ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ถึงแม้จะแสดงให้เห็นถึงพลังคัดค้าน นโยบายการแยกทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์โครงข่ายหลัก เพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นบริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ  จำกัด หรือ    NBN Co.   และ  บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตจำกัด  หรือ  NGDC Co. แล้วอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา  แต่ดูเหมือนว่าข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของสหภาพฯบมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม  ที่มีสมาพันธ์รัฐวิหสาหกิจแรงงานสัมพันธ์ (สรส.) เข้าร่วมเคลื่อนไหวยังไม่ชัดเจนว่าจะได้รับการพิจารณาหรือไม่ อย่างไรจากผู้รับผิดชอบในระดับภาครัฐ และรวมไปถึงท่าทีของฝ่ายบริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจเอง  ( คลิกอ่านข่าวก่อนหน้า :  บทพิสูจน์การต่อสู้เพื่อรสก.ไทย!! สหภาพฯทีโอที-กสท บุกทำเนียบฯยื่นหนังสือถึงนายกฯ ทบทวนแผนโอนย้ายทรัพย์สิน ผุด NBN-NGDCปูทางแปรรูปเอื้อเอกชน? )

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)

ทั้งนี้สาระสำคัญของหนังสือที่สหภาพฯบมจ.ทีโอทีและ กสท โทรคมนาคม  ได้ยื่นต่อพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี   คณะรัฐมนตรี ได้มีมติในการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน  2560   เห็นชอบให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแลของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) จัดตั้งบริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (NBN Co) และบริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (NGDC Co) ตามที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอมีรายละเอียดหลายจุดที่ทั้ง 2  สหภาพฯยืนยันไม่เห็นด้วยทั้งในเชิงหลักการและวิธีปฏิบัติ

 

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)

ทางสหภาพฯและพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจทั้ง  2 แห่ง    ขอชี้แจงว่า   บริษัท  NBN เกิดจากการนำ ทรัพยากรโครงข่ายสื่อสารภายในประเทศ   เช่น อุปกรณ์ระบบสื่อสารและข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่าและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการให้บริการสื่อสารภายในประเทศ ของรัฐวิสาหกิจ  บมจ.ทีโอที (TOT) และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) ซึ่งปัจจุบันมีโครงข่ายอยู่ทั่วประเทศ ใช้รองรับการให้บริการสื่อสารประเภทต่างๆ เช่น บริการโทรศัพท์ บริการวงจรเช่า และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ของ TOT และ CAT ที่ให้บริการแก่ประชาชน แก่องค์กรของรัฐ และเอกชนต่างๆ (ทั่วประเทศ) มารวมกันเพื่อให้อยู่ในการบริหารจัดการของบริษัท NBN ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยบริษัท NBN จะดำเนินธุรกิจแบบ “ขายส่ง” ให้กับ TOT และ CAT รวมทั้ง ขายส่งให้กับผู้ให้บริการสื่อสารเอกชนอื่นๆ วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดตั้งบริษัท NBN คือรัฐบาลต้องการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ระหว่าง TOT กับ CAT ในการจัดหาอุปกรณ์ระบบสื่อสารภายในประเทศ และการสร้างโครงข่ายสื่อสารภายในประเทศ  

 

ขณะที่บริษัท NGDC เกิดขึ้นจากการนำ ทรัพยากรโคร่งข่ายสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น อุปกรณ์ระบบ สื่อสารและข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (Submarine Cable) ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่าและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการให้บริการสื่อสารระหว่างประเทศ ของรัฐวิสาหกิจ  บมจ.ทีโอที (TOT) และ  บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) ซึ่งปัจจุบันมีโครงข่ายอยู่ทั่วประเทศ ใช้รองรับการให้บริการสื่อสารประเภทต่างๆ เช่น บริการโทรศัพท์ บริการวงจรสื่อสาร และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ของ TOT และ CAT ที่ให้บริการแก่ ประชาชน  แก่องค์กรของรัฐ และเอกชนต่างๆ (ทั่วประเทศ) มารวมกันเพื่อให้อยู่ในการบริหารงานของบริษัท NGDC ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยบริษัท NGDC จะดำเนินธุรกิจแบบ “ขายส่ง” ให้กับ TOT และ CAT รวมทั้ง ขายส่งให้กับผู้ให้บริการสื่อสารเอกชนรายอื่นๆ วัตถุประสงค์สำคัญในการตั้งบริษัท NGDC คือรัฐบาลจ้องการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ระหว่าง TOT กับ CAT ในการจัดหาอุปกรณ์ระบบสื่อสารระหว่างประเทศ และการสร้างข่ายโครงข่ายสื่อสารระหว่างประเทศ 

