- 02 ก.ค. 2563
ถือเป็นปมการเมืองที่คงยากหาทางจบจริง ๆ สำหรับความตั้งใจของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร สำหรับการเดินหน้าเอาผิดกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประเด็นเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณ
ถือเป็นปมการเมืองที่คงยากหาทางจบจริง ๆ สำหรับความตั้งใจของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร สำหรับการเดินหน้าเอาผิดกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประเด็นเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณ
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : เสรีพิศุทธ์ ว๊ากเดือด ไอ้เวร...โดนวิปรัฐ ฝ่ายค้าน ร่วมคว่ำบาตรดื้อแพ่งรื้อปมถวายสัตย์ ซักฟอกนายกฯ )
แม้ว่าจะมีการชี้แจงและศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และทางด้าน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิภา ได้เคยเน้นย้ำให้ตระหนักในผลที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายค้านยังเดินหน้าจะโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม.ในประเด็นดังกล่าว โดยมีสาระใจความว่า #การตรวจสอบปมถวายสัตย์ทำไม่ได้แล้ว "นักกฎหมายมหาชนย่อมรู้กฎหมายดีอย่าตีความเฉไฉบิดเบือนเข้าข้างตน คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กรรวมถึงรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กร
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : สว.สมชาย ชี้ชัดการตรวจสอบ ปมถวายสัตย์ทำไม่ได้แล้ว ด้วยผลผูกพันตามคำวินิจฉัยศาลรธน.)
ล่าสุด พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร เปิดแถลงอีกครั้งว่า ที่ประชุมกมธ.มีมติเสียงข้างมาก ให้ส่งเรื่องกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ โดยส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการส่งเรื่อง ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการเอาผิดในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
โดยมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีดังกล่าวกมธ.ได้นำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. โดยมีกมธ.เข้าร่วมประชุม 8 คน แยกเป็นฝ่ายค้าน 5 คน ฝ่ายรัฐบาล 3 คน เพื่อพิจารณาใน 2ประเด็น คือ 1.พล.อ.ประยุทธ์ นำครม.ถวายสัตย์ปฏิณาณตน เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2562 ถูกต้องหรือไม่ 2.กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องกรณีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนมีผลผูกพันหรือไม่ จากนั้นได้มีการลงมติ โดยกมธ. 4 เสียง เห็นด้วยให้ส่งเรื่องต่อป.ป.ช.ดำเนินการ กับพล.อ.ประยุทธ์ในฐานะถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วน และอีก 4คน คือ ตนและฝ่ายรัฐบาล 3 เสียง ลงมติงดออกเสียง จึงถือว่าเสียงข้างมากเห็นชอบให้ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. ส่วนก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไม่รับคำร้องกรณีนี้นั้น เป็นแค่การไม่รับคำร้อง แต่ไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาสาระว่า มีความถูกต้องหรือไม่
ทั้งนี้พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุด้วยว่า ที่ผ่านมากมธ.ใช้เวลาพิจารณาเรื่องดังกล่าวมาพอสมควร รวมถึงเคยเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาให้ข้อมูล ซึ่งนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า เป็นการถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน และยังเชิญนายกฯ มาชี้แจง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ รวมถึงเชิญเลขาธิการครม.มาให้ข้อมูล แต่ปรากฏว่า เลขาธิการครม.ไม่ยอมมาให้ข้อมูล ด้วยการเลื่อนให้ข้อมูล 6 ครั้ง จึงได้รวบรวมหลักฐาน ข้อมูลทั้งหมดส่งให้กมธ.ลงมติ จนได้ข้อสรุปออกมา และได้ยื่นเรื่องต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของประธานสภาฯจะดำเนินการส่งเรื่องให้ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป
ขณะที่กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร จำนวน 15 ราย ประกอบด้วย พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส , นายสุทา ประทีป ณ ถลาง , นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ , นายจารึก ศรีอ่อน , นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ , นายธีรัจชัย พันธุมาศ, นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ , นายวิทยา ทรงคำ , นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ , นาย จุลพันธ์ โนนศรีชัย , นายภานุ ศรีบุศยกาญจน์ , นายรังสิกร ทิมาตฤกะ , นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ , นายสิระ เจนจาคะ , นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน