เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย

สืบเนื่องจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดย น.พ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รักษาราชการแทนอธิบดีดีเอสไอ ได้ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่อุทธรณ์คดี นายพานทองแท้ ชินวัตร จำเลยคดีร่วมกันฟอกเงิน 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทยฯ ที่ปล่อยกู้ให้เครือกฤษดามหานคร เสนอให้ นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด วินิจฉัยชี้ขาด ตามรายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารชี้แจงว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษได้สอบสวนคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงินที่เกี่ยวข้องกับคดีการทุจริต รายการปล่อยเงินกู้กลุ่มกฤษดามหานครของธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน เป็นคดีพิเศษที่ 25/2560 และต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย (นายพานทองแท้ ชินวัตร) ซึ่งพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่อุทธรณ์และส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษฯ มาตรา 34 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณากลั่นกรองเรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวแล้วนั้น

สืบเนื่องจาก  กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)   โดย   น.พ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)  รักษาราชการแทนอธิบดีดีเอสไอ   ได้ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่อุทธรณ์คดี นายพานทองแท้ ชินวัตร  จำเลยคดีร่วมกันฟอกเงิน 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทยฯ  ที่ปล่อยกู้ให้เครือกฤษดามหานคร เสนอให้  นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์  อัยการสูงสุด วินิจฉัยชี้ขาด   ตามรายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารชี้แจงว่า   กรมสอบสวนคดีพิเศษได้สอบสวนคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงินที่เกี่ยวข้องกับคดีการทุจริต   รายการปล่อยเงินกู้กลุ่มกฤษดามหานครของธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน เป็นคดีพิเศษที่ 25/2560  และต่อมาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย (นายพานทองแท้ ชินวัตร) ซึ่งพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่อุทธรณ์และส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษฯ มาตรา 34 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณากลั่นกรองเรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวแล้วนั้น

บัดนี้ การพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว โดยเห็นว่าเมื่อพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน ความเห็นของพนักงานอัยการ และคำพิพากษาของศาล ทั้งที่พิพากษายกฟ้อง และที่ทำความเห็นแย้งไว้ท้ายคำพิพากษา ประกอบกับความเห็นของพนักงานอัยการที่เห็นควรไม่อุทธรณ์คำพิพากษาแล้ว เห็นว่ายังมีประเด็นสำคัญแห่งคดีที่ควรต้องนำสู่การพิจารณาของศาลสูงเพื่อวินิจฉัย อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  จึงมีความเห็นให้ส่งอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาตามกฎหมายต่อไป และส่งความเห็นพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการแล้ว เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563

 

เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย


(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ดีเอสไอ ยื่นเห็นแย้งมติอัยการไม่อุทธรณ์ คดีโอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทยแล้ว )  
 
ต่อมา  นพ. ระวี  มาศฉมาดล   หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่   ได้โพสต์แสดงความเห็นว่า   "คดีฟอกเงิน ทุจริตการปล่อยสินเชื่อของ ธนาคารกรุงไทย ให้ธุรกิจเครือกฤษดามหานคร ระหว่าง ธนาคารกรุงไทย กับ นายพานทองแท้ ชินวัตร  ที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินยกฟ้อง ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. 2562 โดยในการพิพากษาคดี ผู้พิพากษา 2 ท่านมีความเห็นต่างกัน ผู้พิพากษาเจ้าของคดีมีความเห็นว่านายพานทองแท้มีความผิด ควรจำคุก ต่อมาทางอัยการคดีพิเศษแจ้งมาทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ว่าคดีนี้ทางอัยการคดีพิเศษจะไม่อุทธรณ์ทำให้ทางดีเอสไอต้องตั้งคณะกรรมการ 5 คนมาพิจารณาว่าควรจะอุทธรณ์หรือไม่  และเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 ทางดีเอสไอได้สรุปว่าดีเอสไอไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอัยการคดีพิเศษโดยดีเอสไอเห็นว่าอัยการคดีพิเศษควรต้องยื่นอุทธรณ์และส่งเรื่องกลับไปให้อัยการคดีพิเศษต่อไป

 

พรรคพลังธรรมใหม่ขอชื่นชมในการตัดสินใจของดีเอสไอเป็นอย่างมากที่ยืนหยัดไปในแนวทางที่รักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และทางพรรคขอเรียกร้องต่อทางอัยการคดีพิเศษดังนี้