 

ดังนั้น  การแยกทรัพย์สิน (บางส่วน) ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ามีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และมีความจำเป็นต่อการใช้งานรองรับการให้บริการสื่อสารประเภทต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจ TOT และ CAT ไปตั้งเป็นบริษัทใหม่ (NBN Co. และ NGDC Co.) เพื่อแก้ไขปัญหาการลงทุนที่ซ้ำซ้อนของ TOT กับ CAT ซึ่งตามแผนของ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) บริษัทที่จดทะเบียนตั้งใหม่ทั้งสองบริษัท จะเริ่มดำเนินธุรกิจในเดือน พ.ย. 2560  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท NBN Co. และ NGDC Co.

 

ประเด็นสำคัญ บริษัทที่ปรึกษา ที่มีชื่อเสียง (บริษัท ไพรซ์ วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ จำกัด ซึ่ง CAT ใช้งบประมาณ  20  ล้านบาท จ้างเป็นที่ปรึกษา และ บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย จำกัด ซึ่ง TOT ใช้งบประมาณ  20  ล้านบาท จ้างเป็นที่ปรึกษา) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์แผนธุรกิจและการดำเนินงานของ บริษัทที่จะตั้งใหม่ (NBN Co. และ NGDC Co.) บริษัทที่ปรึกษาทั้งสองแห่ง ให้ความเห็นตรงกันว่า NBN Co. และ NGDC Co. จะมีผลประกอบการ ขาดทุนต่อเนื่อง อย่างน้อย  5 ปี   ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ TOT และ CAT อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)

 

 

จากข้อมูลบางส่วนดังกล่าว  ชัดเจนว่าในกรณีหากมีการแยกทรัพย์สินบางส่วน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าของ TOT และ CAT ไปตั้งเป็นบริษัทใหม่ (บริษัท NBN และบริษัท NGDC)  ย่อมทำให้เกิดข้อคัดค้านการแยกทรัพย์สิน (บางส่วน) ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของรัฐวิสาหกิจ TOT และ CAT มารวมกันตั้งเป็นบริษัทใหม่ (บริษัท NBN และบริษัท NGDC)  ด้วยตัวอย่างเหตุผลดังนี้

 

1.ทำให้ เพิ่มคณะกรรมการบริหาร (Board) จากปัจจุบัน ๒ ชุด (Board TOT และ CAT) เป็น ๔ ชุด (Board TOT / CAT / NBN / NGDC) ทำให้มีขั้นตอนการทำงานระหว่างบริษัทเพิ่มขึ้น และรัฐมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้บริหาร  ทำให้รัฐมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น

 

2.ทำให้ เพิ่มขั้นตอนการทำงานระหว่าง TOT และ CAT กับ NBN และ NGDC ซึ่งส่งผลกระทบกับความ รวดเร็วในการทำงานและการให้บริการ (คุณภาพบริการลดลง)

 

3.ทำให้ TOT และ CAT อ่อนแอลง สุ่มเสี่ยงต่อการล่มสลายของ องค์กรรัฐวิสาหกิจสื่อสารไทย (TOT และ CAT) ที่ให้บริการ สื่อสารมานานกว่า 63  ปี เพราะการแยกอุปกรณ์และโครงข่ายหลัก ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเชิงยุทธศาสตร์ของ TOT และ CAT ไปอยู่กับบริษัท NBN และ NGDC จะส่งผลต่อการให้บริการสื่อสารหลากหลายประเภทที่ ทีโอที ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และจะทำให้คุณภาพบริการลดลง ซึ่งการที่ TOT กับ CAT ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่ลูกค้าองค์กร (ผู้ใช้บริการ) มีต่อ TOT และ CAT และทำให้ TOT และ CAT ไม่สามารถเข้าเสนองานบริการสื่อสารแก่ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ที่มีข้อกำหนด (TOR) ในการจัดหาว่า “ผู้เสนอบริการต้องมีโครงข่ายเป็นของตนเอง”

 

