"กระทรวงวิทย์ฯ" จับมือนานาชาติ ผุด "อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2561 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการปาฐกถาพิเศษ นโยบายการสนับสนุนกลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระหว่างวันที่ 24-25 พ.ค. 2561 โดยมีสอว.ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จัดสัมมนาความร่วมมือระดับนานาชาติของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และเยี่ยมชมกลไกการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ถือเป็นกลไกหนึ่งของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนสิ่งเหล่านั้น โดย จุดเริ่มต้นของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะหน่วยงานที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเป็นผู้ก่อตั้ง และที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้ก่อตั้ง โดยในปี พ.ศ. 2545 ได้มีอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย คือ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย หรือ Thailand Science Park จังหวัดปทุมธานี มาถึงวันนี้ นอกจากอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยแล้ว เรายังมีอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั้ง 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เปรียบเสมือนเป็นประตูผ่านเพื่อให้ท้องถิ่นมีการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ มหาวิทยาลัยมีความพร้อมด้านองค์ความรู้ ความพร้อมในหลักสูตรและห้องวิจัย เครื่องมือต่างๆ รวมถึงบุคลากรที่มีประสบการณ์ แต่รอยต่อของมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมมีช่องว่างมาก และช่องว่างนี้จะเชื่อมโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าไม่มีอุทยานวิทยาศาสตร์ เราก็ไม่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยออกไปสู่ภาคการผลิตและบริการได้อย่างคล่องตัว

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดตั้ง สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ หรือ สอว. ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยในปัจจุบัน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 13 แห่ง และจะมีเพิ่มขึ้นในอนาคตอีก

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!


อย่างไรก็ตามกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้สนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ๆ เราอยู่กันตอนนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น โดย สมเด็จพระเทพฯ จะเสด็จไปเปิดอาคารในวันที่ 12 กันยายน 2561 ที่จะถึงนี้ และภาคใต้ ณ จังหวัดสงขลา ที่จะสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2562 รวมถึงจะมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งอื่นๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ ได้แก่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดนครราชสีมา อีกทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีการเติมเต็มระบบนิเวศของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือด้วย โรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร หรือ Innovative Food Fabrication Pilot Plant
 

นอกจากนี้ ในกิจกรรมยังได้มีการนำสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ อย่าง “BeNeat” สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ผู้คิดค้นรูปแบบการจองแม่บ้านออนไลน์ เพื่อให้บริการ การทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงาน ,”สุภาฟาร์มผึ้ง” กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ดูแลใส่ใจสุขภาพโดยพัฒนากระบวนการผลิตจนได้น้ำผึ้งธรรมชาติระดับพรีเมี่ยมไปสู่ผู้บริโภค

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

เช่นเดียวกับคุณสุวลี เกียรติ์กรัณย์ กรรมการผู้จัดการ Tea Gallery Group (Thailand) บอกว่า ก่อนหน้านี้รู้จักสตาร์ทอัพจากการไปอบรมเกี่ยวกับนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ตอนนั้นรู้สึกว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์กับปัญหาธุรกิจที่ตนทำอยู่ ซึ่งตนทำธุรกิจเกี่ยวกับชาหมัก ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับกากชาที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จึงคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถนำกากชาที่เหลือทิ้งมาสร้างมูลค่าได้ จึงได้ปรึกษาและร่วมศึกษาวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่เขามาช่วย จึงพบว่ากากชาที่เหลือทิ้งยังมีสารอาหารทั้งโปรตีนและกากใย แต่ไม่มีคาเฟอีน จากนั้นจึงได้นำมาทำเป็นสแนค (ขนมทานเล่น) นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังได้มีการช่วยในการหากลุ่มเป้าหมายทางการตลาดอีกด้วย

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

กรรมการผู้จัดการ Tea Gallery Group (Thailand)  ยังบอกอีกว่า จริงๆแล้วไม่ใช่แค่การพัฒนาให้กากชากลายเป็นขนมทานเล่นเท่านั้น ยังมีการช่วยคิดค้นจากผู้เชี่ยวชาญจนสามารถพัฒนาชาหมักให้กลายเป็นแคปซูลแทปเลตที่ไม่สามารถย่อยสลายในกระเพาะอาหารได้แต่จะสามารถเข้าไปทำงานและตอบสนองได้ดีในลำไส้ และไม่เพียงแม้แต่การพัฒนานวัตกรรมเท่านั้น ตนยังคำนึงว่าจะทำอย่างไรที่จะให้คนไทยได้มีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้เพื่อช่วยล้างพิษในตับจึงมีการช่วยกันทำงานวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจนสามารถที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาให้สามารุตอบโจทย์ที่ต้องการได้ในที่สุด 

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!


อย่างไรก็ตาม อุทยานวิทยาศาสตร์ถือว่าเข้ามามีส่วนช่วยในธุรกิจของตนแทบจะทุกมิติ ทั้งในเรื่องงบลงทุนวิจัย ช่วยหานักวิจัย ช่วยการตลาด ทั้งจุดแข็งจุดอ่อน รวมทั้งเงินลงทุนต่างๆรอบด้าน ไม่เว้นแต่การพานิชย์ที่ช่วยให้สามารถให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ทำให้ธุรกิจของเรามีความมั่นใจ อุ่นใจ เพราะมีพันธมิตรที่ดีสามารถที่จะกล้าเดินไปหยิบความฝันของเราให้สำเร็จได้

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!

 

\"กระทรวงวิทย์ฯ\" จับมือนานาชาติ ผุด \"อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค\" ร่วมสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ระดับโลก!!!