รัฐบาล ประกาศ พ.ร.ก.นิรโทษภาษีปี 58  SME

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.Tnews.co.th

รัฐบาล ประกาศออก พระราชกำหนด นิรโทษกรรมภาษี รอบบัญชีปี 2558 สำหรับ เอสเอ็มอี

 

วันนี้  (4 ม.ค.)  ผู้สื่อข่าวรายงาน  เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฎิบัติการเกี่ยวกับภาษีอาการ ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามคำสั่งพระราชกำหนดนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 เพื่อให้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาและมีกำหนดครบสิบสองเดือน ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือวันที่ 31 ธ.ค. พ.ศ.2558 ได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่ส่วน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอาการ และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือกระทำตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันดังกล่าว

 

แต่ทว่า จะไม่สามารถบังคับใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีอากร โดยมีหมายเรียกหรือเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/3 ตามประมวลรัษฎากร  ที่ดำเนินการก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ , เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอมหรือเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม ที่กระทำการหลีกเลี่ยงภาษีอากร โดยแสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จต่อกรมสรรพากร , อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นอัยการ หรือชั้นศาล

 

สำหรับ รายได้ ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง รายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัตืไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และการได้รับยกเว้นนั้น จะปรากฎเมื่อ เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้เริ่มดำเนินการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร หรือยังไม่ได้ดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับภาษีนั้น , มาตรา 5 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 ยื่น คำร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ที่เกี่ยวกับรายได้ มูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารได้รับยกเว้น เพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร ให้เจ้าพนักงานประเมินซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากรมีอำนาจทำการตรวจสอบที่ขอคืนหรือออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร

 

 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 มีดังนี้  ได้แก่ การทำจดแจ้งต่อสรรพากร จะต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และภายในเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด , ยื่นรายการในการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมชำระภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาในการยื่นรายการ ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 เป็นต้นไป ,  ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องกระทำในเดือนมกราคม พ.ศ.2559 แล้วแต่กรณี พร้อมชำระภาษี ถ้ามี , การยื่นแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินชำระแทนการปิดแสตมป์อากรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2559 , การจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการตั้งรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 , ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากรนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้บังคับใช้

 

นอกจากนี้  หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ปฎิบัติตามมาตรา 6 ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 วรรค พร้อมให้ถือว่าไม่เคยได้รับการยกเว้นใดตามพระราชกำหนดนี้ และให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ ไต่สวน หรือสั่งการให้เสียภาษีอากร และดำเนินความผิดอาญาเกี่ยวกับรายได้ มูลค่าของฐานภาษีรายรับ หรือการกระทำตราสารตามที่กำหนดในมาตรา 4

 

ทั้งนี้  พระราชกำหนด ยังกำหนดให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแลใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและการขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2562 เป็นต้นไป   

 

 

 

สามารถดูเต็มได้ที่นี้  >>>>>>>>>  http://www.ratchakitcha.soc.go.th