4.ทำให้ เพิ่มความได้เปรียบให้กับบริษัทเอกชน ที่ให้บริการสื่อสารแข่งขันกับรัฐ (TOT และ CAT) โดยบริษัทเอกชนสามารถเลือกเช่าใช้งานอุปกรณ์และโครงข่าย (ที่ตนเองไม่มี) จาก NBN Co. และ NGDC Co. ได้ในราคาถูก (ราคาขายส่ง) ทำให้ประหยัดเวลามากกว่าการซื้ออุปกรณ์หรือสร้างโครงข่ายเพิ่มเติมเอง จึงสามารถให้บริการได้รวดเร็วขึ้น

 

5.การแยกทรัพย์สินโครงข่ายสื่อสารที่มีค่าของรัฐวิสาหกิจ TOT และ CAT ออกไปรวมกันตั้งเป็นบริษัท NBN และบริษัท NGDC โดยยังไม่มีการตรวจสอบมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกต้อง แล้วนำไปให้บริษัทเอกชน เช่าใช้งานในราคาถูก (ราคาขายส่ง) ทำให้รัฐเสียหาย  และการแยกทรัพย์สิน   โดยยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์ อาจเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  รวมถึงความปลอดภัยข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงของรัฐลดลง เมื่อเอกชนเป็นผู้ให้บริการสื่อสารแก่หน่วยงานรัฐ   เป็นต้น


ล่าสุดในไลน์การสื่อสารของพนักงานบมจ.ทีโอที   มีการส่งต่อข้อความเพื่อปลุกระดมให้ทุกคนร่วมใจเคลี่อนไหวต่อต้านการเดินหน้าแบ่งแยกทรัพย์สินขององค์กรรัฐวิสาหกิจไปจัดตั้งบริษัทใหม่อีกครั้ง  โดยบางส่วนของข้อความระบุว่า “ วันที่ 27 มีนาคม 2561 จะเป็นวันชี้ชะตาของรัฐวิสาหกิจที่ชื่อ บมจ.ทีโอที วันที่จะชี้ชะตาสมบัติด้านสื่อสารของชาติของ ปชช. มันจะไม่ใช่เพียงวันรับเงินเดือน ไม่ใช่แค่วันอังคาร แต่เป็นวันที่เราจะบอกตัวเองบอกลูกหลานว่า เราได้ร่วมปกป้องสมบัติของชาติอย่างไร  มาร่วมกันให้กำลังใจคณะกรรมการฯ ในวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ สนง.ใหญ่ ด้วยหัวใจบริสุทธิ์.มาร่วมกันแสดงพลัง และสวมเสื้อดำให้รู้ว่า เราเหล่า พนง. และผู้บริหารไม่เห็นด้วย กับการทำลายองค์กรโดยการโอนสินทรัพย์ ให้ NBN และ กจญ. จะต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก .....”

 

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)

 


ขณะเดียวกันสหภาพฯบมจ.ทีโอที  ยังได้นัดหมายประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560  อีกหนึ่งรอบ ในวันที่  27 มี.ค.  ตั้งแต่เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป    โดยระบุเหตุผลเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมายังไม่แล้วเสร็จ   แต่โดยนัยหลักมีเป้าหมายชัดเจนในการเคลื่อนไหวเพื่อหยุดยั้งกระบวนการโอนย้ายทรัพย์สินให้เป็นผลรูปธรรม  

 

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)

 

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)

 

นอกจากนี้ทางด้าน  นายอนุรุต อุทัยรัตน์  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่  บมจ.ทีโอที  ได้แสดงจุดยืนในการต่อสู้ร่วมกับพนักงานบมจ.ทีโอที  โดยการทำหนังสือถึงฝ่ายบริหารชี้แจงข้อมูล  กรณีการขึ้นเวทีแสดงความไม่เห็นด้วยกับการโอนทรัพย์สินดังกล่าว  โดยเห็นว่าเป็นการพูดเพื่อให้กำลังใจพนักงานให้รวมตัวเพื่อเป็นเอกภาพ และมุ่งมั่นนำพาองค์กรให้สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน ซึ่งถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ขององค์กร

 

27 มี.ค.เจอกันอีกรอบ!!แผนโอนย้ายทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจเดินหน้า "ทีโอที"รวมพลังต้าน NBN  หวั่นเพลี่ยงพล้ำสุดท้ายไม่พ้นโดนเอกชนกินรวบ??(คลิป)