- 08 พ.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
ดังไกลถึงต่างแดนขนาดนี้จะไม่เอ่ยถึงก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ แค่คนไทยที่หลงใหลในรสชาติ แต่กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก หลังความร่วมมือทางธุรกิจกับแจ๊ค หม่า ประธานบริหารกลุ่มบริษัทอาลีบาบา ที่ได้ยกทัพบุกไทย พร้อมลงนามในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าในโลกอินเตอร์เน็ตและยกระดับพัฒนาคนเข้าสู่โลกการค้าในอนาคตกลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์ ในสังคมไทย เมื่อวันที่9 เมษายน 2561 แจ็ค หม่า เดินทางมาลงนามกับรัฐบาลไทยใน 4 ฉบับนั้น
และได้สร้างปรากฏการณ์อันหน้าตื่นตะลึง พลันที่มีการเปิดรับจอง ‘ทุเรียนไทย’ บนร้านค้าออนไลน์ของ ‘อาลีบาบา กรุ๊ป’ เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวจีนก็ตอบรับด้วยการกระหน่ำสั่งซื้อจนยอดจองสูงถึง 80,000 ลูก ในช่วงเวลาเพียง 1 นาทีแรกของการจับจอง และนี่คือ ส่วนหนึ่งของความริเริ่มระหว่างไทย-จีน ที่มุ่งหวังเพิ่มยอดขายผลผลิตการเกษตรให้ไทยผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต
ล่าสุด“ฐานเศรษฐกิจ” ได้เผยแพร่บทความเรื่อง ต่างชาติแข่งเดือด อาลีบาบา แย่งซื้อทุเรียนทําตลาดส่งออก ล้งหน้าเก่า-หน้าใหม่ ทั้งจากจีน เวียดนาม ไต้หวัน สิงคโปร์ เปิดจุดรับซื้อจากถนนสายหลักลามสู่ สายรองเมืองจันท์ ขอซื้อยกสวน-จ่ายมัดจําล่วงหน้าการันตีได้ของ ชาวสวนดี๊ด๊า ล่าสุดราคาหน้าสวนขายได้ 80 บาท/กก.
โดย Tmall.com ของอาลีบาบา กรุ๊ป ได้สร้างความตื่นตะลึงขายทุเรียนออนไลน์ 8 หมื่น ลูกใน 1 นาที โชว์นายกรัฐมนตรีของไทยในช่วงการเดินทางเยือนของนายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร อาลีบาบากรุ๊ป ถัดมายอดจอง ณ วันที่ 24 เมษายนพุ่งเป็น 1.3 แสนลูก ได้สร้างกระแสและส่งต่อผลดีทุเรียนไทย
“การแข่งขันรับซื้อทําให้เกษตรกรขายสินค้าได้ในราคาที่ดี ล่าสุดทุเรียนหมอนทองหน้าสวน ได้ราคาที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม บวกลบตาม เกรดสินค้า อย่างไรก็ดีคาดการณ์ผลผลิตทุเรียนของจันทบุรีปีนี้จะลดลงประมาณ 10% จากปี 2560 มีผลผลิตราว 4 แสนตัน ผลจากสภาพ อากาศที่แปรปรวน ทั้งมีฝน หนาว ร้อน สลับกันในแต่ละวันก่อนหน้านี้ ส่งผลต่อการ ติดดอกออกผลลดลง”
ส่วนกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป ขายทุเรียนผ่านออนไลน์ ประเดิม 8 หมื่นลูกภายใน 1 นาที เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และจะเป็นผลดีต่อผู้ปลูกทุเรียนและผลไม้อีกหลายชนิดของไทยโดยตรง ที่จะมีโอกาสเข้าไปจําหน่ายในจีน ที่มีประชากรกว่า1,400 ล้านคน ได้อีกมากเพราะเวลานี้นอกจาก Tmall.com ของอาลีบาบาแล้ว ยัง มีผู้ประกอบการจีนอีกหลายราย ก็ค้าออนไลน์แข่งกับอาลีบาบาด้วย เช่น JD.com เป็นต้น ที่ผ่านมาทุเรียนส่งออกของไทยไปจีนยังกระจายได้แค่ 30% ของพื้นที่ตลาดในจีนเท่านั้น ซึ่งทราบว่า Tmall.com นําไปจําหน่ายได้ราวลูกละ 200 หยวน หรือ 1,000 บาท จากที่ซื้อจากชาวสวนไทยลูกละ 200-300 บาท ในอนาคตเป็นการบ้านของทุกฝ่าย ว่าทําอย่างไรให้ส่วนต่างนี้เป็น ประโยชน์ตกกับคนไทยมากสุด
นายวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า การค้าทุเรียนออนไลน์ของเครืออาลีบาบา เป็นผลดีช่วยสร้างกระแสให้ทุเรียนไทยเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมในจีนมากขึ้น ราคาทุเรียนหน้าสวนที่ตราด ณ ปัจจุบัน เฉลี่ยที่ 70-80บาท/กก.ซึ่งจากราคา ทุเรียนที่ดีกว่ายางพาราส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนโค่นต้นยางและปลูกทุเรียนทดแทนทําให้พื้นที่ปลูก ทุเรียนของตราด ณ เวลานี้มี 3-4 หมื่นไร่ จาก4-5 ปีที่แล้วมีกว่าหมื่นไร่
ส่วนนายนพดล ตั้งทรงเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัด ระยอง กล่าวว่า ทุเรียนระยองจะออกมากช่วงกลางพฤษภาคม หากชาวสวนขายทุเรียนหน้าสวนได้ 80-100 บาท/กก.ก็แฮปปี้แล้ว
“ฐานเศรษฐกิจ” ได้ตรวจสอบการส่งออกทุเรียนสดของ ไทยในปี 2560 ส่งออกได้มูลค่า 22,022 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่ส่งออก 17,506 ล้านบาท ส่วนช่วง 3 เดือนแรกปี 2561 ส่ง ออกมูลค่า 2,095 ล้านบาท เพิ่ม ขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ที่ส่งออก 962 ล้านบาท หรือเพิ่ม ขึ้น 118% ตลาดส่งออก 5 อันดับ แรก ได้แก่ ฮ่องกง เวียดนาม จีน สหรัฐฯ มาเลเซีย สัดส่วน 42,34, 23,0.5 และ 0.2% ตามลําดับ
นายวิศิษฐ์ ลิมลือชา นายก สมาคมผู้ผลิตอาหารสําเร็จรูป เผยว่า การส่งออกทุเรียนสดของ ไทยไปฮ่องกงและเวียดนามที่มาก กว่าส่งออกไปจีนช่วง 3 เดือนแรก ปีนี้ เป็นผลจากเวียดนามได้รับ สิทธิพิเศษด้านภาษีจากจีน โดย สินค้าเวียดนามส่งต่อไปจีนได้ลด ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เข้าจีน จาก11% เหลือ 4% ส่วนฮ่องกง ส่งต่อไปเสินเจิ้น/กวางโจว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,360 ระหว่างวันที่ 26 -28 เมษายน 2561