ช้างชนช้าง!! ตลาดแตก “อีคอมเมิร์ซ” 2 ยักษ์ใหญ่ใช้ไทยเป็นฐาน “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์”!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ไม่ว่า “มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก” เจ้าพ่อเฟซบุ๊กจะมาเยือนไทยหรือไม่ ...?แต่ที่ยืนยันออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ริชาร์ด หลิว หนุ่ม จีนวัย 43 อภิมหาเศรษฐี ระดับต้นๆ ของจีน ที่อาจหาญนำหุ้นของ JD.com เข้าซื้อขายในตลาดหุ้น NASDAQ ไปเมื่อเดือน พฤษภาคม 2557 และเป็นบริษัท อินเตอร์เน็ตจีนแห่งแรกที่ได้ขึ้น Fortune Global 500 ได้เดินทางมา “เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” ในเมืองไทยอย่างเป็นทางการเป็นการเดินทางมา “กำหนดยุทธศาสตร์การค้าในโลกดิจิทัลสำหรับไทยและอาเซียน” ภายหลังได้ส่งรองประธานมาเซ็นสัญญาลงนามในการทำธุรกิจกับ “กลุ่มเซ็นทรัล” โดยประกาศว่าจะลงทุนร่วมกันถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาทก็จะตกประมาณ 15,500 ล้านบาท

JD.com ประกาศชัดก่อนหน้านี้ในการจับมือกับกลุ่มเซ็นทรัลว่าจะทำธุรกิจในเมืองไทยใน 2 ด้านหลัก คือ “ธุรกิจบริการด้านช็อปปิ้ง-ธุรกิจบริการด้านการเงินส่งนบุคคล” โดยกำหนดเป้าหมายชัดว่า จะสร้างให้ประเทศไทยเป็นฐานสำคัญสำหรับตลาดอาเซียน

 

ช้างชนช้าง!! ตลาดแตก “อีคอมเมิร์ซ” 2 ยักษ์ใหญ่ใช้ไทยเป็นฐาน “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์”!!

 

 

การเดินทางมาของ “ริชาร์ด หลิว” เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การค้าในโลกออนไลน์จึงไม่ธรรมดา บรรดาผู้ประกอบการของไทยต้องเงี่ยหูฟัง

อย่าลืมว่า JD.com นั้นเป็นบริษัทค้าปลีกออนไลน์ที่มีมูลค่า 65,000 ล้านเหรียญสหรัฐ การจับมือกับกลุ่มเซ็นทรัลที่เป็นยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของไทยที่มีห้างสรรพสินค้าและโรงแรมรีสอร์ทมากกว่า 45 แห่ง มีร้านค้าและช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดีมีระบบ เค้กก้อนใหญ่ในตลาดนี้ย่อมสะเทือนเลื่อนลั่น การแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะดุเดือดกว่าเดิม
 

ช้างชนช้าง!! ตลาดแตก “อีคอมเมิร์ซ” 2 ยักษ์ใหญ่ใช้ไทยเป็นฐาน “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์”!!

 

 

การขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย จะทำให้ JD.com ต้องชนกับคู่แข่งอย่าง กลุ่ม Alibaba ของ แจ๊ค หม่า ซึ่งดำเนินกิจการ Lazada ในไทยและครองแชมป์ส่วนแบ่งการช็อปปิ้งออนไลน์อยู่เต็มๆ
 

 

 

ข่าววงในระบุชัดว่า ขณะนี้ Lazada ได้ซุ่มซื้อที่ดินในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อสร้างเป็นศูนย์กระจายสินค้าหลักในภูมิภาคนี้ โดยในเดือนพฤษจิกายนนี้ แจ๊ค หม่า จะเดินทางมาพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศยุทธศาสตร์การลงทุนค้าออนไลน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหรืออีอีซี
 

 

สนามช้างชนช้างในโลกการค้าออนไลน์ จึงเดือดสุดๆ  “ถ้าหากปี 2016 เปรียบเสมือนอาหารเรียกน้ำย่อย ปี 2017 จะเป็นปีแห่งเมนคอร์ส สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” แจ็ก หม่า ประธานกลุ่ม บริษัท Alibaba เคยกล่าวไว้เมื่อปีก่อน

อะไรทำให้ไทยเป็น Red Ocean “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์” ที่ขาใหญ่ของโลก "JD.com ที่มีรายได้ปีละ 37,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และอาลีบาบาที่มีรายได้ปีละ 22,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ลงสนามมาช่วงชิงและปักธงรบ"

 

ใช่เพราะ ตลาดอีคอมเมร์ซมีมูลค่ามากถึง 2.88 ล้านล้านบาท ขณะที่การค้าปลีกมีมูลค่า 3.3 ล้านล้านบาท และมีการประเมินกันว่า ภายในปี 2020 หรือปี 2563 เม็ดเงินในธุรกิจช็อปปิ้งออนไลน์ของประเทศไทยจะมีมูลค่าถึง 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.88 แสนล้านบาทแค่นั้นหรือ

ใช่เพราะ คนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว จนหน้าห้างกลายเป็นหน้าร้านในการโชว์ของเท่านั้นไปแล้ว แต่การซื้อขายจริงจะไปอยู่บนมือถือและคอมพิวเตอร์ไปแล้ว เมื่อพิจารณาจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงถึง 38 ล้านคน ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือถึงวันละ 3.9 ชั่วโมง จนติดอันดับ 4 ของโลก

 

ช้างชนช้าง!! ตลาดแตก “อีคอมเมิร์ซ” 2 ยักษ์ใหญ่ใช้ไทยเป็นฐาน “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์”!!

