- 08 มี.ค. 2567
พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ หรือ "ผู้การแต้ม" ลุยยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพิกถอน กฎกระทรวง ยาบ้า 5 เม็ดเป็นผู้เสพ
8 มี.ค.67 ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ หรือ "ผู้การแต้ม" อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้เดินทางเข้ามายื่นเรื่องร้องเรียนกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ.2567 หรือกฎหมายใหม่ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการครอบครองยาเสพติดต่ำกว่ากำหนดเช่น ยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด เป็นการครอบครองเพื่อเสพให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ป่วย
พล.ต.ต.วิชัย กล่าวว่า ในวันนี้ตนมาในฐานะประชาชนคนหนึ่งหลังเห็นแล้วว่ากฎกระทรวงนี้จะมีผลร้ายต่อประชาชนมากกว่าผลดี ซึ่งอาจเป็นการเปิดช่องให้เกิดผู้ค้ารายย่อยจำนวนเพิ่มมากขึ้นซึ่งก็จะส่งผลให้จำนวนคนเสพเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งหมดทั้งมวลจะส่งผลร้ายต่อสังคมโดยตรง โดยกฎกระทรวงดังกล่าวยังอาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตเรียกรับเงินจากผู้กระทำความผิดครอบครองยาเสพติด ให้สามารถปรับข้อหาสถานหนักให้กลายเป็นสถานเบาได้เมื่อกฎหมายเปิดช่องเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดผู้ค้ารายย่อยเพิ่มมากขึ้นผู้ติดยาเพิ่มมากขึ้นยาเสพติดถูกนำมามากขึ้นและส่งผลให้อาชญากรรมเกิดมากขึ้นในสังคมได้
ตนมองว่ากฎกระทรวงดังกล่าวนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและขัดศีลธรรมอันดีของประชาชน ในวันนี้ตนจึงมายื่นหนังสือให้ทางผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบเรื่องนี้ก่อนพิจารณาส่งศาลปกครองเพื่อเพิกถอนกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ในฐานะที่ตนเป็นอดีตนายตำรวจการรถอาชญากรรมและปัญหายาเสพติดที่ถูกต้องคือต้องลดจำนวนผู้เสพลงไม่ใช่เพิ่มจำนวนยาที่ทำให้ถูกกฎหมายกฎกระทรวงฉบับนี้ไม่ก่อประโยชน์อันใดแก่ประชาชน ตนมองว่าเมื่อยาเสพติดเข้าสู่ร่างกายแล้วก็ถือว่าเป็นผู้เสพไม่ควรจะต้องมากำหนดปริมาณในการเสพ ทั้งนี้ตามผลวิจัยที่กล่าวว่าหากเสพเกินห้ามไม่ขึ้นไปจะทำให้ผู้เสพเกิดอาการคุ้มคลั่งนั้นตนมองว่านี่เป็นเรื่องในเชิงวิชาการแต่ในความเป็นจริงนั้นมันไม่มีใครที่เสพเกิน 5 เม็ดทีเดียวมีแต่เสพวันละเม็ดสะสมไปเรื่อยๆจนทำให้เกิดอาการคุ้มคลั่ง
ด้านเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจะรับเรื่องนี้เอาไว้พิจารณาโดยหากพิจารณาแล้วพบว่ากฎกระทรวงดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายอื่นๆจริงก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองดำเนินการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวและหากผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่ากฎกระทรวงฉบับนี้ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและขัดศีลธรรมอันดีของประชาชนก็จะเป็นอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินที่สามารถวินิจฉัยยกเลิกกฎหมายได้ กระทรวงสาธารณสุข หรือความเห็นอื่นๆเพิ่มเติมมาประกอบการวินิจฉัยต่อไป