 

1.ขอให้อัยการคดีพิเศษยื่นอุทธรณ์ต่อศาลตามที่ดีเอสไอส่งความเห็นกลับมา ด้วยเหตุผลดังนี้1.1 คดีนี้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น 2 ท่านมีความเห็นต่างกันผู้พิพากษาเจ้าของคดีเห็นว่า ควรจำคุกนายพานทองแท้ แต่ผู้พิพากษาอีกท่านเห็นควรให้ยกฟ้อง ซึ่งตามระเบียบของศาลต้องตัดสินในแนวทางที่เป็นผลประโยชน์ต่อจำเลยมากที่สุด ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้อง เมื่อรายละเอียดของคดีเป็นแบบนี้จริงๆแล้วอัยการคดีพิเศษควรจะต้องยื่นอุทธรณ์ไป เพื่อให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้ตัดสินใหม่ การตัดสินใจไม่อุทธรณ์ของอัยการในครั้งนี้ จึงไม่น่าจะเหมาะสม

 

1.2 คดีนี้เป็นคดีของลูกชาย ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี การตัดสินใจไม่อุทธรณ์ของอัยการคดีพิเศษในครั้งนี้ ทำให้เกิดคำถามและข้อสงสัยของประชาชนเป็นจำนวนมากว่า เกิดอะไรขึ้นกับอัยการ อัยการยังมีจุดยืนเป็นทนายของแผ่นดินที่เป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของชาติอยู่หรือไม่ อาจทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ที่ดีของอัยการต่อประชาชนไป

 

1.3 เคยมีตัวอย่างคดีคดีเลี่ยงหุ้นชินคอร์ปฯ ของนางพจมาน ชินวัตร ที่ในปี 2554 ในช่วง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี อัยการตัดสินใจไม่ยื่นฎีกาคดีทำให้จบคดีลงโดยไม่มีการยื่นฎีกา ซึ่งเป็นที่คาใจของประชาชนเป็นจำนวนมากจนถึงทุกวันนี้ในจุดยืนของอัยการชุดนั้น

 

2.พรรคขอเรียกร้องให้อัยการคดีพิเศษเขียนคำอุทธรณ์คดีนี้อย่างละเอียดและรัดกุมบนจุดยืนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติให้ถึงที่สุด สมกับการเป็นทนายของแผ่นดิน เพราะมีประชาชนจำนวนมากเคยเล่าลือกันมากว่า ในคดีบางคดีอัยการเขียนคำอุทธรณ์ - คำฎีกาแบบไม่สู้เต็มที่ ทำให้จำเลยหลุดคดี

 

พรรคพลังธรรมใหม่หวังว่าคดีนี้จะไม่เดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์คดีของนางพจมานในปี 2554 ซึ่งถ้าทางอัยการคดีพิเศษไม่ยื่นอุทธรณ์คดีนี้ นอกจากอัยการจะตกเป็นจำเลยของสังคมแล้ว จะส่งผลไปถึงรัฐบาลด้วยที่จะต้อง มีคนออกมาตั้งคำถามว่า รัฐบาลซูเอี๋ยกับ ดร.ทักษิณ หรือไม่ จึงขอให้อัยการคดีพิเศษตัดสินใจบนจุดยืนเพื่อชาติเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง

 

เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย

ล่าสุด นพ.ระวี ได้มอบหมายให้นายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ โฆษกพรรคพลังธรรมใหม่ และนายเจษฎา ศรีสุข ทนายความและผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ส.  เดินทางไปยื่นหนังสืออัยการสูงสุด  เพื่อขอให้พิจารณาอุทธรณ์คดีฟอกเงินธนาคารกรุงไทยให้กลุ่มกฤษดามหานคร  ตามความเห็นแย้งของดีเอสไอ  เนื่องด้วยเหตุผลประกอบดังนี้


1. กรณีนายพานทองแท้ ชินวัตร ให้การว่าเงินจำนวน 10 ล้านบาทที่รับมาจากนายวิชัย ได้เปลี่ยนสภาพเงินที่ได้รับจากการทุจริต กลายเป็นได้จากการขายหุ้นและโอนมาหลายทอด จึงพ้นขั้นตอนของการฟอกเงิน และเปลี่ยนสภาพเป็นเงินดี เป็นความเข้าใจเอาเองของนายพานทองแท้ แต่เงินจำนวน 10 ล้านบาท ที่นายวิชัยโอนให้แก่นายพานทองแท้แทนนายรัชฎา บุตรชายของนายวิชัย เส้นทางการเงินและโอนเปลี่ยนมือมาหลายทอด  เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่นายวิชัยกับพวกได้รับมาจากธนาคารกรุงไทย  จากการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ  ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานโจทก์ว่า เงินจำนวน 10 ล้านบาท เป็นเงินที่มาจากความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ มาตรา 3 (4) (5)

