- 03 ส.ค. 2563
ล่าสุด ที่สำนักงาน ป.ช.ป.นนทบุรี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องให้ดำเนินการไต่สวนและสอบสวน กรณีอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ในทุกข้อกล่าวหา และพนักงานสอบสวนได้ทำเรื่องขออนุมัติศาลเพิกถอนหมายจับในคดีขับรถชนตำรวจ สน.ทองหล่อนั้น
จากเหตุกรณีการสรุปคดี นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา โดยการไม่สั่งฟ้อง ฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 ซึ่งหลายๆ ฝ่ายต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างดุเดือด ในขณะที่หลักฐานต่างๆ ก็ชี้ชัดถึงความผิดของ บอส อยู่วิทยา
ต่อมา น.ส.ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์ อัยการพิเศษฝ่ายสถาบันกฎหมายอาญา ได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับ เกณฑ์การพิจารณาสั่งคดีอาญาของพนักงานอัยการ ในคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ "บอส" ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังขับรถชนตำรวจเสียชีวิต โดยมีเนื้อหาดังนี้
อ่านข่าว - เปิด 7 ข้อเหตุผลสั่งไม่ฟ้อง บอส อยู่วิทยา อัยการพิเศษชี้เป้าสำนวนสอบคดี ไม่พอเอาผิด
ล่าสุด ที่สำนักงาน ป.ช.ป.นนทบุรี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องให้ดำเนินการไต่สวนและสอบสวน กรณีอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ในทุกข้อกล่าวหา และพนักงานสอบสวนได้ทำเรื่องขออนุมัติศาลเพิกถอนหมายจับในคดีขับรถชนตำรวจ สน.ทองหล่อนั้น
ทั้งนี้กรณีดังกล่าว แม้ฝ่ายอัยการจะพยายามชี้แจงว่าเป็นไปตามเกณฑ์ปกติของการพิจารณาสั่งคดีอาญาของพนักงานอัยการอยู่แล้ว แต่คำชี้แจงดังกล่าวเป็นเหมือนการปัดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายอัยการ ไปให้ฝ่ายตำรวจเป็นผู้รับผิดชอบในการทำสำนวนคดี ทั้ง ๆ ที่ตามอำนาจหน้าที่ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของอัยการ 2547 อัยการมีอำนาจในการตรวจสอบสำนวนคดี และหากพบข้อพิรุธใดๆ ในสำนวนคดีก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนให้ฝ่ายตำรวจได้ชี้แจงหรือสอบสวน หรือหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้
โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งและข้อสงสัยกันของสังคม เช่น อัตราความเร็วของรถยนต์คันเกิดเหตุได้ 177 กม./ชม. ซึ่งแต่ต่อมาเจ้าหน้าที่ดังกล่าวให้การว่าตามที่คำนวณไว้เดิมเป็นการคำนวณผิดที่ถูกต้องคืออัตราความเร็วของรถยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุอยู่ที่ 79 กม./ชม. อัยการมองไม่เห็นความผิดปกติของสำนวนเลยหรืออย่างไร
"กรณีรพ.รามาธิบดี ได้แจ้งผลการตรวจสอบพบสารเสพติดในร่างกายของผู้ต้องหา แต่กลับไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานดังกล่าวในสำนวนการสอบสวน ถือเป็นหนึ่งในข้อสงสัยชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องต่าง ๆ ของระบบยุติธรรม โดยเฉพาะความเห็นของอัยการผู้สั่งคดี และที่เลวร้ายก็การที่ตำรวจอ้างว่า อ้างได้รับการยืนยันจากทันตแพทย์ ว่าสารที่ตรวจพบในร่างกายนายวรยุทธเป็นยา ที่ให้ผู้ต้องหาในการรักษาฟันที่มีส่วนผสมของสารโคเคนอยู่ ทำให้ไม่สั่งฟ้องเรื่องสารเสพติด จนสุดท้ายเมื่อสังคมตั้งคำถาม ค่อยกลับอ้างว่าเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงตัดสินใจนำคำร้องมายื่นต่อ ป.ป.ช.เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยว่า การที่ตำรวจดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีในลักษณะมีพิรุธ และอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี กรณีนายวรยุทธ ขับขี่รถโดยประมาททำให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.ป.ป.ป.ช. พ.ศ.2561 ประกอบพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 ม.78(9) และ พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ 2553 ม.19 วรรคสอง ประกอบ ม.21 หรือไม่ด้วย"