำงานอะไรกับใครก็ไม่ได้ ต้องเร่ร่อนทำโน่นนิดนั่นหน่อย เพราะสับสนกับตัวเอง สับสนกับชีวิต สับสนกับความคิดของตัวเอง สิ่งเดียวที่ทำได้ก็คือ อยู่หลังพวงมาลัย เร่ร่อนไปเรื่อยๆ
มันสอนให้ผมรู้ว่า “จงระวังคนที่เราคิดว่าเป็นคนดี เป็นพวกเดียวกับเรา เป็นคนที่ร่วมอุดมการณ์กับเรา”
ผมยังโชคดีที่การไปขับรถสิบล้อมันสอนให้ผมรู้ว่า “ตัวกูเป็นที่พึ่งแห่งตัวกูเอง ทุกอย่างต้องทำเพื่อตัวเองก่อน ต้องอดทนเพื่อตัวเองก่อน อย่าไปคิดเพื่อคนอื่น อย่าไปคิดว่าจะหาญกล้าเปลี่ยนสังคมเปลี่ยนโลก เพราะท้ายที่สุดเราก็จะเป็นได้เพียงแค่ หมากให้คนอื่นจับเดินเท่านั้น” ผมโชคดีที่ยังพอจะคิดได้บ้าง
เรื่องอย่างนี้หลายคนในเฟซบุ๊ครู้ดีเพราะเรียนมากับผม จริงไหมเพื่อนๆ และเพราะผมรู้เห็นทางเดินชีวิตของผม และความจริงใจของ “เพื่อน” ที่ผมคิดว่าร่วมอุดมการณ์กันมาตั้งแต่ครั้งนั้น วันนี้ผมจึงไม่สนใจเรื่องการเมืองการปลุกระดมใดๆทั้งสิ้น
ดื่ม สูบ ฟังเพลง แล้วก็รำพึงรำพันตามประสาชาชราผู้ไม่ประสากับชีวิตคนหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้หวังจะสอนใคร ไม่ได้หวังจะประชดประชันใคร เพราะมันคือชีวิตของผมคนเดียว บันทึกไว้ให้ลูกๆหลานๆ ได้รับรู้เท่านั้นเอง ผมหยุดไล่คว้าควัน หยุดไล่จับเงามานานแล้วครับ
ผมจึงสอนลูกๆมาตลอดว่า ถ้าอยากทำอะไรเพื่อชาติ เพื่อสังคม หรือเพื่ออุดมการณ์อะไรก็ตาม มึงต้องทำให้ตัวเองรอดได้ก่อน เพราะถ้าพวกมึงยังเอาตัวไม่รอด มึงก็ไม่มีปัญญาไปทำอะไรที่มึงคิดได้หรอก ไม่เชื่อมึงลองไปดู คนเดือนตุลาหลายคน ลองไปดูนักการเมืองที่คิดว่ามีอุดมการณ์ ก็ได้ว่า ทุกวันนี้พวกมันมีฐานะทางการเงินขนาดไหน"
เช่นเดียวกับมุมมอของ อัญชะลี ไพรรัก สื่อมวลชนอาวุโส ที่ให้ความเห็นเตือนสติการใช้เวทีทางการเมืองของกลุ่มนักเรียนก นักศึกษา ที่ออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เริ่มจะออนอกกรอบการใช้สิทธิ เสรีภาพ ตามบทบัญญัติกฎหมายไปทุกขณะ
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ธนาธร ร่วมเฟรม โจชัว หว่อง ระวัง ชักศึก(จีน)เข้าบ้าน พูดเต็มปาก ฮ่องกง เป็นแรงบันดาลใจ?)