ติดตามรายละเอียด เพจ Richman can do

ติดตามรายละเอียด เพจ Richman can do

เงินฝากหายหรือไม่?

ยังเป็นประเด็นร้อนต่อเนื่องเรื่องคลัง จะออกกฎหมายดึงเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวกว่า 10 ปี มาเข้ากรมบัญชีกลาง เพื่อดูแลเงินฝากของประชาชนนี้แทนสถาบันการเงิน ขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้แสดงความคิดเห็นทางอินเตอร์เน็ต ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้

       ท่ามกลางข้อสงสัยและคำถามมากมายของประชาชนว่า คลังมีอำนาจอะไร และ เข้าข่ายลิดรอนสิทธิประชาชนหรือไม่???

เงินฝากหายหรือไม่?

 และคำถาม 3 ประเด็นที่ Richman can do ตั้งไว้

1. ทำไมประชาชนถึงได้คืนแต่เงินต้น ไม่มีดอกเบี้ยให้ ทั้ง ๆ ที่เงินของเราเมื่ออยู่ในแบงก์ เรายังได้ดอกเบี้ย

2. เวลาที่นำหลักฐานไปขอเงินคืน ประชาชนจะได้รับสะดวกในงานบริการหรือไม่ และ ต้องใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะได้เงินคืน เพราะเวลาที่เราไปถอนจากแบงก์ เราได้รับเงินในทันที โดยเฉพาะประชาชนในต่างจังหวัด จะเดินทางไปติดต่อที่หน่วยงานใด

3. คลัง น่าจะเปิดเวทีสาธารณะ รับฟังความคิดเห็นแบบ Public Hearing ทั่วทั้งประเทศ มากกว่าการเปิดเวทีในโลกอินเตอร์เน็ตเท่านั้น  ......

ขอบคุณ คลิปจากรายการ ชั่วโมง ฐานเศรษฐกิจ

คำตอบของข้อแรก  สุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ให้สัมภาษณ์กับ Richman can do ว่า  รัฐไม่จ่ายดอกเบี้ยให้กับเจ้าของเงินๆ จะได้รับเพียงเงินต้นคืน คือ เงินที่คลังนำมาจากแบงก์ ณ วันนั้น

“คลังมีสิทธิทำได้เพราะไม่ได้ยึดเอาเงินมา แต่นำเงินมาดูแลแทนสถาบันการเงิน เพื่อลดภาระให้ธนาคารที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงิน0.47% ให้กับสถาบันประกันเงินฝาก เงินก้อนนี้มีทั้งหมดกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท”

ส่วนสถานที่ ๆ จะไปติดต่อรับเงินคืนนั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน

สำหรับคำตอบข้อ 3 ผอ.สศค.ยืนยันว่า การเปิดให้แสดงความเห็นทางอินเตอร์เน็ตนั้นถือว่า เข้าถึงประชาชนมากที่สุด ยุคนี้ไม่ใช้กระดาษกันแล้ว มันเปลืองทรัพยากร.......!!

ธนาคารออมสิน กลายเป็นแบงก์ที่มีบัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหวมากที่สุด เกือบ 5 พันล้านบาท เพราะเป็นบัญชีของเด็ก ๆ ที่เอามาฝากแล้วย้ายโรงเรียนก็ทิ้งเงินไว้ในบัญชี

 

เงินฝากหายหรือไม่?

ส่วนกรณีพันธบัตรรัฐบาลที่ครบอายุการไถ่ถอนเกิน 10 ปีแล้ว ยังไม่มีการแสดงหลักฐานเพื่อขอไถ่ถอนพันธบัตรคืน จะถูกนำส่งเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดินทันที
ผอ. สศค.ย้ำว่าในต่างประเทศได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาบริหารจัดการเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และกันเงินสำรองอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อคืนให้แก่ประชาชน.

ส่วนขั้นตอนต่อไปนี้หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นเสร็จในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ คลังจะนำข้อเสนอทั้งหมดมารวบรวม เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนธันวาคม  ถ้าครม. ผ่านก็นำเข้าสู่กฤษฎีกา และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช. พิจารณา เพื่อออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ ซึ่งคากว่ากว่าจะเสร็จสิ้นขบวนการน่าจะมีผลปฏิบัติในปลายปี 2561

อย่างไรก็ตามระหว่างขั้นตอนที่กฤษฎีกาพิจารณา ผอ.สศค. แจงว่า จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นแบบโฟกัสกรุ๊ป โดยให้แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ารับฟัง  เท่านั้น  .....