 

2. เงินจำนวน 10 ล้านบาทที่นายพานทองแท้รับโอนมาจากนายวิชัย ไม่ใช่เป็นเงินที่นายพานทองแท้รับมาชำระหนี้แต่อย่างใด ขณะที่นายพานทองแท้ได้เคยเบิกความต่อศาลว่าไม่เคยร่วมประกอบธุรกิจใดกับนายวิชัย จึงไม่มีเหตุที่นายวิชัยจะต้องโอนเงินจำนวนมากให้แก่ตน แต่กลับเป็นนายพานทองแท้ได้รับโอนเงินดังกล่าว ซึ่งไม่มีหนี้ต้องชำระตามข้อตกลง และการรับโอนเงินโดยไม่มีมูลหนี้จำนวนสูง ย่อมเป็นการตอบแทนที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นลักษณะเงินให้เปล่า หรือเป็นค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่งที่รู้เฉพาะนายวิชัย นายรัชฎา และนายพานทองแท้ อีกทั้งนายพานทองแท้ยังได้เคยเบิกความรับว่า ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีที่รับโอนมาไปใช้จ่าย หากจำต้องคืนเงิน 10 ล้านบาทแก่นายรัชฎาผู้โอนนั้น นายพานทองแท้มีเงินสำรองจำนวนอื่นสามารถโอนคืนได้ทันที จึงแสดงให้เห็นว่า เงิน 10 ล้านบาทที่ได้โอนรับมา ได้นำไประคนปนกันกับเงินของตนเองที่อยู่ในบัญชีอื่น และนำมาใช้จ่ายส่วนตัว จึงไม่รู้ว่าเงินใดเป็นเงินปกติ เงินใดเป็นเงินผิดกฎหมาย

 

เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย

ดังนั้นโดยพฤติการณ์แห่งการกระทำของนายพานทองแท้  ต่อการเบิกถอนเงินในลักษณะเป็นการใช้จ่ายส่วนตัวคราวละไม่มาก   จึงไม่ใช่บัญชีธุรกิจที่จะใช้ในการลงทุนประกอบธุรกิจ  ที่เบิกความว่าสามารถนำเงินจำนวนอื่นมาคืนเมื่อใดก็ได้   จึงเป็นความผิดวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจ และการประกอบธุรกิจปกติ  พฤติการณ์จึงเป็นการรับโอน เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด เพื่อปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง การได้มาแหล่งที่ตั้ง การโอนซึ่งทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำผิด นายพานทองแท้จึงรู้หรือควรรู้ว่าเงิน 10 ล้านบาทที่ได้รับมาจากนายวิชัย เป็นเงินส่วนหนึ่งของสินเชื่อธนาคารกรุงไทยที่อนุมัติให้เครือกฤษดามหานคร จึงเป็นการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ มาตรา 5 (1) (2)

3. ในคดีนี้ พนักงานอัยการได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลเป็นครั้งที่ 5 แล้ว ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 25 พ.ค. 2563 จึงมีความจำเป็นต้องรีบอุทธรณ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 34 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 นั้นในการอุทธรณ์คดีให้พนักงานอัยการอุทธรณ์คดีตามความเห็นของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษไปก่อน

4. ในคดีนี้มีองค์คณะผู้พิพากษา 2 ท่าน และมีความเห็นแย้งกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสมควรยกฟ้อง อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสมควรจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา จึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 วางหลักว่า ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้นหรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละท่าน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า 

“ดังนั้น พรรคพลังธรรมใหม่ขอให้พนักงานอัยการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีของนายพานทองแท้ ชินวัตร และดำเนินคดีจนถึงที่สุดตามกรอบของกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และให้ความกระจ่างกับสังคม พรรคพลังธรรมใหม่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พนักงานอัยการจะเร่งรัดดำเนินคดี ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ต่อไป”

 

เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย

 

เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย