- 26 ก.ค. 2563
ถือเป็นประเด็นร้อนแรงสุด ๆ สำหรับเหตุกรณีการสรุปคดี นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา โดยการไม่สั่งฟ้อง ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 โดยรองอัยการสูงสุด ขณะที่ ในฝ่ายของคณะทำงานสตช. ก็มีความเห็นไม่แย้งคำสั่ง ส่งผลให้คดีเป็นที่ยุติ และ ผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญากว่า 8 ปี กลายเป็นผู้บริสุทธิ์โดยปริยาย
ถือเป็นประเด็นร้อนแรงสุด ๆ สำหรับเหตุกรณีการสรุปคดี นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา โดยการไม่สั่งฟ้อง ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 โดยรองอัยการสูงสุด ขณะที่ ในฝ่ายของคณะทำงานสตช. ก็มีความเห็นไม่แย้งคำสั่ง ส่งผลให้คดีเป็นที่ยุติ และ ผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญากว่า 8 ปี กลายเป็นผู้บริสุทธิ์โดยปริยาย
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : รองอัยการสูงสุด สั่งไม่ฟ้อง บอส อยู่วิทยา เป็นคนเดียวกัน เซ็นไม่อุทธรณ์คดี โอ๊ค พานทองแท้ ฟอกเงินกรุงไทย )
ล่าสุดสนข.ทีนิวส์ ตรวจสอบพบข้อมูล และหลักฐานการพิจารณา ประกอบการบ่งชี้ที่มา การตัดสินใจของทีมอัยการ กับ ฝ่ายสืบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างหนัก ว่าอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรม ให้กับ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งาน ป.สน.ทองหล่อ หรือไม่ อย่างไร
เนื่องจากมีรายชื่อพยาน 2-3 ปากสำคัญ ถูกอ้างอิงในเอกสารสำนวนคดี ประกอบด้วย พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร และ นายจารุชาติ มดทอง ที่ให้ความเห็นในภายหลัง หริอ เมื่อ วันที่ 4 ธ.ค. 2562 หลังจากเกิดเหตุเมื่อ วันที่ 3 ก.ย. 2555 หรือ ประมาณกว่า 7 ปีผ่านไป ว่า นายวรยุทธ อยู่วิทยา ขับรถยนต์ด้วยความเร็วประมาณ 50-60 กม.ต่อชั่วโมง สอดรับกับคำให้การผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เชื่อได้ว่าผู้ต้องหาขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีการระบุอยู่ในสำนวนคดีนำส่งอัยการ ด้วยว่า ครอบครัวของด.ต.วิเชียร ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน จากฝ่ายผู้ต้องหา จนเป็นที่พอใจ และไม่ประสงค์จะดำเนินคดีท้้งทางแพ่งและทางอาญากับผู้ต้องหาอีกต่อไปแล้ว
จึงสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4
โดยมีชื่อของ นายเนตร นาคสุข อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด เป็นผู้ลงนาม ในความเห็นและคำสั่ง ไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา
ขณะที่ "สนข.อิศรา" มีการขยายความปมประเด็นกรณีที่ทำให้คดีขับรถเร็วชนคนเสียชีวิต ของนายวรยุทธ์ อยู่วิทยา กลายเป็นอีกหนึ่งในทันที คือ
1. ประเด็นการตั้งข้อหาในคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งในสำนวนเอกสารคดีเรียกว่าเป็น ผู้ต้องหาที่ 1 ระบุว่ามีข้อหา " ขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถอื่นเสียหาย และมีผู้ถึงแก่ความตาย ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล ไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร แก่ผู้ได้รับความเสียหาย และไม่แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานในทันที ขับรถในขณะเมาสุรา เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด"
ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 เวลา ประมาณ 05.20 นาฬิกา ขณะที่ผู้ต้องหาที่ 1 กำลังขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เฟอร์รารี่ หมายเลขทะเบียน ---- กรุงเทพมหานคร ไปตามถนนสุขุมวิท ฝั่งขาออกในช่องทางเดินรถที่ 3 ติดกับเกาะกลางถนน จากบริเวณปากซอยสุขุมวิท 45 มุ่งหน้าไปทางพระโขนง เมื่อถึงบริเวณระหว่างปากซอยสุขุมวิท 47 และปากซอยสุขุมวิท 46 ได้ชนท้ายรถจักรยานยนต์ตราโลห์ เลขทะเบียน ---- ซึ่งมีผู้ต้องหาที่ 2 ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ตำรวจ สน.ทองหล่อ ที่เสียชีวิต ถูกระบุว่าเป็นผู้เป็นผู้ขับขี่ เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์คันที่ผู้ต้องหาที่ 2 ขับขี่ ล้มลงครูดไถลไปตามพื้นถนน หยุดอยู่ที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 49 ร่างของผู้ต้องหาที่ 2 พลัดตกจากรถจักรยานยนต์ขึ้นไปกระแทกกระจกรถยนต์นั่งส่วนบุคคล คันที่ผู้ต้องหาที่ 1 ขับขี่ แล้วตกลงไปที่พื้นถนน ชิดเกาะกลางถนน ถึงแก่ความตาย
ผู้ต้องหาที่ 1 ไม่ได้หยุดรถภายหลังเกิดเหตุ แต่ได้ขับขี่หลบหนีเข้าไปภายในบ้านพัก เลขที่ 9 ซอยสุขุมวิท 53 พนักงานสอบสวนได้เดินทางไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ จากการสืบสวนพบคราบน้ำมัน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ของผู้ต้องหาที่ 1 ขับขี่ขณะเกิดเหตุ จอดอยู่ชั้นใต้ดิน และพบผู้ต้องหา นำตัวผู้ต้องหามอบต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนได้แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ กองพิสูจน์หลักฐานเดินทางไปตรวจเก็บวัตถุพยานจากรถยนต์คันดังกล่าว และยึดรถยนตร์นั่งส่วนบุคคลคันดังกล่าวเป็นของกลาง ส่งตรวจร่องรอยความเสียหายทางวิทยาการ พร้อมกับรถจักรยานยนต์ คันที่ผู้ต้องหาที่ 2 ขับขี่ขณะเกิดเหตุ
นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้ต้องหาที่ 1 ไปตรวจหาสารเสพติดและปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในวันเดียวกัน
2. ในตอนท้ายของเอกสารคำสั่งไม่ฟ้องระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ผู้ต้องหาไม่มีความผิด
ใจความตอนหนึ่งระบุว่า รถจักรยานยนต์ที่ผู้ต้องหาที่ 2 ขับขี่มา ได้แล่นเข้าไปในช่องทางเดินรถที่ 3 ที่ผู้ต้องหาที่ 3 ขับรถแล่นมาในระยะกระชั้นชิด จึงทำให้รถยนต์คันที่ผู้ต้องหาที่ 1 ขับขี่มา ชนท้ายรถจักรยานยนต์ คันที่ผู้ต้องหาที่ 2 ขับขี่มา เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาที่ 2 ถึงแก่ความตาย รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ต้องหาที่สอง ขับขี่รถจักรยานยนตร์เปลี่ยนช่องทางเดินรถ เข้าไปในช่องทางเดินรถที่ผู้ต้องหาที่ 1 ขับขี่มา ด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะกระชั้นชิด ทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ไม่สามารถหลบหลีกและหยุดรถได้ทันท่วงที เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่เกิดจากความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ของผู้ต้องหาที่ 1 แต่เกิดจากความประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ของผู้ต้องหาที่ 2 ที่เปลี่ยนช่องทางเดินรถในระยะกระชั้นชิด
การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 จึงไม่มีความผิด ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแต่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291
คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง ผู้ต้องหาที่ 1 ในความผิดฐานนี้ และเป็นกรณีกลับความเห็นและคำสั่งเดิมของระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 6 วรรคท้ายอนึ่ง ฝ่ายผู้ต้องหาที่ 2 ( ผู้ตาย ) ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ต้องหาที่ 1 จนเป็นที่พอใจ และไม่ประสงค์จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา กับผู้ต้องหาที่ 1 อีกต่อไปจึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ฐาน กระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2560 มาตรา 4
3.ความเห็นจากพยาน-ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ต้องหาที่ 1 ขับรถไม่เกิด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ประเด็นนี้ปรากฏในเอกสารดังกล่าว สืบเนื่องจากรองอัยการสูงสุดขณะนั้น ระบุว่าคดีมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาเฉพาะข้อกล่าวหาของผู้ต้องหาที่ 1ว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ว่ามีข้อเท็จจริงใหม่เพียงพอที่จะกลับความเห็นและคำสั่งเดิมหรือไม่ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ผู้ต้องหาที่ 1 ยื่นเรื่องร้องขอความเป็นธรรม ต่ออัยการสูงสุดหลายครั้ง รวมถึงยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมมาธิการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) ในปี 2557 ด้วย จนอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมตามหนังสือร้องขอความเป็นธรรมอีกหลายครั้ง นำมาสู่การพิจารณาประเด็นข้อกล่าวหาของผู้ต้องหาที่ 1ว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ตามที่อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งฟ้องหรือไม่
เอกสารส่วนนี้ มีการเปิดเผยข้อมูลจากพันตำรวจตรีรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบความเร็วรถยนต์ ยืนยันว่า ความเร็วของรถยนต์ที่ผู้ต้องหาที่ 1 ขับ มีความเร็วเกินกว่าความเร็วของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จะแล่นภายในกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดความเร็วไว้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผู้ต้องหาที่ 1 ขับรถแล่นด้วยความเร็วเฉลี่ย 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงเป็นการกระทำโดยประมาท ปราศจากความระมัดระวังในการขับรถ
ทว่า เมื่อมีการยื่นเรื่องร้องขอความเป็นธรรม ได้มีการสอบสวนพยานบุคคลผู้เชียวชาญเพิ่มเติมคำนวณความเร็วของรถยนตร์และรถจักรยานยนต์ในคดีนี้ รวมทั้งพยานที่ระบุว่าขับรถตามหลังจักรยานยนต์ของผู้ต้องหาที่ 2 ระบุสอดคล้องกันว่า รถของผู้ต้องหาที่ 1 ขับมาด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทางด้าน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารยอ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์แสดงความเห็น พร้อมภาพประกอบ ในประเด็นดังกล่าวว่า "กล้องวงจรปิดพบเฟอร์รารี่วิ่งผ่านเสาไฟฟ้า ห่างกัน 31 ม. ใช้เวลา 0.63 วินาที จากสูตร V = S/T คำนวณได้ 49 ม/วินาที หรือ 177 กม/ชม." และ "วิทยาศาสตร์ตรวจสอบความเร็วได้ 177 กม/ชม ผ่านมา 8 ปี พยานใหม่ 2 รายยศนายพล แจ้งว่าขับอยู่ข้างกัน 79.23 กม/ชม ต่ำ 80 ไม่เข้าประมาท?"