 

ใช่เพราะ “ไทยมีประชากรจำนวนมาก ประกอบกับมีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย และเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาบริการด้านอีคอมเมิร์ซ และฟินเทคเป็นอย่างยิ่ง” อย่างที่ ริชาร์ด หลิว พูดหรือไม่

คำถามเหล่านี้เป็นประเด็นให้ผู้ประกอบการไทยต้องช่วยกันขบคิดและหาข้อสรุปให้ได้ ก่อนจะตกขบวนไปในโลกการค้า
ผมมีชุดข้อมูลที่อาจทำให้ท่านเห็นภาพชุดหนึ่งในโลกการค้าด้านอีคอมเมิร์ซ ที่กำลังเบ่งบานอย่างสุดๆ ในประเทศไทย

ช้างชนช้าง!! ตลาดแตก “อีคอมเมิร์ซ” 2 ยักษ์ใหญ่ใช้ไทยเป็นฐาน “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์”!!

 

ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2557 มีมูลค่า 2,033,493 ล้านบาท พอถึงปี 2558 มีมูลค่า 2,245,147 ล้านบาท ครั้นพอถึงปี 2559 อีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากถึง 2,560,103 ล้านบาท คาดว่า ในปี 2560 อีคอมเมิร์ซไทยจะมีมูลค่า 2,812,592 ล้านบาท โต 9.86%

เป็นมูลค่าอีคอมเมิร์ซแบบ B2B จำนวน 1,675,182 ล้านบาท (59.56%) ค้าขายอีคอมเมิร์ซแบบ B2C อีก 812,612 ล้านบาท (28.89%) ค้าขายอีคอมเมิร์ซแบบ B2G แค่ 324,797 ล้านบาท (11.55%)

 

ถามว่าคนไทยนิยมชำระเงินผ่านการค้าขายในโลกออนไลน์กับรูปแบบไหน?

 

พบว่า ช่องทางการชำระเงินทางออนไลน์ที่ผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs นิยมใช้มากที่สุด คือ การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต และเพย์เมนต์เกตเวย์ของธนาคารถึง 59.86% ชำระเงินผ่าน e-Banking,Internet Banking, Mobile Banking 23%

 

ช้างชนช้าง!! ตลาดแตก “อีคอมเมิร์ซ” 2 ยักษ์ใหญ่ใช้ไทยเป็นฐาน “ชุมทางโลกการค้าออนไลน์”!!

 

ชำระเงินผ่านธุรกรรมบนมือถือหรือตัวแทน (Third Party) เช่น m-Pay, True Money, Airpay, Linepay ตกประมาณ13.33% ชำระเงินผ่านระบบต่างประเทศ เช่น Paypal, Alipay ตกประมาณ 3.81%

 

แล้วกลุ่มไหนละ? ที่มีมูลค่าการค้าขายในระบบอีคอมเมิร์ซสูงสุด

 

อันดับ 1 กลุ่มค้าปลีกและการค้าส่ง มูลค่า 713,690 ล้านบาท คิดเป็น 31.78% เป็นรายใหญ่367,993 ล้านบาท SMEs อีก 345,696 ล้านบาท ตัวเลขการค้าใกล้เคียงกันมาก

อันดับ 2 กลุ่มบริการที่พัก มูลค่า 607,904 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27 %

อันดับ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต มูลค่า 428,084 ล้านบาท คิดเป็น 19% เป็นรายใหญ่413,977 ล้านบาท และกลุ่ม SMEs 14,107 ล้านบาท เทียบกันไม่ติด

อันดับ 4 กลุ่มข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร มูลค่า 384,407 ล้านบาท ตกประมาณ 17.12% เป็นรายใหญ่ 380,815 ล้านบาท และ SMEs 3,591 ล้านบาท

อันดับ 5 กลุ่มขนส่ง มูลค่า 83,929 ล้านบาท หรือ 3.74%

อันดับ 6 กลุ่มศิลปะ บันเทิง นันทนาการ มูลค่า 15,463 ล้านบาท

อันดับ 7 กลุ่มธุรกิจบริการอื่นๆ มูลค่า 9,622 ล้านบาท เป็นรายใหญ่ 543 ล้านบาท SMEs 9,079 ล้านบาท คนค้าขายไซด์เล็กแซงไปไม่เห็นฝุ่น

อันดับ 8 กลุ่มประกันภัย มูลค่า 2,396 ล้านบาท คิดเป็น 0.11%

อ่านสัญญาณทางการค้าของโลกให้แตก เท่ากับรู้ทันสนามการค้าที่กำลังแปรเปลี่ยนได้ออก...

.................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3307 ระหว่างวันที่ 22-25 ต.ค.2560